การขึ้นเป็นประธานอาเซียนของพม่า

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

มาร์วัน มากัน-มาร์การ์ - ไอพีเอส
-----------------------
กรุงเทพฯ(ไอพีเอส) -- ขณะที่รัฐบาลของประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แสดงออกอย่างสับสนต่อสมาชิกภาพของพม่า แต่มีปัญหาว่าเหล่าสื่อมวลชนระดับนำในภูมิภาคมองการถกเถียงถึงอนาคตของประเทศเผด็จการนี้อย่างไร

ข้อสรุปจากที่ประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศของอาเซียนในฟิลิปปินส์ ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนดังที่ปรากฏอยู่ในหนังสือพิมพ์ต่างๆของภูมิภาคนี้ว่าได้แสดงความเดือดดาลต่อความดื้อดึงของพม่าที่ไม่ยอมปฏิรูปการเมือง

ในฟิลิปปินส์,ทีโอโดโร ซี. เบนิกโนเขียนวิจารณ์ไว้ในคอลัมน์ของเขาโดยพาดหัวว่า "พวกวายร้ายแตะมันออกไป"

"อาเซียนควรพูดออกมาตรงๆ เลิกทำตัวสนิทสนมกับพวกนายทหารที่เหม็นโฉ่ยิ่งกว่ารูหนู ขับพม่าออกจากสมาชิกภาพหากจำเป็น แตะเจ้าพวกวายร้ายไปลงนรก" เบนิกโนเขียนไว้ในคอลัมน์ของนสพ.เดอะ ฟิลิปปินส์ สตาร์ ฉบับประจำวันพุธ(ที่ 13)

ในประเทศไทย,สฤษดิ์เดช มฤคทัศน์แสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า "แรงกดดันที่แท้จริงไม่ได้อยู่ที่พม่า แต่อยู่ที่สมาชิกอาเซียนประเทศอื่นๆ พวกเขาจะจัดการกับพม่าอย่างไรก่อนจะตัดสินใจว่าจะให้ประเทศนี้สืบทอดตำแหน่งประธานอาเซียนต่อจากมาเลเซียในปี 2006" เขากล่าวในคอลัมน์ของนสพ.บางกอกโพสต์ประจำวันพุธ(ที่ 13)

นสพ.ของอินโดนีเซียได้กล่าววิจารณ์เมื่อวันอังคาร(ที่12)ว่าระบบปกครองทหารของพม่าไม่ควรได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำลายภาพของอาเซียนเพื่อดำรงระบบเผด็จการของตนต่อไป

"หากยังไม่ยอมลดละแม้จะเตือนดีๆแล้ว ก็ต้องใช้วาจาแข็งกร้าวกันบ้าง" บทวิจารณ์ในนสพ.จาการ์ต้าโพสต์กล่าว และว่า "หากพม่าต้องการจะดำรงภาวะคล้ายสงครามต่อไปก็ต้องทำไปตามเงื่อนไขนั้นโดยตัวเอง ไม่ควรทำให้ชื่อเสียงของอาเซียนด่างพร้อย หรือทำให้สัมพันธภาพของประเทศสมาชิกที่มีต่อมิตรประเทศเสียหาย"

ข้อถกเถียงเกี่ยวกับการขึ้นเป็นประธานอาเซียนของพม่าเริ่มเข้มข้นขึ้นมาหลายเดือนแล้ว ส่วนใหญ่มาจากสมาชิกสภาของมาเลเซีย,อินโดนีเซีย,ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ที่ต่างก็มีความเห็นในทำนองเดียวกัน

สมาชิกสภาผู้แทนฯและวุฒิสมาชิกต่างกดดันให้มีการปฏิรูปการเมืองในพม่า การปฏิรูปดังกล่าวรวมทั้งประเด็นเรื่องให้ปลดปล่อยตัวนางอองซาน ซูจีซึ่งยังถูกกักกันตัวอยู่

รัฐบาลต่างๆล้วนแสดงความเห็นใจต่อการรณรงค์ให้ปล่อยตัวนางที่เกิดขึ้นในระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศของอาเซียนที่เมืองเซบูของฟิลิปปินส์เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา
และหนึ่งในจำนวนนั้นรวมทั้งรัฐบาลฟิลิปินส์ของประธานาธิบดี กลอเรีย อาโรโย

"ผมเข้าใจว่าในบรรดารัฐมนตรีทั้งหมด,นายอัลเบอร์โต โรมูโล-รมว.ต่างประเทศฟิลิปปินส์ได้แสดงท่าที่ต่อต้านพม่าอย่างแข็งกร้าวที่สุด และเขาก็ควรจะทำเช่นนั้น" เบนิกโนระบุ

สิงคโปร์ซึ่งเข้าไปลงทุนในพม่าระดับแนวหน้าได้แสดงความไม่พอใจต่อเผด็จการพม่าในที่ประชุม อย่างไรก็ตาม,นายจอร์จ หยาว-รมว.ต่างประเทศ,พยายามวางตัวเป็นกลาง เขากล่าวว่าอาเซียนไม่ควรกดดันพม่าในเรื่องที่เป็นกิจการภายใน

"เรายืนยันว่าอาเซียนต้องไม่เข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของพม่า ที่จริง,ไม่ว่าขั้นตอนอะไรที่พม่าตัดสินใจทำ ประเทศพม่านั่นแหละที่ต้องรับผิดชอบผลที่ตามมา ไม่ว่าดีหรือร้าย" นายหยาวกล่าวดังที่ระบุไว้ในนสพ.เดอะ สเตรท ไทม์ของรัฐบาลสิงคโปร์

ส่วนลาว,เวียตนาม และกัมพูชา-สามประเทศคอมมิวนิสต์ของอาเซียน,แสดงท่าทีเช่นเดียวกับนายกรัฐมนตรีฮุน เซ็นที่ไม่เห็นด้วยกับการแทรกแซงกิจการภายในดังกล่าว หลักการนี้ได้รับการยึดถือมานานในสมาคมอาเซียน

แต่ประเทศทั้งสามก็คัดค้านย่างกุ้งที่จะขึ้นมาเป็นประธานอาเซียน ทั้งนี้ด้วยเหตุผลด้านการละเมิดสิทธิมนุษย์ชน

หลังจากรับฟังข้อวิจารณ์,อู ยานวิน-รมว.ต่างประเทศพม่า,แถลงกับผู้สื่อข่าวว่าย่างกุ้งจะตัดสินชะตากรรมทางการเมืองของตัวเอง "เนื่องจากเราเป็นประเทศเอกราช"

เขาใช้ที่ประชุมแสดงออกอย่างท้าทาย โดยยืนยันว่าย่างกุ้งไม่ใส่ใจต่อแรงกดดันจากรัฐบาลสหรัฐฯและสหภาพยุโรปที่ไม่ยอมให้พม่าขึ้นเป็นประธานอาเซียน

อาเซียนมีสมาชิก 10 ประเทศได้แก่ บรูไน,พม่า,กัมพูชา,อินโดนีเซีย,ลาว,มาเลเซีย,ฟิลิปปินส์,สิงคโปร์,ไทยและเวียตนาม ประธานของสมาคมเปลี่ยนแปลงทุกปี ตอนนี้ลาวเป็นประธาน ตามด้วยมาเลเซีย

สหรัฐฯและสหภาพยุโรปซึ่งร่วมกันแซงชั่นพม่า ขู่ว่าจะลดความสัมพันธ์กับอาเซียนถ้าพม่าขึ้นเป็นประธานในปี 2006 สิ่งนี้อาจกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก

แต่พม่ากลับแสดงท่าทีไม่รีบร้อนที่จะปฏิรูปการเมือง สิ่งที่เห็นชัดก็คือย่างกุ้งตัดสินใจสั่งให้ยุติการประชุมของสมัชชาแห่งชาติ-องค์กรที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นเพื่อการปฏิรูปการเมือง โดยอ้างเหตุผลในการสั่งยุติเมื่อต้นเดือนเมษายนว่าภูมิอากาศไม่อำนวย

การถกเถียงเรื่องความไม่เหมาะสมที่จะเป็นประธานอาเซียนของพม่าร้อนแรงขึ้นเนื่องจากรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนจะประชุมกันในลาวในเดือนกรกฏาคมข้างหน้า ตอนนั้นมาเลเซียจะเริ่มต้นเข้ารับตำแหน่งประธานอาเซียน

นสพ.จาการ์ต้าโพสต์กล่าวไว้ในบทวิจารณ์ว่าพม่าไม่อาจเพิกเฉยต่ออุณหภูมิทางการเมืองในภูมิภาคที่จะร้อนแรงขึ้น "อาเซียนควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงเหตุผลว่าคุ้มค่าหรือไม่ แต่อย่าให้คุณค่าแก่พม่ามากนัก!"

POLITICS: Burma Just Not Worth It, Scream South-east Asian Press
By Marwaan Macan-Markar

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท