Skip to main content
sharethis

" ออง ซาน ซูจี กำลังทำอะไรอยู่ ณ เวลานี้ ….ในวันคล้ายวันเกิดที่ถูกแยกจากบุคคลอันเป็นที่รัก

หรือเธอกำลังนั่งอยู่ที่บันไดประตูบ้าน เหม่อมองท้องฟ้า เธอต้องกำลังคิดถึงลูกๆ และหลานๆของเธอที่อยู่ในประเทศอังกฤษ คิดถึงความสุขถ้ามีพวกเขาอยู่ข้างๆ ….

แต่สิ่งที่ข้าพเจ้าแน่ใจคือ เธอไม่รู้สึกเสียใจกับอิสรภาพที่สูญเสีย ……

ถ้าเธออยู่ที่นี่ในวันนี้ เธอจะขอบคุณท่านสำหรับการสนับสนุนของท่านที่มีให้กับการต่อสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยในประเทศของเรา เธอจะต้องกล่าวว่า เกียรติยศที่ได้นี้มิใช่เป็นของเธอคนเดียว แต่เป็นของประชาชนพม่าทั้งหมดและปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ใบนี้ จะเป็นสาส์นแห่งความหวังจากประชาชนไทยถึงประชาชนพม่า"

คือถ้อยคำผ่านสุนทรพจน์ที่ ดอว์ ซาน ซาน เลขานุการ สหภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแห่งพม่า ซึ่งเป็นตัวแทนของ ออง ซาน ซูจี กล่าวในโอกาสรับมอบ ปริญญารัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งมีมติไว้ตั้งแต่ปี 25434 เพื่อคารวะในหัวใจแกร่งของสตรีผู้เดิมพันชีวิตเพื่อประชาธิปไตยในบ้านเกิด แต่เพิ่งได้มีโอกาสมอบให้ในวันที่เธออายุครบ 60 ปี

กระนั้นเธอก็มิอาจเดินทางมารับเกียรติยศนี้ได้ด้วยตัวเอง

เช่นกันกับเมื่อครั้งปี 2534 ที่ คณะกรรมการโนเบลแห่งประเทศนอร์เวย์ ประกาศชื่อเธอเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ บุตรชายของเธอ คือ อเล็กซานเดอร์และคิม ต้องเป็นผู้แทนถือภาพถ่ายของแม่ขึ้นเวทีไปรับรางวัล ท่ามกลางเสียงปรบมือต้อนรับดังกระหึ่มกึกก้อง

19 มิถุนายน 2548 ออง ซาน ซูจี ประดับโลกใบนี้ด้วยความงามและเป็นแบบอย่างของความเด็ดเดี่ยว เข้มแข็งมาถึง 60 ปี แม้คนทั่วโลกได้ร่วมกันจัดงานเพื่อให้กำลังใจเธออย่างต่อเนื่อง ทว่าชีวิตเธอยังคงถูกกักบริเวณไว้ในบ้านพักริมทะเลสาบอินยา โดยที่ไม่มีผู้ใดทราบได้เลยว่าเธอจะใช้ชีวิตเช่นไรภายใต้อิสรภาพที่ถูกจำกัด

ที่กรุงวอชิงตัน ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ผู้นำสหรัฐอเมริกาเรียกร้องรัฐบาลทหารพม่าปล่อยตัวเธอและรับรองผลการเลือกตั้งของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยเมื่อปี 2533 และกล่าวยกย่องว่าการยืนหยัดต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยของเธอเป็นแบบอย่างแรงบันดาลใจให้กับผู้เรียกร้องเสรีภาพทั่วโลก

คณะกรรมการรางวัลโนเบลออกแถลงการณ์ที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ เรียกร้องให้รัฐบาลพม่าปล่อยตัวเธอพร้อมสดุดีว่า เธอเป็นแบบอย่างของความกล้าหาญที่น่าทึ่งที่สุดในภูมิภาคเอเชีย

ที่อินโดนีเซียมีการระดมดารานักแสดง นักการเมือง นักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชน อ่านกลอนและจดหมายที่เขียนขึ้นเป็นเกียรติแด่เธอ

ที่กรุงดับลิน นครหลวงของไอร์แลนด์ มีการแสดงดนตรีของวงอาร์อีเอ็ม ซึ่งเขียนเพลงอุทิศให้แก่เธอ

นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติวิงวอนรัฐบาลทหารพม่าปล่อยตัวเธอโดยเร็ว

ที่ประเทศไทยนอกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มอบปริญญารัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ให้เธอแล้ว ที่เมืองเชียงใหม่ กลุ่มคนที่มีหัวใจรักประชาธิปไตยและเสรีภาพ หลากหลายเชื้อชาติ ได้มารวมตัวกันที่สวนสาธารณะสวนบวกหาด ในนามกลุ่มแนวร่วมเพื่อสันติภาพ จังหวัดเชียงใหม่ และกลุ่มแนวร่วมเพื่อเพื่อนพม่า ร่วมกันนั่งกางจ้องเรียกร้องอิสรภาพอย่างสันติภาพตั้งแต่เวลา 07.00 จนถึงเที่ยงวัน มีการเขียนข้อความอวยพรลงในบัตรอวยพรที่ติดลูกกุญแจอันเป็นสัญ
ลักษณ์เพื่อคืนอิสรภาพให้เธอ จากการที่รัฐบาลทหารพม่าควบคุมตัวไว้อย่างยาวนาน และยังได้ร่วมกันร้องเพลงและตัดเค้กวันเกิดขนาด 5 ปอนด์ ให้กับเธอ เป็นกิจกรรมเล็กๆ แต่น่าประทับใจ

สิ่งที่พวกเขาอยากสื่อสารคืออยากจะให้กำลังใจในความแข็งแกร่งของออง ซาน ซู จี อยากเรียกร้องให้รัฐบาลไทยทบทวนการที่รัฐบาลพม่าจะได้เป็นประธานกลุ่มประเทศอาเซียนว่าไม่เหมาะสม เนื่องจากเห็นว่ายังคงมีการใช้เผด็จการทางทหารในพม่าอยู่ และขอให้รัฐบาลไทยกดดันให้รัฐบาลพม่าปล่อยตัวเธอซึ่งถูกกักขังอยู่ในบ้านพักของตนเองให้เป็นอิสระโดยเร็วด้วย

"เราหวังจะเห็นเธอมีอิสรภาพ" หนึ่งในผู้เรียกร้องชาวแคนาดากล่าวกับพลเมืองเหนือ

ออง ซาน ซูจี เป็นลูกสาวของนายพล อองซาน อดีตผู้นำการต่อสู้เรียกร้องเอกราชของประเทศพม่า แม้พ่อของเธอจะถูกลอบสังหารไปเมื่อเธออายุเพียง 2 ขวบ แต่เธอก็เลือกเดินตามรอยเท้าพ่อ ละทิ้งอนาคตและเสียสละชีวิตส่วนตัว ก้าวขึ้นมายืดออกท้ากระบอกปืนของรัฐบาลทหารพม่า เมื่อครั้งเกิดเหตุการณ์ที่นักศึกษาและประชาชนชาวพม่าลุกฮือขึ้นเรียกร้องประชาธิปไตยราวปี 2532

เหตุการณ์เมื่อ 5 เมษายน 2532 กลายเป็นตำนานเล่าขานสืบมาเมื่อ ออง ซาน ซูจี เริ่มต้นใช้รูปแบบสันติวิธี ในการหาเสียงเลือกตั้งพรรคเอ็นแอลดี บริเวณปากลุ่มน้ำอิระวดี เธอเผชิญหน้า ทหารฝ่ายรัฐบาลที่พยายามสกัดกั้นไม่ให้ออกนอกพื้นที่ แต่เธอไม่หวั่น กลับเดินหน้าเข้าหาปากกระบอกปืนที่เล็งมาอย่างสงบ จนทหารต้องล่าถอย

ถ้อยคำที่คมคาย ปลุกเร้า และจิตใจรักประชาธิปไตยอันแน่วแน่ คืออาวุธร้ายเหลือที่รัฐบาลทหารต้องครั่นคร้าม แต่ก็เลือกใช้กฎอัยการศึกกักบริเวณให้เธออยู่แต่ในบ้านพัก และเธอก็ปฏิเสธข้อ
เสนอที่จะเดินทางออกนอกประเทศพม่า เพราะเธอรู้ว่าจะไม่สามารถกลับเข้ามาได้อีก แม้จะต้องห่างจากลูกชายทั้ง 2 และไม่มีโอกาสแม้จะได้กล่าวคำอำลาสามีในวันที่เขาเสียชีวิต

9 ปี กับอีก 161 วัน ที่ออง ซาน ซู จี ถูกริดรอนอิสรภาพ ไม่อาจทำอะไรหัวใจแห่งเสรีประชา
ธิปไตยของเธอได้ ตรงกับข้ามกลับยิ่งทวีแนวร่วมจากทั่วโลกขึ้นทุกขณะ

"ความรักและสัจจะ จะโน้มน้าวใจมหาชนได้มากกว่าการบังคับ" เธอกล่าวกับชาวพม่า

และ

"ขอให้พี่น้องที่ถูกจับกุม อย่าเพิ่งสิ้นหวัง สักวันหนึ่งเราจะต้องพบกับอิสรภาพและเสรี
ภาพ ได้พบกับดวงตะวันที่โผล่พ้นหลังก้อนเมฆ และพี่น้องที่ลี้ภัยอยู่ต่างแดน ก็อย่าเพิ่งท้อถอย ทุกคนต้องก้าวพ้นจากความกลัว ทุกคนต้องมีความหวัง ว่าสักวันหนึ่งเราจะได้กลับคืนสู่บ้านของตัวเอง ได้ร่วมกันพัฒนาประเทศชาติของเราต่อไป"

เสียงของเธอ - ออง ซาน ซู จี สตรีผู้เดิมพันชีวิตเพื่อประชาธิปไตย ข้ามผ่านปราการหน่วงขังจากเงื้อมมือรัฐบาลทหารพม่า ส่งมาก้องกังวาลให้โลกคารวะ.

ทั้งนี้การที่สมาคมอาเซียนรับพม่าเข้าเป็นสมาชิก ด้วยความหวังที่จะเห็นความสัมพันธ์อย่างสร้าง
สรรค์จากฝ่ายรัฐบาลที่เรียกตัวเองว่า คณะกรรมการสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ(เอสพีดีซี) แต่สัญญาที่สภาแห่งนี้ประกาศไว้คือ ความว่างเปล่าและไร้ค่า ดังนั้น จนถึงเวลาที่จะต้องทบ
ทวนการพิจารณาสมาชิกทั้งหมดของสมาคมอาเซียน แม้สภาสันติภาพและการพัฒนาฯ ยินดีที่จะให้มีการเจรจาอย่างสร้างสรรค์กับฝ่ายขบวนการประชาธิปไตย

นายสุรพลกล่าวว่า ปริญญารัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ของนางอองซาน ซูจี ทางสภามหาวิทยาลัยฯ มีมติไว้ตั้งแต่ปี 2534 ในฐานะที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการมุ่งมั่นและมีจิตใจที่ยึดแนวทางการต่อสู้และสันติวิธี เพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนให้แก่ชาวพม่า

การเรียกร้องเพื่อเกียรติ ศักดิ์ศรี และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษยชาติอย่างมีศักดิ์ศรี อย่างผู้มีสิทธิที่จะกำหนดการปกครองของตนเอง ตามเจตนารมณ์ของปวงชน อันส่งผลให้ได้รับรางวัลระดับนานาชาติหลายรางวัล นับเป็นการประกาศให้ชาวโลกได้รับรู้ถึงสัจธรรมอันยิ่งใหญ่ของแบบอย่างแห่งการต่อสู้ เพื่อให้ได้มาซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ช่วงบ่าย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดงาน "60 ปี อองซาน ซูจี : การต่อสู้ของผู้หญิงแห่งลุ่มน้ำอิระวดี-สาละวิน" เนื่องในวาระครบรอบวันเกิด 60 ปี ของนางอองซาน ซูจี โดยมีผู้เข้าร่วมงานจำนวนมาก

ที่ จ.เชียงใหม่ กลุ่มองค์กรเครือข่ายเพื่อสันติภาพจ.เชียงใหม่ ร่วมกับองค์กรเพื่อเพื่อนชาวพม่าและองค์กรเอกชนกว่า 20 หน่วยงานประมาณ 100 คน นำโดยน.ส.ปรานม สมวงศ์ แกนนำองค์กรเครือข่ายเพื่อสันติภาพ จ.เชียงใหม่ ได้มารวมกลุ่มเพื่อแสดงพลังเรียกร้องสันติภาพให้กับนางอองซาน ซูจี หัวหน้าพรรคเอ็นแอลดี ที่ครบรอบวันเกิด 60 ปี โดยแต่งกายด้วยชุดพื้นเมือง กางร่ม นั่งพื้นเรียงรายพร้อมติดป้ายประกาศเรียกร้องสันติภาพบริเวณด้านหน้าสวนสาธาณะหนองบวกหาด อ.เมืองเชียงใหม่

น.ส.ปรานม กล่าวว่า กิจกรรมในวันนี้ได้ให้ตัวแทนองค์กรจำนวน 60 คน ซึ่งเป็นจำนวนครบรอบวันเกิดของนางอองซาน ซูจี มาร่วมพลังกันนั่งกางร่ม เพื่อรอการคืนอิสระภาพ และร่วมฉลองวันเกิดโดยการนำเค้กวันเกิดมาตัดฉลองในเวลา 12.00 น.

ที่กรุงย่างกุ้ง สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า กลุ่มผู้สนับสนุนนางอองซาน ซูจี ประมาณ 500 คน ร่วมกันปรบมือและสวดมนต์ที่บริเวณสำนักงานใหญ่ของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย(เอ็นแอลดี) อวยพรให้เธอได้รับเสรีภาพในเร็ววัน รวมทั้งยังมีสมาชิกพรรคและนักการทูตต่างชาติประมาณ 400 คน เข้าร่วมงาน

ขณะนี้นางอองซาน ซูจี ยังคงถูกกักบริเวณอย่างเข้มงวดที่บ้านพักริมทะเลสาบกรุงย่างกุ้ง โดยในระยะ 15 ปีที่ผ่านมาเธอถูกกักบริเวณอยู่ในบ้านพักเป็นส่วนใหญ่

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net