Skip to main content
sharethis

Ombudsman มาจากภาษาสวีดิช แปลว่า "ผู้แทน" หรือ "ผู้รับมอบอำนาจในการตรวจการ" ในประเทศอังกฤษเรียกว่า "Parliamentary Commissioner of Administration" เป็นบุคลากรหรือองค์กรทำหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติงานของฝ่ายปกครอง ซึ่งหลักทั่วไปของวิธีการตรวจสอบคือการรับเรื่องร้องเรียนที่มาจากประชาชน หรือนำปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากการดำเนินการของ ฝ่ายปกครองมาพิจารณา แล้วสรุปรายงานโดยมีการเสนอแนะทางแก้ไขปัญหาต่อหน่วยงานของฝ่ายปกครองที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและอาจเสนอต่อประชาชนทั่วไป

ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาได้มีการก่อตั้งเป็นครั้งแรกเป็นเวลากว่าร้อยปีมาแล้วในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย อันได้แก่ สวีเดน นอร์เวย์ และเดนมาร์ก โดยเรียกว่า "ออมบุดสแมน" (Ombudsman) เพื่อทำหน้าที่ดูแลปัดเป่าเรื่องทุกข์ร้อนของประชาชนแทนพระมหากษัตริย์ในสมัยนั้น ซึ่งองค์กรนี้ได้ปฏิบัติหน้าที่บรรลุผลสำเร็จเป็นอย่างดี และได้มีวิวัฒนาการเรื่อยมา ในปัจจุบันประเทศต่างๆพัฒนาจากการแต่งตั้งตามความประสงค์ของพระมหากษัตริย์โดยตรง มาสู่การแต่งตั้งโดยได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา และรายงานเรื่องราวต่างๆ ต่อรัฐสภา

อย่างไรก็ตามผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาในประเทศเหล่านี้มีอำนาจหน้าที่ที่แตกต่างไปจากฝ่ายตุลาการ โดยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาจะไม่เป็นผู้ออกคำวินิจฉัยหรือสั่งการให้มีการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งอันมีผลบังคับโดยตรงเหมือนศาล แต่จะทำหน้าที่พิจารณาดูว่าประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมเดือดร้อนเพราะเหตุใด หากเป็นเรื่องที่เกิดจาก หน่วยงานของรัฐละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ ก็จะแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้นรีบไปดำเนินการแก้ไข หากเป็นเรื่องที่หน่วยงาน ของรัฐปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายทุกอย่าง แต่ความเดือดร้อนของประชาชนนั้นเกิดจากการที่กฎหมายนั้นไม่เป็นธรรม ก็จะเสนอ ต่อรัฐสภา เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ในประเทศเหล่านี้บรรจุผลสำเร็จในระดับหนึ่ง ในการเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน ประเทศต่างๆ รับเอารูปแบบ องค์กรผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาไปใช้ในประเทศของตนโดยปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ของ แต่ละ ประเทศซึ่งประเทศต่างๆ นอกกลุ่มสแกนดิเนเวียที่ได้จัดตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา เป็นต้น สำหรับประเทศไทย ก็ได้รับเอาแนวคิดผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภานี้มาศึกษาและเป็นแนวทางการจัดตั้งเช่นกัน โดยหวังว่าจะเป็นเครื่องมือป้องกันการใช้อำนาจเกินขอบเขตโดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง และยังเป็นเครื่องถ่วงอำนาจ ของฝ่ายปกครอง ไปในตัวอีกด้วย

รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง

บทบาท อำนาจ หน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาไทย http://www.ombudsman.go.th/about_history1.asp?id=100005

บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา http://www.parliament.go.th/con40/sec-67.htm

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net