เปิดรายงานผลการสอบสวนกรณีการเสียชีวิตของเยาวชนสะบ้าย้อย

รายงานการรวบรวมข้อมูลเหตุการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2547 บริเวณหน่วยบริการประชาชน  อำเภอสะบ้าย้อย  จังหวัดสงขลา(คัดย่อจากรายงานจริงทั้งหมด 21 หน้า)

 ความเป็นมา
          เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2547  ได้มีข่าวปรากฏตามสื่อต่าง ๆ ว่า มีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งก่อความไม่สงบ  บุกเข้าทำร้ายเจ้าหน้าที่ของรัฐ และทำลายทรัพย์สินของทางราชการ โดยได้ดำเนินการพร้อมกัน ในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่  สงขลา  ปัตตานี  และยะลา   ซึ่งในเหตุการณ์ดังกล่าว ทั้ง 2 ฝ่าย ได้ต่อสู้ปะทะกันอย่างรุนแรง  มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
         จากเหตุการณ์ปะทะกันดังกล่าว  ในหลายจุดที่เกิดเหตุมีความชัดเจนในการมุ่งทำร้ายทำลายชีวิตและทรัพย์สินของทางราชการ  และในบางกรณีได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการมาดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วเช่น  กรณีกรือเซ๊ะ  เป็นต้น

       แต่จากการลงพื้นที่ของคณะอนุกรรมการรวบรวมข้อมูลกรณีเหตุการณ์รุนแรงในภาคใต้ ได้รับข้อมูลแตกต่างกับที่ปรากฏในสื่อมวลชนเกี่ยวกับเหตุการณ์ปะทะกัน ณ บริเวณหน่วยบริการประชาชนอำเภอสะบ้าย้อย ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย  จังหวัดสงขลา ซึ่งมีผู้ก่อความไม่สงบเสียชีวิต จำนวน 19 คน ส่วนใหญ่เป็นเยาวชน บางคนอยู่ในวัยเรียน เป็นนักกีฬา  และกลุ่มเยาวชนดังกล่าวชอบช่วยเหลืองานด้านศาสนา  ในเหตุการณ์ดังกล่าวมีผู้ให้ข้อมูลว่า  กลุ่มเยาวชนดังกล่าวได้ยอมจำนนแล้ว  เจ้าหน้าที่ตำรวจควรจะดำเนินการจับกุมและสืบสวนสอบสวน  เพื่อให้ได้ข้อมูล ข้อเท็จจริง  และไม่น่าจะใช้วิธีการรุนแรงจนกระทั่งกลุ่มเยาวชนเสียชีวิตเกือบทั้งหมด  ประกอบกับขณะนี้  พนักงานอัยการจังหวัดสงขลา ได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดสงขลา ว่า กลุ่มเยาวชนดังกล่าวได้ยิงต่อสู้กับเจ้าพนักงานตำรวจ และได้ถูกเจ้าพนักงานตำรวจ  ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติราชการตามหน้าที่ใช้อาวุธปืนยิงเพื่อป้องกันตัว เป็นเหตุให้กลุ่มเยาวชนดังกล่าวถึงแก่ความตายในที่เกิดเหตุ  พนักงานอัยการจังหวัดสงขลาจึงขอให้ศาลได้ทำการไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้ตายคือใคร  ตายที่ไหน และถึงเหตุและพฤติการณ์ที่ตาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 ต่อไป

       แต่จากการลงพื้นที่ของคณะอนุกรรมการรวบรวมข้อมูลกรณีเหตุการณ์รุนแรงในภาคใต้ ได้รับข้อมูลแตกต่างกับที่ปรากฏในสื่อมวลชนเกี่ยวกับเหตุการณ์ปะทะกัน ณ บริเวณหน่วยบริการประชาชนอำเภอสะบ้าย้อย ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย  จังหวัดสงขลา ซึ่งมีผู้ก่อความไม่สงบเสียชีวิต จำนวน 19 คน ส่วนใหญ่เป็นเยาวชน บางคนอยู่ในวัยเรียน เป็นนักกีฬา  และกลุ่มเยาวชนดังกล่าวชอบช่วยเหลืองานด้านศาสนา  ในเหตุการณ์ดังกล่าวมีผู้ให้ข้อมูลว่า  กลุ่มเยาวชนดังกล่าวได้ยอมจำนนแล้ว  เจ้าหน้าที่ตำรวจควรจะดำเนินการจับกุมและสืบสวนสอบสวน  เพื่อให้ได้ข้อมูล ข้อเท็จจริง  และไม่น่าจะใช้วิธีการรุนแรงจนกระทั่งกลุ่มเยาวชนเสียชีวิตเกือบทั้งหมด  ประกอบกับขณะนี้  พนักงานอัยการจังหวัดสงขลา ได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดสงขลา ว่า กลุ่มเยาวชนดังกล่าวได้ยิงต่อสู้กับเจ้าพนักงานตำรวจ และได้ถูกเจ้าพนักงานตำรวจ  ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติราชการตามหน้าที่ใช้อาวุธปืนยิงเพื่อป้องกันตัว เป็นเหตุให้กลุ่มเยาวชนดังกล่าวถึงแก่ความตายในที่เกิดเหตุ  พนักงานอัยการจังหวัดสงขลาจึงขอให้ศาลได้ทำการไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้ตายคือใคร  ตายที่ไหน และถึงเหตุและพฤติการณ์ที่ตาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 ต่อไป

      คณะอนุกรรมการรวบรวมข้อมูลกรณีเหตุการณ์รุนแรงในภาคใต้เห็นว่า  กรณีการปะทะกัน ณ บริเวณหน่วยบริการประชาชนอำเภอสะบ้าย้อย ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย  จังหวัดสงขลา ซึ่งมี
ผู้เสียชีวิต จำนวน 19 คน  สมควรที่จะได้มีการรวบรวมข้อมูล  เพื่อนำมาพิจารณาว่า  ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจมีการกระทำการอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่  อย่างไร

 ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต
        จากสถานการณ์วันที่ 28 เมษายน 2547 เวลาประมาณ 05.20 น. ได้มีกลุ่มคนประมาณ 20 กว่าคน ใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะเข้าโจมตีจุดตรวจบริการประชาชน บริเวณตลาดสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา   เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ใช้อาวุธปืนยิงสกัดและมีการยิงตอบโต้ระหว่างกัน  มีผู้เสียชีวิต จำนวน 19 คน  คือ

  1) นายยะยา  มะหิงตะ  อายุ 34 ปี  อยู่บ้านเลขที่ 7/3 หมู่ 2 ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย  จังหวัดสงขลา (เสียชีวิตในร้านอาหารสวยนะ  สาเหตุการเสียชีวิต  กระสุนทะลุหัวใจ)

  2) นายสามิต  โสะปนแอ  อายุ 19 ปี  อยู่บ้านเลขที่ 6/1 หมู่ 2 ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย  จังหวัดสงขลา (เสียชีวิตในร้านอาหารสวยนะ  สาเหตุการเสียชีวิต ถูกยิงตาย  และพบสารกัญชาในปัสสาวะ  )

  3) นายบาซอรี  ดาหายอ  อายุ 25 ปี  อยู่บ้านเลขที่ 15/1 หมู่ 2 ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย  จังหวัดสงขลา (เสียชีวิตในร้านอาหารสวยนะ  สาเหตุการเสียชีวิต  บาดแผลกระสุนทะลุหัวใจ)

  4) นายรอมัน  ลือไมติง  อายุ 32 ปี  อยู่บ้านเลขที่ 33/2 หมู่ 2 ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย  จังหวัดสงขลา (เสียชีวิตในร้านอาหารสวยนะ  สาเหตุการเสียชีวิต  ถูกยิงตาย)

  5) นายนิรุพ  เระสะอะ  อายุ 26 ปี  อยู่บ้านเลขที่ 4/1 หมู่ 2 ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย  จังหวัดสงขลา (เสียชีวิตในร้านอาหารสวยนะ สาเหตุการเสียชีวิต  ถูกยิงตาย)

  ๖) นายมักตา  หอมาเมาะ  อายุ 19 ปี  อยู่บ้านเลขที่ 17/2 หมู่ 2 ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย  จังหวัดสงขลา (เสียชีวิตในร้านอาหารสวยนะ   สาหตุการเสียชีวิต  กระสุนเจาะสมอง)

  7) นายมะลายิ  อาบูตัดสา  อายุ 26 ปี อยู่บ้านเลขที่ 13/2 หมู่ 2 ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย  จังหวัดสงขลา (เสียชีวิตในร้านอาหารสวยนะ  สาเหตุการเสียชีวิต ถูกยิงตาย)

  8) นายสะรอนิง  กาลอ  อายุ 18 ปี อยู่บ้านเลขที่ 32/1 หมู่ 2 ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย  จังหวัดสงขลา (เสียชีวิตในร้านอาหารสวยนะ  สาเหตุการเสียชีวิต  ถูกยิงตาย)

  9) นายสามิ  สุปุแอ  อายุ 19 ปี  อยู่บ้านเลขที่ 6/1  หมู่ 2 ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย  จังหวัดสงขลา

  10) นายสาระภู  หยงมะเกะ  อายุ 19 ปี  อยู่บ้านเลขที่ 33  หมู่ 2 ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย  จังหวัดสงขลา (เสียชีวิตในร้านอาหารสวยนะ  สาเหตุการเสียชีวิต  ถูกยิงตาย)

  11) นายมารอนิง  หยงมะเกะ  อายุ 21 ปี  อยู่บ้านเลขที่ 33  หมู่ 2 ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย  จังหวัดสงขลา (เสียชีวิตในร้านอาหารสวยนะ  สาเหตุการเสียชีวิต  กระสุนเจาหัวใจ)

  12) นายอับดุลราชิต  มันปูเตะ  อายุ 21 ปี  อยู่บ้านเลขที่ 64/1 หมู่ 4 ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย  จังหวัดสงขลา ( เสียชีวิตในร้านอาหารสวยนะ  สาเหตุการเสียชีวิต  ถูกยิงตาย)

  13) นายอับดุลฮาเล็ม  ลือมูซอ  อายุ 25 ปี  อยู่บ้านเลขที่ 37 หมู่ 2 ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย  จังหวัดสงขลา (เสียชีวิตในร้านอาหารสวยนะ  สาเหตุการเสียชีวิต  ตกเลือดในสมอง)

  14) นายอุสมาน  สาและ  อายุ 22 ปี อยู่บ้านเลขที่ 12/3  หมู่ 2 ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย  จังหวัดสงขลา (เสียชีวิตในร้านอาหารสวยนะ  สาเหตุการเสียชีวิต  กระสุนเจาะหัวใจ)

  15)นายฮามิ  เลาะปุสา  อายุ 25 ปี  อยู่บ้านเลขที่ 31/1 หมู่ 2 ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย  จังหวัดสงขลา (เสียชีวิตในร้านอาหารสวยนะ  สาเหตุการเสียชีวิต  กระสุนเจาะขั้วหัวใจ)

  16)นายดือเระ  ดือราแม  อายุ 30 ปี อยู่บ้านเลขที่ 213  หมู่ 2 ตำบลร่มไทร อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส (เสียชีวิตในร้านอาหารสวยนะ  สาเหตุการเสียชีวิต  ถูกยิงตาย)

 17).นายกามารูดิง  แมพรมมี  อายุ 23 ปี  อยู่บ้านเลขที่ 31 หมู่ตำบลธารคีรี  อำเภอสะบ้าย้อย (เสียชีวิตบริเวณข้างบ้านพักครู  สาเหตุการเสียชีวิต  กระสุนปืนทำลายก้านสมอง)

  18) นายซาการียา  หัดขะเจ  อายุ 23 ปี  อยู่บ้านเลขที่ 31 หมู่ 2 ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย  จังหวัดสงขลา (เสียชีวิตข้างหน่วยบริการประชาชนอำเภอสะบ้าย้อย  สาเหตุการเสียชีวิต  ตกเลือดในสมองจากการบาดเจ็บจากกระสุน)

  19) นายสมศักดิ์  บังสมาน  อายุ 23 ปี อยู่บ้านเลขที่ 33/3 หมู่ 2 ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย  จังหวัดสงขลา (เสียชีวิตที่ข้างหน่วยบริการประชาชนอำเภอสะบ้าย้อย  สาเหตุการเสียชีวิต ถูกยิงตาย)

 การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปะทะกัน
      ในพื้นที่ตำบลธารคีรี  อำเภอสะบ้าย้อย  จังหวัดสงขลา  เป็นพื้นที่ที่มีความขัดแย้งในเรื่องการรับสัมปทานเหมือแร่ลิกไนต์ตั้งแต่เมื่อประมาณ 10 กว่าปีมาแล้ว  โดยเป็นการต่อสู้ระหว่างกลุ่มชาวบ้านที่ไม่เห็นด้วยกับการทำเหมืองกับผู้รับสัมปทาน  ชาวบ้านได้มีการรวมตัวกันและขยายขอบเขตการต่อสู้ออกไปเป็นขบวนการอนุรักษ์ธรรมชาติ  เพื่อต่อสู้ในเรื่องสัมปทานป่าไม้   มีการทำงานที่ต่อเนื่องและมีการสร้างกลุ่มเยาวชนเพื่อสืบทอดภารกิจด้วย  ปัจจุบันความขัดแย้งในเรื่องดังกล่าวทวีความรุนแรงขึ้น  ชาวบ้านที่เป็นผู้นำในการเคลื่อนไหวถูกขึ้นบัญชีดำของทางราชการ 

      ก่อนหน้านี้ที่อำเภอสะบ้าย้อยไม่มีเหตุการณ์ทำร้ายเจ้าหน้าที่ หรือชาวบ้าน ปรากฏมาก่อน  จนกระทั่งเมื่อประมาณ 1 เดือนก่อนหน้าเกิดเหตุการณ์  มีข่าวลือว่าจะเกิดเหตุการณ์บุกโจมตีเจ้าหน้าที่  ข่าวดังกล่าวทำให้ประชาชนในละแวกนั้นเกิดความหวาดกลัว  จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ในวันที่ 28 เมษายน 2547   หลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว  ชาวบ้านต่างรู้สึกวิตกกังวล  หากเป็นชาวบ้านต่างพื้นที่จะไม่กล้าเข้ามาประกอบอาชีพเหมือนเดิม  และเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น แพทย์  จะไม่กล้าออกมารับประทานอาหารข้างนอก  ปัจจุบันรายได้จากการขายของลดลงไปมาก

      ชาวบ้านรายหนึ่งให้ข้อมูลว่า  ผู้ที่เสียชีวิตในร้านอาหารสวยนะ  ส่วนใหญ่ที่พบนั้น  ก่อนหน้าที่จะเสียชีวิต ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจประมาณ 30 คน ควบคุมตัวไว้ได้แล้ว  โดยให้ยกมือยอมแพ้ยืนบนถนนแล้วค่อย ๆ ผลักดันให้ถอยไปในร้านอาหารสวยนะ และต่อมาก็ทราบว่าถูกยิงเสียชีวิตอยู่ในร้านอาหารสวยนะ

      ผู้ใกล้ชิดกับผู้เสียชีวิต เช่น พ่อ พี่ชาย ครู และโต๊ะอีหม่าม ให้ข้อมูลว่า  ผู้ตายทั้งหมดเป็นนักเรียนโรงเรียนปอเนาะด้วยกัน  บางคนเป็นนักกีฬาฟุตบอลของโรงเรียน  อายุระหว่าง 19 - 25 ปี กลุ่มผู้ตายไม่ใช่เด็กเกเรหรือเด็กเที่ยว  แต่มีความประพฤติดี  และส่วนใหญ่รวมกลุ่มกันเล่นฟุตบอล  ในช่วงเวลาที่เกิดเหตุเป็นช่วงโรงเรียนปิดเทอม   เด็ก ๆ จะไปเรียนศาสนาที่บ้านโต๊ะครู  โดยออกจากบ้านประมาณหนึ่งทุ่มถึงสองทุ่ม และกลับบ้านประมาณตีห้าของวันใหม่  โดยในวันเกิดเหตุ  ผู้ตายคนหนึ่งซึ่งเป็นลูกชายของผู้ให้ข้อมูลบอกว่าคืนนี้จะไปดาวะห์ (เผยแพร่ศาสนา)  โดยเพื่อนชวนไป และได้เตรียมชุดที่ต้องใส่ไปด้วย  จนกระทั่งเช้าวันรุ่งขึ้น  จึงทราบว่าลูกชายเสียชีวิตแล้ว  ซึ่งรู้สึกเสียใจมาก เนื่องจากเป็นลูกชายคนเดียวและรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม  เนื่องจากลูกชายไม่มีอาวุธ  สภาพศพที่เห็นคือ โดยยิงที่ศีรษะและหลัง  และคิดว่าถูกเพื่อนหลอกไป  อยากเรียกร้องความเป็นธรรมแต่ไม่รู้จะทำอย่างไรและเรียกร้องจากใคร  และไม่กล้าด้วย 

       ผู้ให้ข้อมูลกล่าวต่อว่า  ในเรื่องของการฝังศพรวมกันทั้ง 19 ศพ เป็นความเห็นของชาวบ้านที่มารวมกันให้ฝังอย่างนักรบเพื่อศาสนา (มูจาฮีดีน)   ส่วนเรื่องที่มีข่าวว่าผู้ก่อเหตุได้ทำการถางหญ้าในพื้นที่เพื่อเตรียมหลุมศพพวกตนเองนั้น  โต๊ะครูคิดว่าไม่ใช่  เพราะโดยปกติในวันศุกร์เด็ก ๆ จะมาช่วยกันพัฒนาสถานที่ของส่วนรวมเป็นปกติอยู่แล้ว  และไม่เคยได้ยินว่ามีการสั่งเสียให้ฝังศพหลุมเดียวกัน  นอกจากนี้  ยังตั้งข้อสังเกตว่าในที่เกิดเหตุถ้ามีการต่อสู้กันจริงทำไมเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงยิงปืนแม่น  เพราะส่วนใหญ่โดยยิงที่ศีรษะ

      มีพยานบุคคลซึ่งสามารถยืนยันตัวตนได้  ได้ให้ข้อมูลว่า ได้ออกมากรีดยางตอนเช้ามือวันนั้น  และเห็นเหตุการณ์ว่า  มีรถกระบะนำเยาวชนมาปล่อยลงบริเวณป้อมยามตำรวจ  จากนั้นเด็ก ๆ ได้วิ่งหนี  โดยตำรวจยิงปืนเข้าใส่จนกระทั่งวิ่งหนีเข้าไปในร้านอาหารสวยนะ  และยังให้ข้อมูลว่า  ในมัสยิดในช่วงของการทำละหมาดมีเจ้าหน้าที่ปลอมตัวเข้าไปสอดแนมด้วย  ทำให้ชาวบ้านเกิดความกังวลมากยิ่งขึ้น

      ผู้ตายส่วนใหญ่เป็นนักฟุตบอลของโรงเรียน มีความประพฤติดี  ก่อนหน้าเกิดเหตุไม่มีท่าทีว่าบุคคลเหล่านี้จะไปก่อเหตุร้ายแรง  ในจำนวน 19 ศพ มี 1 คน เป็นนักศึกษาใบฎีกา  และอีก 15 คน ที่เสียชีวิตในร้านอาหารสวยนะ  น่าจะเป็นการจัดฉาก  เพราะส่วนใหญ่ถูกกระสุนปืนที่ศีรษะและที่หลัง  ปืนและระเบิดที่พบก็อยู่กับเด็กที่ไม่เคยได้รับการฝึกฝนทางทหาร  ทั้ง ๆ ที่ในจำนวนคนตายมีคนที่เคยเป็นทหารเกณฑ์อยู่ 2-3 คน  นอกจากนี้  ที่ปืนและระเบิดยังไม่มีรอยเลือด 

       ผู้ให้ข้อมูลระบุว่า วันเกิดเหตุเจ้าหน้าที่แจ้งข่าวว่ามีการปิดถนน (บ้านพักอยู่อำเภอนาทวี)  เหตุการณ์ปัจจุบันก็มีการปล่อยข่าวอยู่เรื่อย ๆ ที่นาทวีก็มีข่าวลักษณะเดียวกัน  ประชาชนต้องระมัดระวังมีข่าวรายวันว่าจะมีการโจมตีตลาด  ในความคิดของชาวบ้านคิดว่าพวกที่มาแก้แค้นคือผู้ก่อการร้าย  

       ข้อมูลจากรายงานการชันสูตรพลิกศพ จากเอกสารรายงานการชันสูตรศพ ของผู้เสียชีวิตจากกรณีสะบ้าย้อย 2 ใน 19 คน มีรายละเอียดดังนี้

 1) นายอับดุลฮาเล็ม  ลือมูซอ  เสียชีวิตในวันที่ 28 เมษายน 2547  ระหว่างเวลา 06.00 - 08.40 น. เวลาที่พบศพ  08.40 น.

 ก. สภาพของศพหรือส่วนของศพตามที่พบเห็น หรือตามที่ปรากฏจากการตรวจพร้อมทั้งความเห็น

  เสื้อกล้ามสีดำ  สวนเสื้อเชิ๊ตสีเขียวแขนยาว สวมกางเกงวอร์มดำแถบขาว-เขียว รองเท้าผ้าใบสีขาว

  มีรอยฉีกขาดสมองไหล  ศีรษะด้านซ้ายสมองไหล ขนาด 2x3 เซนติเมตร  กระโหลกแตกร้าวทั่วศีรษะ  รอยกระสุนเจาะกลางหลัง 4 รอย  ขนาด 0.5 เซนติเมตร  แผลฉีกขาดนิ้วนาง - ก้อย ขนาด 6 เซนติเมตร  กระดูกหัก แผลกระสุนเข้ากกหูขวา ขนาด 0.5 เซนติเมตร  รูออกเท่ากำปั้น  จากบริเวณกกหูซ้าย  รูเข้าใต้ชายโครงขวา 2 รอย ขนาด 0.5 เซนติเมตร 

 ข.แสดงสาเหตุที่ตายเท่าที่ทำได้

  ตกเลือดในสมอง  ตกเลือดในช่องปอด  ตกเลือดในช่องหุ้มหัวใจ  ตกเลือดในช่องท้อง (ไม่สามารถเก็บปัสสาวะเพื่อตรวจสารเสพติดได้)

 2) นายดือเระ  ดือราแม  เสียชีวิตในวันที่ 28 เมษายน 2547  ระหว่างเวลา 06.00 - 08.40 น. เวลาที่พนศพ  08.40 น.

 ก. สภาพของศพหรือส่วนของศพตามที่พบเห็น หรือตามที่ปรากฏจากการตรวจพร้อมทั้งความเห็น

  สวมเสื้อยืดสีขาว  สวมทับด้วยเสื้อกูรงสีเทา   กางเกงสีเขียวขี้ม้ารูดข้อ  รองเท้ายางสีดดำหุ้มส้น  คาดเข็มขัดหนังสีน้ำตาลแดง  มือกำลูกระเบิดน้อยหน่าอยู่

  รอยกระสุนเข้าเบ้าตาซ้าย  มีแผลฉีกขาดยาว 3 เซนติเมตร  พบรอยกระสุนออกทะลุใต้กกหูขวา 6 เซนติเมตรสมองไหลออกมา   รอยกระสุนเข้าลิ้นปี่ทะลุออกใต้ชายโครงซ้าย 1 เซนติเมตร บริเวณกระดูกสันหลังเอวที่ 2  (ตรวจปัสสาวะไม่พบยาบ้าและกัญชา)

ข. แสดงสาเหตุที่ตายเท่าที่ทำได้

  ถูกยิงตาย

การวิเคราะห์เหตุการณ์จากข้อมูล

1)      เปรียบเทียบสภาพศพจากคำบอกเล่ากับหนังสือรับรองการตาย

 

 

 

ประเด็นที่จะต้องพิจารณา ดังนี้
  1) เหตุการณ์ปะทะกัน

       ในกรณีที่มีการให้ข้อมูลของเจ้าหน้าที่ของรัฐและสื่อมวลชน  ว่าผู้เสียชีวิตนำอาวุธมาต่อสู้กับเจ้าหน้าที่  เช่น  ปืน  ระเบิด  และมีด ในการเผิชญหน้าต่อสู้กันน่าจะต้องมีเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตบ้าง  เพราะในกลุ่มผู้เสียชีวิต 19 คน มีหลายคนที่เคยเป็นทหารเกณฑ์และได้เรียนรู้วิธีการใช้อาวุธสงครามมาบ้างแล้ว  ดังนั้น  ในการปะทะระหว่างกันเจ้าหน้าที่ของรัฐน่าจะได้รับความเสียหายอย่างมากด้วย

2) สถานที่เสียชีวิต : บาดแผลของผู้เสียชีวิต

         ในหนังสือรับรองการตายได้ระบุว่ามีผู้เสียชีวิต ณ บริเวณหน่วยบริการประชาชนอำเภอสะบ้าย้อย แบ่งเป็น 3 จุด ได้แก่  หน้าหน่วยบริการประชาชนอำเภอสะบ้าย้อย  บริเวณริมรั้วบ้านพักครู  และในร้านอาหารสวยนะ  ซึ่งผู้ที่เสียชีวิตในแต่ละจุดของสถานที่เสียชีวิต กับบาดแผลที่เป็นสาเหตุของการตายยังไม่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างมีเหตุผล กล่าวคือ

       ผู้เสียชีวิตบริเวณหน่วยบริการประชาชนอำเภอสะบ้าย้อย และริมรั้วบ้านพักครู  รวม 3 คน ผู้เสียชีวิตในร้านอาหารสวยนะ รวม 15 คน  เมื่อนำข้อมูลจากคำฟ้องการไต่สวนการตายของศาลจังหวัดสงขลา ที่ระบุว่า "กลุ่มเยาวชนดังกล่าวได้ยิงต่อสู้กับเจ้าพนักงานตำรวจ และได้ถูกเจ้าพนักงานตำรวจ  ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติราชการตามหน้าที่ใช้อาวุธปืนยิงเพื่อป้องกันตัว เป็นเหตุให้กลุ่มเยาวชนดังกล่าวถึงแก่ความตายในที่เกิดเหตุ"   นำมาพิจารณากับข้อมูลสาเหตุการตายจากหนังสือรับรองการตาย  ที่ระบุว่าถูกยิงตาย 7 คน โดยไม่บอกอวัยวะส่วนที่ถูกยิง  และอีก 8 คน ระบุว่า กระสุนปืนทำลายก้านสมอง  ตกเลือกในสมองจากการบาดเจ็บจากกระสุน  กระสุนเจาะหัวใจ จากข้อมูลดังกล่าว  ในสถานการณ์การปะทะกันแบบจู่โจมและมีการยิงต่อสู้กัน ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้ในที่โล่งแจ้ง (หน่วยบริการประชาชนอำเภอสะบ้าย้อย และริมรั้วบ้านพักครู ) หรืออยู่ในสถานที่กำบัง (ในร้านอาหารสวยนะ) เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่น่าจะมีเวลาที่จะเล็งเป้าหมายที่หัวใจ  ศีรษะ โดยเฉพาะที่ก้านสมอง  ซึ่งอยู่ด้านหลังศีรษะบริเวณท้ายทอย  .ในประเด็นนี้จะต้องพิจารณาว่าในสถานการณ์ดังกล่าวมีเหตุผลที่จะทำให้เชื่อได้ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ทำการการต่อสู้เพื่อป้องกันตัวหรือไม่

  3) การชันสูตรพลิกศพ

       เมื่อพิจารณาข้อมูลสภาพศพจากตารางเปรียบเทียบ จะเห็นว่า  ทั้ง 19 ศพ ในหนังสือรับรองการตายระบุว่า เสียชีวิตจากการถูกยิงที่ศีรษะ ก้านสมอง และหัวใจ  จำนวน 9 ศพ  และระบุว่าถูกยิงตาย โดยไม่ระบุอวัยวะที่ถูกยิงอีก จำนวน  9 ศพ  จะเห็นได้ว่า  ยังไม่มีรายละเอียดที่บ่งบอกถึงสาเหตุการตายอย่างเพียงพอ  รวมทั้ง ยังไม่มีการนำหลักนิติวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยในการสืบสวนหาข้อเท็จจริงให้เป็นที่ประจักษ์ที่จะนำไปสู่การไต่สวนการตายได้อย่างคลายความสงสัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันตนเอง

        จาการพิจารณาในประเด็นดังกล่าวแล้วเห็นว่า  สาเหตุการตายของผู้เสียชีวิตทั้ง 19 คน ไม่น่าจะเกิดจากการต่อสู้เพื่อป้องกันตัวของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามที่ระบุไว้ในคำฟ้องการไต่สวนการตายของศาลจังหวัดสงขลา 

ข้อเสนอแนะ
       รัฐบาลควรสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  และสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม  ได้มีการตรวจสอบถึงสาเหตุการตายของผู้เสียชีวิตที่บริเวณหน่วยบริการประชาชนอำเภอสะบ้าย้อย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา  ให้ความจริงปรากฎอย่างหมดข้อสงสัย เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจในกระบวนการยุติธรรมให้กับประชาชนในภาคใต้  และเพื่อเป็นการเยียวยาทางด้านจิตใจให้แก่ญาติ และผู้ใกล้ชิดของผู้เสียชีวิต  รวมทั้งเกิดความเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องโดยเร็ว  หากยังไม่สามารทำให้ความจริงปรากฏได้  รัฐบาลจะต้องดำเนินการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น  โดยให้ผู้ได้รับความเสียหายมีส่วนร่วมในการกำหนดความต้องการในการเยียวยาจากภาครัฐด้วย

 

 ศูนย์ข่าวอิศรา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท