Skip to main content
sharethis

โครงการประชุมกรรมาธิการภาคประชาชนตรวจสอบนโยบายความยากจนและสังคม ครั้งที่ 1


เรื่อง "นโยบายประชานิยมกับการแก้ปัญหาความยากจน"


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


 


หลักการและเหตุผล


              การก้าวขึ้นมาบริหารประเทศของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยภายใต้การนำของ พ... ดร. ทักษิณ ชินวัตร นับตั้งแต่ต้นปี 2544 มีปรากฏการณ์ใหม่หลายประการเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการได้รับเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร (ทั้งจากการเลือกตั้งในเดือนมกราคม 2544 และกุมภาพันธ์ 2548), การปฏิรูประบบราชการไปสู่การบริหารประเทศแบบ CEO หรือแบบบูรณาการ ฯลฯ และที่สำคัญคือ การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาทวิวิถี (Dual-Track Economic Development Strategy) และชุดนโยบายประชานิยม ที่มุ่งสร้างความเข้มแข็งและกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า ซึ่งรัฐบาลได้ทุ่มงบประมาณจำนวนมากลงไปในโครงการต่างๆ เช่น  โครงการกองทุนหมู่บ้าน, ธนาคารประชาชน, พักชำระหนี้, หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์, แปลงทรัพย์สินเป็นทุน, 30 บาทรักษาทุกโรค และโครงการเอื้ออาทรต่างๆ โดยมีเป้าหมายสำคัญที่ระบุไว้ คือ "ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ - ขยายโอกาส" ทั้งนี้ รัฐบาลได้ "ประกาศสงครามกับความยากจน" โดยจะกำจัดความยากจนให้หมดสิ้นไปภายใน 6 ปี


              กล่าวได้ว่า การดำเนินการตามชุดนโยบายประชานิยม ที่มีลักษณะ "โดนใจ" ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนมาก "ตัวเลขแห่งความสำเร็จ"ของชุดนโยบาย ที่ได้รัฐบาลออกมาประกาศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงรณรงค์หาเสียงที่ผ่านมา เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งส่งผลให้พรรคไทยรักไทยได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ด้วยคะแนนเสียง (ในระบบบัญชีรายชื่อ) กว่า 19 ล้านคะแนน อย่างไรก็ตาม การศึกษา การประเมินความสำเร็จของชุดนโยบายดังกล่าว ยังอยู่ในวงจำกัดโดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือการว่าจ้างสถาบันต่างๆ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมักจะประเมินผลในแง่บวกเพื่อสนับสนุนนโยบายเป็นด้านหลัก ทำให้ถูกตั้งคำถามจากฝ่ายต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น สัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายของโครงการที่ระบุไว้ เป้าหมายเบื้องหลังทางการเมือง ผลกระทบต่อระบบงบประมาณและระบบเศรษฐกิจในระยะยาว เช่น การสร้างหนี้สินให้กับประชาชน รวมทั้งการเชื่อมโยงกับการแก้ไขปัญหาความยากจน เป็นต้น


ดังนั้น ในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่รัฐบาลไทยรักไทยได้ดำเนินแนวนโยบายแบบ "ประชานิยม" ต่อไป และผลิตโครงการใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่องนั้น ศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ "กรรมาธิการภาคประชาชนตรวจสอบนโยบายความยากจนและสังคม" ซึ่งเป็นการรวมตัวขององค์กรต่างๆ เพื่อติดตามตรวจสอบนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาความยากจนและสังคม จึงริเริ่มให้มีการจัดประชุมกรรมาธิการภาคประชาชนตรวจสอบนโยบายความยากจนและสังคม ครั้งที่ 1 ขึ้น เพื่อพิจารณาเรื่อง "นโยบายประชานิยมกับการแก้ปัญหาความยากจน" เพื่อร่วมกันประเมินและตรวจสอบนโยบายประชานิยมและการแก้ไขปัญหาความยากจน รวมทั้งผลกระทบในด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรอบด้าน


                       


 


 


 


วัตถุประสงค์



  1. เพื่อร่วมประเมินและตรวจสอบความสำเร็จ/ล้มเหลวของโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวกับนโยบายประชานิยมของรัฐบาลไทยรักไทยในช่วงที่ผ่านมา โดยมีพื้นฐานจากงานศึกษาวิจัย และรูปธรรมปัญหาจากภาคส่วนต่างๆ

  2. เพื่อระดมความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ รวมทั้งผลกระทบและความสืบเนื่องต่อนโยบายประชานิยม และการแก้ไขปัญหาความยากจน

  3. เพื่อเผยแพร่ข้อมูลในด้านต่างๆ ต่อสาธารณชน

  4. เพื่อสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการติดตามตรวจสอบนโยบายของรัฐบาล

 


รูปแบบกิจกรรม


1.จัดการประชุมในลักษณะการประชุมกรรมาธิการ โดยเชิญส่วนต่างๆ มาเสนอข้อมูล และความคิดเห็น คือ


1.1 เสนองาน ผลการศึกษา โดย นักวิชาการ/นักวิจัย


1.2 ระดมความเห็นและปัญหารูปธรรมที่เกี่ยวข้องจากองค์กรชาวบ้าน/ประชาชนกลุ่มต่างๆ


1.3 ขอความเห็นจากนักวิชาการ/ผู้เชี่ยวชาญที่ได้ติดตามศึกษา ในด้านต่างๆ ทั้งในแง่การประเมินความสำเร็จ/ล้มเหลว ผลกระทบ และข้อเสนอแนะ


2. จัดนิทรรศการเกี่ยวกับนโยบายประชานิยมและรูปธรรมปัญหา


 


กลุ่มเป้าหมาย


            ผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 150-200 คน จาก


1.         องค์กรชาวบ้าน/ประชาชนกลุ่มต่างๆ


2.         องค์กรพัฒนาเอกชน และนักวิชาการ


3.         สื่อมวลชน นักศึกษา และผู้สนใจโดยทั่วไป


 


วัน เวลา และสถานที่


วันพฤหัสบดีที่ 25 - ศุกร์ ที่ 26 สิงหาคม 2548 ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารประชาธิปก รำไพพรรณี  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


 


องค์กรผู้รับผิดชอบโครงการ


ศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


"กรรมาธิการภาคประชาชนตรวจสอบนโยบายความยากจนและสังคม"


 


 


 


 


 


 


กำหนดการประชุม


กรรมาธิการภาคประชาชนตรวจสอบนโยบายความยากจนและสังคม ครั้งที่ 1


"นโยบายประชานิยมกับการแก้ปัญหาความยากจน"


วันพฤหัสบดีที่ 25 - ศุกร์ ที่ 26 สิงหาคม 2548


ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารประชาธิปก รำไพพรรณี  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


พฤหัสบดี ที่ 25 สิงหาคม 2548


09.00-09.30       ลงทะเบียน


09.30-09.40       ตัวแทนกรรมาธิการฯ กล่าวเปิดการประชุม


09.40-12.00       กรรมาธิการฯ รับฟังผลการศึกษาจากคณะผู้ศึกษา


1. นโยบายหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์


1.1 การประเมินผลนโยบาย หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์


โดย พยุงศักดิ์ คชสวัสดิ์ นักวิจัยอิสระ


1.2   ความสำเร็จล้มเหลวของโอท๊อป : กรณีศึกษากลุ่มสินค้าที่กำลังล้มหายตายจาก...


โดย กนกนาถ งามเนตร์ และคณะ มูลนิธิพัฒนาแรงงานและอาชีพ


1.3   ประสบการณ์ปัญหารูปธรรมจากกรณีศึกษา


2. ปัญหาหนี้สินและนโยบายการพักชำระหนี้


            2.1 หนี้สินเกษตรกรในยุคประชานิยม


                  โดย อาจารย์พฤกษ์ เถาถวิล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


                  2.2 ประสบการณ์ปัญหารูปธรรมจากเครือข่ายหนี้สินฯ


3. นโยบายแปลงทรัพย์สินเป็นทุน


3.1 นโยบายแปลงทรัพย์สินเป็นทุน


โดย กฤษฎา บุญชัย นักวิจัยอิสระ


            3.2 ประสบการณ์ปัญหารูปธรรม


            จากสมาพันธ์ประมงพื้นบ้านภาคใต้ และสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.)


12.00-13.00       พักรับประทานอาหาร


13.00-16.00       4. ระดมความเห็น "นโยบายประชานิยมกับการแก้ไขปัญหาความยากจน"


จากผู้เข้าร่วมประชุม และนักวิชาการ


-        ตัวแทนองค์กรประชาชนกลุ่มต่างๆ


-         รศ. ดร. ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


-         ดร.อภิชาติ สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


-         ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


16.00-16.30       ประมวลสรุป สังเคราะห์ ประเด็น/ความเห็น จากการประชุม


โดย อาจารย์สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา ตัวแทนกรรมาธิการฯ


------------------------------


 


วันศุกร์ ที่ 26 สิงหาคม 2548


09.00-09.30              ลงทะเบียน


09.30-12.0                 ประชุมกรรมาธิการฯ (ต่อ)


ผลกระทบและความสืบเนื่องจากนโยบายประชานิยม


1. อาจารย์สุรสม กฤษณจูฑะ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


2. อาจารย์สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะสังศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่


                        กรรมาธิการฯ ขอความเห็นต่อนโยบาย "ประชานิยม" จาก


1. ตัวแทนจากเครือข่ายนักธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม


2. วีรพล โสภา                 ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน


3. .ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์    มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน


11.30-12.00       กรรมาธิการแถลงผลการตรวจสอบและท่าทีต่อนโยบายประชานิยม


-------- ปิดการประชุมกรรมาธิการฯ ครั้งที่ 1-------------


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net