Skip to main content
sharethis

ประชาไท-30 เม.ย. 48 "กรมประชาสัมพันธ์ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดสรรคลื่นวิทยุในขณะนี้ และในอนาคตด้วย ดังนั้น การให้วิทยุชุมชนมาจดทะเบียนกับกรมประชาสัมพันธ์ โดยอ้างว่าเป็นการทำงานเพื่อแก้ไขเฉพาะหน้า และเป็นการจัดทำวิทยุชุมชนให้มีระเบียบตามข้ออ้างนั้น กลับกลายเป็นช่องทางที่ก่อให้เกิดการแสวงหาผลประโยชน์ ของคนบางกลุ่มบางพวก" ประธานสภา สถาบันนักวิชาการสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (สสมท.) นายสุรัตน์ เมธีกุล กล่าวกับผู้สื่อข่าวในตอนหนึ่ง

นายสุรัตน์ กล่าวว่า ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ที่พูดถึงภาคประชาชนในการประกอบกิจการวิทยุ โทรทัศน์นั้น กำหนดไว้ว่าภาคประชาชนจะเกิดขึ้นโดยสมาชิกในชุมชนหรือองค์กร และคนในสมา คมในชุมชนนั้นรวมตัวกันจัดตั้งเป็นบุคคล หรือนิติบุคคลที่ไม่แสวงหาผลกำไร

นายสุรัตน์กล่าวต่อว่า ทว่าในปัจจุบันหน่วยงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทร ทัศน์แห่งชาติ(กสช.) ที่จะเข้ามาดูแลในตรงจุดนี้ยังไม่สามารถจัดตั้งองค์กรให้ลงตัวได้ และไม่ทราบว่าเป็นมติของครม. หรืออยู่ในความเห็นชอบของรัฐบาลอย่างไร ที่จัดตั้งให้กรมประชาสัม พันธ์เป็นผู้ดูแลและมีการเรียกเก็บเงินจดทะเบียนจำนวน 5,000 บาท จากผู้ประกอบการ ซึ่งโดยแท้จริงแล้วกรมประชา สัมพันธ์ไม่มีสิทธิ์ที่จะทำเช่นนี้

นายสุรัตน์กล่าวต่ออีกว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาและกำลังเป็นข่าวอยู่นั้น น่าจะมาจากการที่กลุ่มภาคประชาชนที่ทำวิทยุชุมชน เชื่อในอำนาจของกรมประชาสัมพันธ์ อยากอยู่ในเครือข่ายของกรมประชาสัมพันธ์ อีกข้อหนึ่งนั้นน่าจะมาจากกลุ่มที่ไม่ใช่ภาคประชาชน แต่เป็นพวกนายทุนด้านสื่อ หรือพวกนักการเมืองท้องถิ่น ที่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์จากวิทยุชุมชน โดยเฉพาะการให้มีการโฆษนาได้

"แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมว่าปัญหาดังกล่าวน่าจะหมดไปเมื่อมีกสช.เกิดขึ้นเป็นรูปร่างที่ชัดเจน เพราะคลื่นทั้งหมดจะต้องคืนให้กับทางกสช. จะยกเว้นพวกที่มีสัมปทานกับทางภาครัฐ นอกนั้นจะต้องตรวจดูว่าเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของกสช.หรือไม่ จาก 2,000 กว่าราย อาจจเหลือเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ หรือ 200 รายเท่านั้นที่เป็นวิทยุชุมชนจริง ๆ จากที่ได้สำรวจกันมา" ประธาน สสมท. กล่าว

นายสุรัตน์กล่าวว่า แต่ปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาอีกก็คือ วิทยุชุมชนใดที่จดทะเบียนกับกรมประชาสัมพันธ์แล้วไม่ได้รับการให้ดำเนินการต่อจากกสช. เพราะไม่เป็นไปตามกฎที่กสช.ตั้งเอาไว้ อาจจะเกิดกรณีฟ้องร้องกรมประชาสัมพันธ์ได้ ในแง่ของการบอกข่าวสารไม่ชัดเจนทำให้ภาคประชาชนหรือกลุ่มต่าง ๆ สับสนและต้องสูญเสียจ่าจดทะเบียน ค่าดำเนินงานไปเปล่า ๆ

"ในเรื่องค่าเครื่องส่งสัญญาณที่นำมาจัดตั้งให้ชุมชน หรืมูลค่ารวมในการจัดทำวิทยุชุมชนที่แพงกว่าความเป็นจริงนั้น ผมไม่สามารถระบุตัวผู้กระทำผิดได้ แต่ความจริงแล้วปัจจุบันนี้มีเงินแค่ 100,000 บาท ก็สามารถสื่อเครื่องส่งสัญญาณและหามุมใดมุมหนึ่งไม่จำเป็นต้องตั้งสถานีเป็นหลักเป็นฐาน ก็สามารถจัดตั้งวิทยุชุมชนได้แล้ว" ประธาน สสมท. กล่าว

นักวิชาการด้านสื่อยัน กรมประชาสัมพันธ์ " ไม่มีอำนาจ" จัดสรรวิทยุชุมชน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net