Skip to main content
sharethis

ตารางแสดงข้อคิดเห็นและประเด็นคัดค้าน พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ของ 4 กลุ่ม/องค์กร


 





























หน่วยงาน


หลักการ


มาตราที่มีปัญหา


ข้อเสนอแนะ


 


 


 


 


คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ต่อ)


 


1.การเพิ่มอำนาจฝ่ายบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินไม่อาจยกเว้นการตรวจสอบภายใต้ระบบขององค์กรตุลาการ


 


2. ไม่มีความจำเป็นต้องออกพ.ร.ก. เพราะกฎหมายเกี่ยวกับสถานการณ์สงครามหรือฉุกเฉินเดิมมีอยู่หลายฉบับ คือ พ.ร.บ.กฎอัยการศึกพ.ศ.2475 พ.ร.บ.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ.2495 รวมถึงกฎหมายอาญา


 


3.การบังคับใช้พ.ร.ก.อาจเกิดผลกระทบต่อระบบคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วยเหตุ 2 ประการข้างต้น อาจส่งผลให้สถานการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทวีความรุนแรงขึ้น


มาตรา 9(2) ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ไปจำกัดสาระสำคัญในเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบที่รัฐธรรมนูญรับรอง หากจะจำกัดสิทธิการชุมนุมต้องเป็นกรณีที่ประเทศอยู่ในสถานการณ์สงครามหรือฉุกเฉินหรือประกาศ ใช้กฎอัยการศึก แต่พ.ร.ก.นี้กำหนดเป็นอำนาจทั่วไปที่นายกฯ สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแต่อย่างใด


 


มาตรา 9(3) การห้ามเสนอข่าว...หรือสิ่งอื่นใดที่มีช้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว  ไปจำกัดสาระสำคัญในเสรีภาพในการแสดงคามคิดเห็น ซึ่งการจะจำกัดได้ประเทศต้องอยู่ในสถานการณ์สงครามเท่านั้น ,ขัดกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง


 


มาตรา .....  การจับกุมคุมตัวบุคคลต้องสงสัย ให้เจ้าหน้าทีขออนุญาตจากศาล และมีอำนาจคุมตัวได้ไม่เกิน 7 วัน หากจะขยายเวลาทำได้คราวละ 7 วัน รวมทั้งหมดไม่เกิน 30 วัน  ไปจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรอง และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองฯ


 


มาตรา ...... พนักงานเจ้าหน้าที่ ไม่ต้องรับผิดทางแพ่ง อาญา หรือทางวินัย จากการปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตไม่กินสมควรกว่าเหตุ   ไปจำกัดสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายที่รัฐธรรมนูญรับรอง, เปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ปฎิบัติการโดยไม่ธรรมกับผู้บริสุทธิ์ , ขัดกติระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองฯ


 


การปฏิบัติต่อบุคคลไม่จำแนกเยาวชนออกจากบุคคลทั่วไป ขัดกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองฯ และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก


 


ขอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณายกเลิกพ.ร.ก. หรือปรับปรุงให้มีภาคส่วนต่างๆ เข้ามีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการแก้ปัญหา


 


 


คณะกรรมาธิการนิติกรระหว่างประเทศ


The International Commission of Jurists (ICJ)


เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


คณะกรรมาธิการนิติกรระหว่างประเทศ (ต่อ)


The International Commission of Jurists (ICJ)


เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


คณะกรรมาธิการนิติกรระหว่างประเทศ (ต่อ)


The International Commission of Jurists (ICJ)


เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์


 


 


1.พ.ร.ก.เพิ่มอำนาจให้นายกรัฐมนตรีอย่างเต็มที่เหนือทุกหน่วยงานในการประกาศภาวะฉุกเฉินในส่วนใดของประเทศก็ได้


 


2.การให้อำนาจเป็นไปอย่างกว้างขวางมาก แต่ขอบเขตของการใช้อำนาจกลับนิยามอย่างคลุมเครือ


 


3.ลดภาวะที่ต้องรับผิดชอบของรัฐบาลอันพึงมีต่อศาลยุติธรรม


ความคลุมเครือของการนิยามความหมายของถ้อยคำหรือขอบเขตของมาตราต่างๆ ซึ่งเป็นไปอย่างกว้างขวางอาจนำไปสู่ความไม่ชอบธรรมเพียงพอต่อการใช้


 


เช่น- มาตรการมาตรา 11(6) ให้อำนานายกฯ ออกคำสั่งให้บุคคลใดก็ตาม "มิให้ทำหน้าที่หรือให้ทำหน้าที่หรือปฏิบัติการใดๆ" ก็ได้เพื่อความมั่นคง,


 


- ความไม่ชัดเจนของ "เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่" ที่นายกฯ จะมอบหมายอำนาจให้ เช่น การจับกุม,


 


- การจับกุมอยู่นอกกรอบระบบยุติธรรมและขาดการระบุสิทธิต่างๆ เช่น สิทธิในการขอพบทนายทันที รวมถึงสถานที่ควบคุมตัวก็ไม่ระบุชัดเจนเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของผู้ถูกจับกุมมากขึ้นอีก


 


- การใช้ภาษาคลุมเครือเกี่ยวกับการควบคุมสื่อและการแสดงออกในรูปแบบอื่น


 


นอกจากนี้ยังลดภาระที่ต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา เพราะ


-ไม่ผ่านการอภิปรายที่เปิดเผยต่อสาธารณชน


-ไม่เปิดโอกาสให้ปัจเจกบุคคลมีวิธีการที่ทรงประสิทธิภาพเพื่อทดสอบหรือโต้แย้งในชั้นศาลว่า เป็นการแทรกแซงสิทธิของตนหรือไม่ เพราะห้ามอย่างชัดเจนมิให้ปัจเจกบุคคลแสวงหาทางแก้ข้อกล่าวหาได้ตามปกติในศาลปกครอง


-มาตรา 17 ระบุชัดมิให้มีการดำเนินการทางอาญา แพ่งและวินัย กับเจ้าหน้าที่รัฐผู้ใช้อำนาจในภาวะฉุกเฉินตามอำเภอใจ


 


 


 


1. ขอเร่งเร้าให้รัฐบาลขอความเห็นชอบจากรัฐสภาไทยโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ตรามาตรา 213(3) ของรัฐธรรมนูญไทย


2. นิยามของสถานการณ์ต่างๆ ที่จะใช้เป็นข้ออ้างความชอบธรรมเพื่อประกาศภาวะฉุกเฉิน ควรต้องสอดคล้องกับ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR)


3. รัฐบางควรต้องชี้แจงด้วยว่า การประกาศภาวะฉุกเฉินและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องนั้น ต้องผ่านการตรวจสอบจากฝ่ายรัฐสภาเป็นระยะๆ


4.ผลที่ตามมา คือ การให้ความเห็นชอบของฝ่ายรัฐสภาต่อการประกาศภาวะฉุกเฉินภายใต้มาตรา 213 ของรัฐธรรมนูญไทย ควรต้องตรวจสอบทั้งความาถูกต้องชอบธรรมของการประกาศ และอำนาจต่างๆ ที่มอบให้เพื่อใช้ดำเนินการได้จริง


5. รัฐบาลควรทบทวนการตัดโอกาสของผู้ต้องหาหรือผู้ถูกจับกุม ที่จะขอพึ่งอำนาจศาลปกครองเพื่อแก้ไขปัญหา เพื่อให้บุคคลสามารถขอรับความเป็นธรรมจากศาลที่เป็นอิสระได้ตลอดเวลา และสามาตรขอมาตรการแก้ไขเยียวยาที่ทรงประสิทธิภาพ


6.รัฐบาลควรให้การตรวจสอบตามกระบวนการยุติธรรมครอบคลุมไปถึงการพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายของการออกประกาศฉุกเฉินและนัยในแต่ละข้อของคำประกาศด้วย


7. รัฐบาลควรยกเลิก มาตรา17 ที่ทำให้ผู้ใช้อำนาจปลอดจากการถูกฟ้องร้องดำเนินคดี


8. รัฐบาลควรยกเลิกมาตรา 11 (6) ซึ่งบัญญัติอย่างคลุมเครือและเปิดโอกาสให้ตีความได้กว้างขวางมากเกินไป


9. การประกาศภาวะฉุกเฉินควรระบุชัดเจนว่า มีผลบังคับใช้เมื่อไรและใช้กับใครบ้าง


10. ผู้มีอำนาจควรดำเนินการให้แน่ใจว่า บทบาทของกองทัพเหล่าต่างๆ มีนิยามและกรอบจำกัดที่ชัดเจน รวมทั้งกำหนดไว้ด้วยว่าฝ่ายทหารจะไม่ทำหน้าที่แทนเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ยกเว้นกรณีจำเป็น


11. พ.ร.ก. ควรต้องแก้ไขเพื่อความกระจ่างเพื่อความกระจ่างชัดในการควบคุมตัวบุคคลนอกเหนือจากกรอบกฎหมายอาญาในภาวะปกติ


12. รัฐบาลต้องย้ำว่าบุคคลที่ถูกควบคุมตัวจะต้องถูกนำตัวไปขึ้นศาลโดยเร็วเพื่อฟ้องร้องกล่าวโทษ โดยผู้ถูกควบคุมตัวมีสิทธิ์โต้แย้งต่อหน้าศาลด้วว่าการควบคุมตัวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่


13. ต้องควบคุมตัวบุคคลในสถานที่กักขังที่รู้จักกันโดยทั่วไปเท่านั้น และพึงปฏิบัติต่อผู้ถูกควบคุมตัวบนสมมติฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ รวมทั้งต้องบัญญัติชัดเจนว่าผู้ถูกควบคุมตัวมีสิทธิ์จะมีทนายความทันที มีสิทธิ์ให้ครอบครัวเข้าเยี่ยม


14. มีแต่หน่วยงานฝ่ายกฎมายที่ควรมีอำนาจเรียกบุคคลตามประกาศภาวะฉุกเฉิน และบุคคลมีสิทธิ์ปฏิเสธการให้ปากคำในชั้นพนักงานสอบสวน


15. ควรตัดทอนหรือแก้ไขพ.ร.ก. ว่าด้วยการจำกัดสิทิเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความคิดเห็นและการขุมนุม


16. รัฐบาลควรดำเนินการให้แน่ใจได้ว่าจะใช้อำนาจเฉพาะในกรณีจำเป็น และมีมาตรการป้องปรามมิให้เกิดการใช้อำนาจตามอำเภอใจ และการตรวจค้นแทรกแซงสิทธิของบุคคลควรอยู่ภายใต้การควบคุมของฝ่ายตุลาการ


 


 


สมาชิกวุฒิสภา


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


สมาชิกวุฒิสภา (ต่อ)


 


 


 


 


พ.ร.ก.ทั้งฉบับขัดรัฐธรรมนูญหลายมาตรา อาทิ 218 ,3,29,31,35,36,37,39,41,237,238   ซึ่งเป็นการสร้างระบบที่บกพร่องผิดพลาดอาจนำไปสู่การเกิดความเสียหายร้ายแรง ทำลายระบบรัฐสภาและการปกครองรอบอบประชาธิปไตย


มาตรา 5 ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีเพียงผู้เดียวในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และดำเนินการต่างๆ ที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งขัดต่อมาตรา3 ของรัฐธรรมนูญที่ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย


 


มาตรา 9 ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีในการออกข้อกำหนดที่กระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยไม่ผ่านกระบวนการตรากฎหมายของรัฐสภา


 


มาตรา 11(1) และมาตรา 12 ในการควบคุมตัวบุคคลผู้ต้องสงสัย ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 235,237 และกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา


 


มาตรา 11 (2) (3) (4) (5) ให้อำนาจนายกฯ แทนศาลยุติธรรมในการประกาศให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งเรียกบุคคลมารายงานตัว ตรวจค้น ทำลายสิ่งปลูกสร้าง เป็นการก้าวล่วงอำนาจศาลยุติธรรม


 


มาตรา 16,17 เป็นการยกเว้นความรับผิดต่อศาลปกครอง และความรับผิดทางแพ่ง อาญา ซึ่งเป็นการปฏิเสธหลักการสอบอำนาจโดยองค์กรตุลาการอย่างสิ้นเชิง


 


เสนอเรื่องให้ผู้ตรวจการแผ่นดินนำเสนอเรื่องดังกล่าวพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยว่าพ.ร.ก.ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่


 


 


 


 


คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ 12 สถาบัน


 


 


 


 


 


 


คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ 12 สถาบัน  (ต่อ)


 


 


 


- การตราพ.ร.ก.ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ทั้งเงื่อนไขการตราพ.ร.ก.เพิ่มอำนาจฝ่ายบริหารโดยปลอดจากการตรวจสอบใดๆ  และพ.ร.ก.นี้มิใช่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ตามมาตรา 218 วรรคหนึ่งตามรัฐธรรมนูญ


- บางมาตรามีเนื้อหารการบังคับใช้เหมือนกฎหมายเดิมที่มีอยู่ แต่เพิ่มอำนาจให้ฝ่ายบริหารมาก เช่น มาตรา 5,11


- มาตรา 9(3) และ 11 (5) ที่ห้ามเสนอข่าว และการให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจตรวจสอบและยับยั้งการสื่อสาร เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพสื่อขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 39


- มาตรา 11 (6) ให้อำนาจนายกฯ สั่งให้ทำหรือห้ามกระทำการใดๆ ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 29


 


- มาตรา 11(1),12 เกี่ยวกับการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย ขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 237


 


- มาตรา 16 และ 17 ยกเลิกอำนาจศาลปกครองและยกเว้นความผิดของเจ้าหน้าที่ทั้งอาญา แพ่ง วินัย ขัดมาตรา 234 วรรคสอง และ 237 ตามรัฐธรรมนูญ


 


- การตราพ.ร.ก.ไม่เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง โดยขัดแย้งกับข้อ 4,6,7,8,11,15,16,18


 


 


ชอให้สมาชิกผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาโปรดใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบและไม่อนุมัติพ.ร.ก. เพื่อพิทักษ์ปกปักรักษารัฐธรรมนูญ หลักนิติธรรม และสิทธิเสรีภาพของประชาชนชาวไทย


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net