Skip to main content
sharethis

 








1. กรุณาให้ตัวอย่างต่างๆ (ถ้ามี) ที่มีการอ้างถึงบทบัญญัติต่างๆ ของกติตาICCPR โดยตรงในศาล และมีผลอย่างไรบ้าง


 


2. รัฐภาคีกำลังดำเนินการพิจารณาเพื่อรับรองพิธีสารเลือกรับ ฉบับที่ 1 แห่งกติการระหว่าประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองหรือไม่


 


3. กรุณาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในการส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติตามกติกา ICCPR   กรุณาแจ้งตัวเลขจำนวนการร้องเรียนที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับ และได้มีการดำเนินการสอบสวนไปกี่กรณีแล้ว รวมทั้งผลการสอบสวน


 


4. (a) ประเทศไทยได้ประกาศภาวะฉุกเฉินโดยมีการปฏิบัติตามบทบัญญัติข้อ 4 ของ ICCPR หรือไม่


    (b) ในรายงานเกี่ยวกับการขยายความรุนแรงและสถานการณ์ตึงเครียดในภาคใต้ และการให้อำนาจพิเศษแก่ทหารโดยการใช้กฎอัยการศึก และมาตรา 6 ของกฎหมายทหาร กรุณาอธิบายว่ารัฐภาคีมีหลักประกันที่เคารพต่อสิทธิ(ของพลเมือง) ที่จะไม่ถูกเหยียดหยาม (เหลือปฏิบัติ) ตามที่บัญญัติไว้ในข้อ4 ของ ICCPR เมื่อมีการประกาศภาวะฉุกเฉิน และกรุณาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการขยายเวลาของการใช้กฎอัยการศึก รวมถึงการประกาศใช้คำสั่งนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนมิถุนายน 2547 กรุณาระบุว่าข้อใดของกฎอัยการศึกที่ได้มีการขยายใช้ในพื้นที่ใดเป็น การเฉพาะและในสถานการณ์ใด


    (c) โดยพิจารณาถึงเหตุการณ์ต่างๆ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรุณาแจ้งตัวเลขผู้เสียชีวิต และตัวเลขของผู้มีสิทธิตามข้อ 7 และ 10 ของ ICCPR ที่ถูกกระทบ รวมทั้งขอทราบการดำเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐในเรื่องนี้ด้วย


 


5. กรุณาให้ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายที่รัฐภาคีรับรอง (ถ้ามี) และข้อต่างๆ ของกฎหมายเหล่านี้ที่สอดคล้องกับกติกาของ ICCPR


 


6. กรุณาแจ้งให้คณะกรรมการฯ ทราบว่าสิทธิทั้งปวงที่ได้รับการประกันภายใต้กฎหมายไทย รวมถึงหลักประกันตามรัฐธรรมนูญนั้น ได้ครอบคลุมถึงบุคคลทุกคนภายใต้เขตอำนาจศาล รวมถึง ผู้ที่มิใช่พลเมือง (non-citizen) ผู้อพยพ ผู้ลี้ภัย และผู้แสวงหาที่หลบภัย ด้วยหรือไม่


 


7. ขอให้เพิ่มเติมข้อมูลที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 56 และ 57  ของรายงาน กรุณาแจ้งต่อคณะกรรมการฯ ด้วยว่า มีข้อห้ามในกฎหมายไทย ที่ได้มีการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเพศสภาพ โดยเฉพาะกรณีทำงาน การเข้าถึงบริการทางสังคม การสมรส และสิทธิในมรดกหรือไม่


 


8. กรุณาแจ้งให้คณะกรรมการทราบเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของการเกิดความรุนแรงในครอบครัว โดยเฉพาะความรุนแรงต่อผู้หญิงในประเทศไทย และมาตรการทางกฎหมาย และมาตรการอื่นๆ ที่ใช้ในการแก้ปัญหา


 


9. ตามข้อมูลที่คณะกรรมการฯ ได้รับการแพร่ขยายของการค้ามนุษย์เพื่อวัตถุประสงค์ในการค้าบริการทางเพศ ที่อาจเพิ่มจำนวนของผู้ติเชื้อเอชไอวี/เอดส์


 


10. กรุณาระบุว่าความผิดใดที่ต้องได้รับโทษประหารชีวิต กรุณาอธิบายในจุดยืนของรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดโทษประหารชีวิตสำหรับความผิดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด


 


11. กรุณาแจ้งข้อมูลล่าสุดของมาตรการและการปฏิบัติของรัฐภาคีในการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาที่ถูกสังหารโดยเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนของรัฐในการสอบสวนกรณีที่มีผู้ถูกกล่าวหาที่ถูกฆ่าเป็นจำนวนมากระหว่าง "สงครามยาเสพติด" และผลการสอบสวนอย่างเป็นทางการ


 


12. ขอให้แจ้งสถิติการประหารชีวิตในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และข้อมูลของคดีที่มีการตัดสินประหารชีวิตแค่คดียังไม่ยุติ


 


13. มีการเยียวยาใดๆ ทางกฎหมายหรือไม่ต่อผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายและสมาชิกของกองกำลังรักษาความมั่นคง กรุณาแจ้งสถิติจำนวนกรณีเหล่านี้และผลของการเยียวยา


 


14. กรุณาอธิบายว่าทำไมการใช้โซ่ตรวนนักโทษประหารยังถูกพิจารณาว่าจำเป็น และกรุณาให้คำอธิบายต่อกรณีที่มีการกล่าวหาว่ารัฐจงใจที่จะเผยแพร่ภาพการประหารชีวิตและสภาพของนักโทษที่รอการประหารเพื่อกำราบให้เกิดความกลัว


 


15. กรุณาให้ข้อมูลเรื่องการปฏิบัติต่อผู้ต้องสังสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้าย และผู้ติดยาเสพติดที่อยู่ในการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ว่าการปฏิบัติต่อบุคคลเหล่านี้เป็นไปตามกติกา ICCPR หรือไม่


 


16. กรุณาแจ้งให้คณะกรรมการฯ ทราบถึงการดำเนินการต่างๆ ของรัฐภาคี เพื่อสอบสวน ข้อกล่าวหาว่าเป็นอุปสรรค และเป็นการคุกคามต่อองค์กรสิทธิมนุษยชน และนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และการดำเนินการตามกระบวนยุติธรรมต่อผู้ที่รับผิดชอบ


 


17. มีกลไกหรือไม่ในการตรวจสอบการปฏิบัติงานอย่างเป็นอิสระของผู้พิพากษาในรัฐภาคี กรุณาระบุว่าผู้พิพากษามีผลประโยชน์จากการอยู่ในตำแหน่งหรือไม่


 


18. ในรายงานได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้อพยพจากประเทศลาว กัมพูชา และเวียดนาม แต่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้อพยพชาวพม่าเพียงเล็กน้อย ในส่วนของคณะกรรมการฯ มีข้อมูลที่ได้รับจากที่อื่นๆ ที่เกี่ยวกับสถานการณ์แรงงานอพยพ ผู้แสวงหาที่หลบภัย และผู้ลี้ภัยจากประเทศพม่าด้วย กรุณาให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์และการปฏิบัติรวมทั้งหลักการและเงื่อนไขในการเนรเทศแรงงานอพยพ ผู้แสวงหาที่ลี้ภัย และผู้ลี้ภัยจากประเทศพม่า


 


19. กรุณาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีของสื่อมวลชนไทย เพื่อประกอบการพิจารณาข้อมูลส่วนที่คณะกรรมการฯ ได้รับว่ารัฐบาลไทยได้เพิ่มแรงกดดันที่กระทบต่อเสรีภาพของสื่อมวลชน


 


20. กรุณาให้ข้อมูลต่อคณะกรรมการฯ เกี่ยวกับกรณีที่มีการฟ้องร้องทางกฎหมายต่อผู้ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์นายกรัฐมนตรี รวมถึงคดีที่บริษัทที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ก่อตั้งดำเนินการฟ้องบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ และนักรณรงค์ด้านการปฏิรูปสื่อ


 


21. กรุณาให้คำอธิบายเพิ่มเติมว่าทำไมสภาพเศรษฐกิจสังคมปัจจุบันยังไม่เป็นไปตามพันธกรณีที่ระบุในข้อ 22 ของกติกา ICCPR (บุคคลมีสิทธิเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม ก่อตั้งและเข้าร่วมสหภาพแรงงานเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตน....) กรุณาให้ข้อมูลด้วยว่ารัฐภาคีกำลังดำเนินการในการปรับปรุงสภาพดังกล่าวนี้


 


22. กรุณาอธิบายเหตุผลของการไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าระดับของการใช้กำลังและลักษณะของกลวิธีที่ใช้โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจและกลุ่มอาสาสมัครพลเรือน เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2547 ในการปราบปรามการประท้วงอย่างสงบของเกษตรกรที่ไร้ที่ทำกินนั้น เป็นการไม่เหมาะสม


 


23.กรุณาให้ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการที่ใช้แก้ปัญหาการบังคับใช้แรงงานเด็กรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการตามกฎหมายและการลงโทษที่เกี่ยวข้องกับการเอารัดเอาเปรียบแรงงานเด็ก


 


24.กรุณาให้ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการที่รัฐใช้เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่ากฎหมายเลือกตั้งขอปงระเทศไทยสอดคล้องกับกติกาของ ICCPR รวมถึงมาตรการเฉพาะใดๆ ที่ถูกนำมาใช้เพื่อให้เกิดความแน่ใจในความโปร่งในของกระบวนการเลือกตั้ง และความยุติธรรมในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548


 


25. กรุณาให้ข้อมูลแก่คณะกรรมการฯ เกี่ยวกับสถานการณ์ของสมาชิกของกลุ่มชาวเขาต่างๆ / ผู้อาศัยบนที่ราบสูง ("Highlanders") โดยเคารพต่อสิทธิ และสิทธิของบุคคลเหล่านี้ในเรื่องเสรีภาพในการเคลื่อนย้าย การเป็นพลเมืองและสิทธิในที่ดิน/ทรัพย์สิน


 


26. กรุณาให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการให้การศึกษา ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมาย และเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ในเรื่องสิทธิมนุษยชนที่มีการรับรองในกลไกสากลและกฎหมายของประเทศ


 


 


เรียบเรียงจากเอกสารคณะทำงานรวบรวมข้อมูลสำหรับรายงานสิทธิมนุษยชนด้านสิทธิ


พลเมือง และสิทธิทางการเมือง สุภัตรา ภูมิประภาส แปล


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net