ลำดับความเป็นมา กรณีชาวแม่อายถูกถอดสัญชาติ

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

ปัญหาดังกล่าวได้เกิดขึ้นเมื่อ  วันที่ 5..2545 เมื่อนายทรงชัย  เศรษฐพัฒน์  ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น นายชนะชัย  เศรษฐพัฒน์  นายอำเภอแม่อายในขณะนั้น  ได้ออกประกาศจำหน่ายชื่อชาวบ้าน ในพื้นที่ ต.ท่าตอน อ.แม่อาย  จ.เชียงใหม่ จำนวน 1,243 คนออกจากทะเบียนบ้าน และได้เรียกบัตรประชาชนคืนโดยไม่มีการสอบสวน หรือให้โอกาสชาวบ้านทั้งหมดได้แสดงหลักฐาน หรือข้อเท็จจริงแต่ประการใด  ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำของฝ่ายรัฐที่ไปเพิกถอนสัญชาติคนไทย  ทั้งๆ  ที่ชาวบ้านทุกคนก็ยืนยันมาโดยตลอด  ว่าเขาคือคนไทยดั้งเดิมจริงๆ

 

ซึ่งปัญหาชาวบ้านถูกถอดสัญชาติในครั้งนี้  ได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ในทุกๆ ด้าน  ไม่ว่าในด้านชีวิตความเป็นอยู่  อาชีพหน้าที่การงาน  การศึกษา  การเดินทาง  รวมทั้งสิทธิที่มนุษย์ทุกคนควรมี  ต่างถูกจำกัดสิทธิ์ทั้งหมด

 

นับแต่นั้นมา  ชาวบ้านทั้งพันกว่าคน  ได้ออกมาเรียกร้องสิทธิเพื่อให้ได้สัญชาติไทยกลับคืนมา

ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนไปหลายๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกรมการปกครอง  กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  กรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ  กระทรวงยุติธรรม  สภาทนายความแห่งประเทศไทย  รวมทั้งนักวิชาการอีกหลายคณะ ซึ่งพยายามเข้ามาช่วยเหลือมากที่สุด  แต่ก็ยังไม่สำเร็จสักที  

 

จนกระทั่งมีการยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง จ.เชียงใหม่  โดยในคำร้องระบุว่า  ..ผ่องศรี อินหลู่ กับพวก ได้ยื่นฟ้องกรมการปกครอง จ.เชียงใหม่ และนายอำเภอแม่อาย จ.เชียงใหม่ ต่อศาลปกครอง จ.เชียงใหม่ กรณีที่นายอำเภอแม่อายออกประกาศจำหน่ายชื่อ น..ผ่องศรีและชาว อ.แม่อาย จำนวน  864  คนออกจากทะเบียนบ้าน และเรียกบัตรประชาชนคืนโดยไม่มีการสอบสวน หรือให้โอกาสให้ชาวบ้านได้แสดงหลักฐาน ข้อเท็จจริง ถือเป็นการปฏิบัติผิดขั้นตอนในการออกคำสั่งทางปกครอง

 

จนมาถึงปี 2547 ศาลปกครองกลาง จ.เชียงใหม่ ได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนประกาศของนายอำเภอแม่อาย  ลงวันที่ 5..2545 ที่ให้จำหน่ายชื่อชาวบ้าน อ.แม่อาย ออกจากทะเบียนบ้าน เนื่องจากเห็นว่าเป็นการกระทำการไม่ชอบด้วยกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม กรมการปกครอง และนายอำเภอแม่อาย จ.เชียงใหม่ ได้มีการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลปกครองสูงสุด ซึ่งระหว่างการอุทธรณ์ดังกล่าว  ผู้ฟ้องคดีทั้ง 864 คน ได้ยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาคืนสัญชาติแก่ชาวบ้าน อ.แม่อาย ให้ครอบครัวทั้ง 1,243 คน ไม่ใช่เพียงผู้ฟ้องคดี 864 คน อีกทั้งได้ยื่นขอให้ศาลปกครองสูงสุดออกมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราว โดยสั่งให้นายอำเภอแม่อายนำชื่อชาวบ้านแม่อายที่ถูกเพิกถอนสัญชาติกลับเข้าไปอยู่ในทะเบียนบ้าน คืนบัตรประชาชน จนกว่าศาลปกครองสูงสุดจะมีคำพิพากษา

 

ในขณะที่หลายฝ่ายมีความพยายามที่จะเข้ามาดำเนินการช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการถูกถอดสัญชาติ  และมีการเสนอให้เข้ามาทำการตรวจสอบด้วยการตรวจดูดีเอ็นเอ กับญาติพี่น้องที่เป็นคนไทย 

 

ซึ่งทางคุณหญิง พ.ญ.พรทิพย์  โรจนสุนันท์  ก็ได้เดินทางไปที่ อ.แม่อาย  เพื่อทำการตรวจสอบดีเอ็นเอกับญาติที่เป็นคนไทย  จนกระทั่งมีการคืนสัญชาติให้จำนวน 122 ราย  

 

วันที่ 23  ส.ค.2548  ศาลปกครองสูงสุด  กรุงเทพฯ  ได้มีการนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก  ซึ่งตุลาการผู้แถลงคดี คือนายบุญอนันต์ วรรณพานิชย์ ได้แถลงความเห็นส่วนตัวต่อองค์คณะโดยมีความเห็นให้กลับคำพิพากษาศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่

 

โดยนายบุญอนันต์  กล่าวว่า  ประกาศของอำเภอแม่อาย ลงวันที่ 5..2545 ที่ให้เพิกถอนชื่อชาวบ้าน 1,243 คน ออกจากทะเบียนราษฎรนั้น เป็นประกาศที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ขัดต่อมาตรา 30 วรรคแรกของ พ...วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ..2539

 

แต่ถือเป็นการดำเนินการตาม พ...การทะเบียนราษฎร ที่ไม่กระทบต่อสิทธิที่ก่อตั้งตามกฎหมายสัญชาติ และไม่เป็นการสร้างภาระเพิ่มขึ้นให้กับศาลปกครองสูงสุด จึงควรมีคำพิพากษายกฟ้องกรมการปกครองกับพวกรวม 3 คน

 

อย่างไรก็ตาม  นายบุญอนันต์  กล่าวในตอนท้ายว่า  ความเห็นส่วนตัวดังกล่าวไม่ผลผูกพันต่อองค์คณะ ซึ่งหลังจากนี้  ศาลปกครองสูงสุดจะนัดฟังคำพิพากษาคดีนี้ต่อไป

 

การออกมาแถลงของนายบุญอนันต์ในวันนั้น  ได้นำมาซึ่งความโศกเศร้าเสียใจของกลุ่มชาวบ้านแม่อายกันอย่างมาก  ที่ทางศาลปกครองสูงสุดได้ออกมาแสดงความเห็นเช่นนั้น

 

นายกฤษฎา บุญราช อดีตนายอำเภอแม่อาย ในฐานะผู้แทนชาวบ้าน  ได้มีคำแถลงปิดคดีต่อศาลปกครอง หลังคำแถลงของตุลาการศาลปกครองสูงสุด ว่า  ชาวแม่อายที่ถูกเพิกถอนชื่อ เดิมเป็นคนสัญชาติไทย แต่ไปทำมาหากินตามแนวชายแดน ปี 2519 เพลิงไหม้ที่ว่าการอำเภอ เมื่อชาวบ้านกลับมาขอทำบัตรประชาชนกลับถูกปฏิเสธ ขณะเดียวกัน รัฐบาลมีนโยบายผลักดันบุคคลที่ไม่มีทะเบียนราษฎร ทำให้ชาวบ้านต้องทำบัตรชนกลุ่มน้อยไว้ก่อน ไม่เช่นนั้นจะถูกผลักดันออกนอกประเทศ

"การสั่งจำหน่ายชื่อชาวบ้านถือว่าผิดกฎหมาย มาตรา 30 วรรคแรก พ...วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ..2539 เพราะไม่เคยเรียกชาวบ้านไปสอบสวนข้อเท็จจริง ถือเป็นการใช้อำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีผลกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของชาวบ้าน"  นายกฤษฎา  กล่าว

 

นอกจากนั้น  นายกฤษฎา  ยังพูดถึงกรณีที่มีการตรวจสอบดีเอ็นเอกับญาติที่เป็นคนไทยมีการคืนสัญชาติให้แล้ว 122 รายนั้น  จริงๆ  แล้ว  การตรวจดีเอ็นเอไม่ได้อยู่ในกฎหมายและยังเป็นการผลักภาระค่าใช้จ่ายการพิสูจน์สัญชาติให้ชาวบ้าน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการจำหน่ายชื่อชาวบ้านโดยอ้างว่าเป็นคนต่างด้าวนั้นคลาดเคลื่อน ใช้ดุลพินิจที่ไม่รอบคอบและไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

อย่างไรก็ตาม  ในวันที่ 8  ก.ย.นี้  ศาลปกครองสูงสุดจะนัดฟังคำพิพากษาคดีอีกครั้ง  ที่ ศาลปกครอง จ.เชียงใหม่  ซึ่งชาวบ้านแม่อายทั้ง1,243 คน ต่างมีความมั่นใจว่าชาวบ้านจะชนะคดี  เพราะทุกคนต่างยืนยันอย่างหนักแน่นว่า  ทุกคนเป็นคนไทยร้อยเปอร์เซ็นต์   

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท