Skip to main content
sharethis

จากทบบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา 57 ที่ว่า "สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับการคุ้มครอง" ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ กฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องบัญญัติให้มีองค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภคทำหน้าที่ให้ความเห็นในการตรากฎหมาย กฎ และข้อบังคับและ ให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค"

ซึ่งตลอดระยะเวลาเกือบ 8 ปีที่ผ่านมาไม่มีรัฐบาลใดให้ความสำคัญกับการออกกฎหมายลูกตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 57 โดยผลักด้น นโยบายต่าง ๆ ที่เอื้ออำนายให้กลุ่มทุนและธุรกิจมาโดยตลอด แต่ไม่เคยให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มผู้บริโภค และส่งเสริมกฎหมาย และนโยบายเพื่อการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค

โดยเฉพาะการจัดตั้งองค์การอิสระผู้บริโภคตามมาตรา 57 ซึ่งได้มีสส.ของพรรคไทยรักไทยเอง จำนวน 20 คนเสนอกฎหมายดังกล่าว หรือการจัดตั้งคณะอนุกรรมการ ของคณะกรรมธิการทั้งในส่วนของสส. แต่รัฐบาลก็ไม่เคยหยิบยกมาพิจารณาในขั้นตอนการออกกฎหมายแต่อย่างใด

แม้ตลอดในอดีตที่ผ่านมาจะมีกรณีปัญหาผู้บริโภคในทุกด้าน ทั้งปัญหาที่ต้องการแก้ไขตามระบบราชการ เช่น เรื่องบ้าน รถ สุขภาพ ฯลฯ ไปจนถึงปัญหาที่มาจากนโยบายของรัฐบาล เช่น การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เรื่องจีเอ็มโอ(GMOs) การเปิดเขตการค้าเสรีจนมีสินค้ามาตฐานต่ำที่ไม่ถูกต้องลอบเข้าสู่ผู้บริโภคภายในประเทศ ฯลฯ

จนกระทั่งเกิด "มาตรการเดือนเพ็ญทุบรถ" เป็นเหตุให้กรณีปัญหาผู้บริโภคขยายตัวฟ้องต่อสาธารณะ เป็นไฟลามทุ่ง จนยากที่จะเงียบหายไปในปัจจุบัน

และเมื่อถึงวาระการอภิปรายเปิดสมัยประชุมสภาเมื่อวันที่ 23-25 มีนาคม ที่ผ่านมา รัฐบาลกลับแถลงนดยบายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค และการจัดตั้งองค์การอิสระผู้บริโภคเป็นประเด็นสำคัญ และเป็นประเด็นสที่สร้างความรู้สึกร่วมให้กับหัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน และสส.ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลต่างเห็นดีเห็นงามกันทั้งสภา รวมทั้งในส่วนของภาคประชาชน ผู้บริโภค ผู้ได้รับความเดือนร้อนด้านสินค้า และบริการ รวมทั้งกลุ่มองค์กรผู้บริโภคโดยทั่วไป

อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค(สอบ.) และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคพบว่า การแถลงนโยบายของรัฐบาลมีวาระซ่อนเร้น เนื่องจากากระประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2548 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นรัฐบาลรักษาการ ได้มีมติครม. รับหลักการ เรื่องที่ 33 ว่าด้วย ร่างพรบ. คุ้มครองผู้บริโภค(ฉบับที่...) พ.ศ. ...

ซึ่งสาระสำคัญของการรับหลักการของร่างพรบ.ดังกล่าวนั้น ส่อเจตนาบิดเบือนรัฐธรรมนูญมาตรา 57 อย่างชัดเจนหลายประการ เช่น

- รัฐธรรมนูญมาตรา 57 บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรว่า "ให้มีการจัดตั้งองค์การอิสระผู้บริโภค" แต่มติครม. "กลับระบุว่าไม่ให้มีการจัดตั้งองค์การอิสระผู้บริโภค"
- รัฐธรรมนูญมาตรา 57 บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรว่า "ทำหน้าที่ให้ความเห็นในการตรากฎหมาย กฎ และข้อบังคับ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค" ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้แทนผู้บริโภคสามารถเสนอมาตรการเพื่อการคุ้มครองได้โดยตรง
-
สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค(สอบ.) และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค จึงได้จัดประชุมมีมติร่วมกันว่า มติครม. เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2548 เรื่องที่ 33 เป็นมติครม.อัปยศ และบิดเบือนรัฐธรรมนูญมาตรา 57 โดยสิ้นเชิง จึงของเรียกร้อง ดังต่อไปนี้

1. ให้ยกเลิกมติครม.ดังกล่าว เพราะบิดเบือนรัฐธรรมนูญ และเป็นการทำลายกระบวนการสร้างความเข้มแข็ง การมีส่วนร่วม และการแก้ปัญหาของผู้บริโภค

2. การตรากฎหมายองค์การอิสระผู้บริโภค รัฐธรรมนูญมาตรา 57 มีหัวใจสำคัญ 3 ประการที่บัญญัติไว้ชัดเจนในรัฐธรรมนูญ รัฐบาลจะละเลย หรือบิดพลิ้วไม่ได้ คือ
2.1 ต้องมีการจัดตั้งองค์การอิสระผู้บริโภค
2.2 องค์การอิสระผู้บริโภคต้องประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภคอย่างแท้จริง
2.3 องค์การอิสระผู้บริโภคต้องทำหน้าที่ให้ความเห็นต่อกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ และมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค

3. สำนักงานองค์การอิสระผู้บริโภคต้องไม่ขึ้นกับหน่วยงานรัฐใด ๆ แม้แต่สคบ. เนื่องจากมีแนวโน้มมาโดยตลอดว่า รัฐบาลต้องการให้สคบ. ไปอยู่กับกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งองค์การอิสระผู้บริโภค จะไปอยู่กระทรวงพาณิชย์ไม่ได้ เพราะการให้ความเห็นกับนโยบาย กฎหมายทุกฉบับที่เกี่ยวกับผู้บริโภค ครอบคลุมทุกกระทรวง และทุกด้าน รวมทั้งปัญหาผู้บริโภคที่เกิดจากการละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่หรือละเมิดโดยหน่วยงานของรัฐ

4. สำนักงานของคณะกรรมองค์การอิสระผู้บริโภคต้องเป็นอิสระ เป็นสำนักงานขององค์การอิสระที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาใหม่พร้อมกับองค์การอิสระผู้บริโภค

5. การทำหน้าที่ขององค์การอิสระผู้บริโภค ต้องเป็นอิสระจากผลประโยชน์ทับซ้อน ปราศจากการแทรกแซงจาก ภาคการเมือง ภาคธุรกิจ และภาคราชการ เพราะทั้ง 3 ส่วนนี้เป็นส่วนที่องค์การอิสระผู้บริโภคจะมาให้ความเห็น
5.1 การทำหน้าที่ขององค์การอิสระผู้บริโภค ต้องเป็นไปเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างแท้จริง และมีกระบวนการเชื่อมโยงกลับกลุ่ม องค์กรผู้บริโภค ภาคประชาสังคมที่ทำงาน เช่น มีกระบวนการรับฟังความเห็นผู้บริโภค ก่อนที่องค์การอิสระผู้บริโภคจะให้ความเห็นกับหน่วยงานหรือรัฐบาล
5.2 การทำงานขององค์การอิสระผู้บริโภค ต้องไม่เป็นไปเพียงเพื่อตอบสนองนโยบายของหน่วยงานราชการ ธุรกิจ และภาคการเมือง แต่ต้องเป็นไปเพื่อเป็นองค์กรถ่วงดุล และติดตามตรวจสอบ 3 ส่วนดังกล่าว เพื่อสร้างความเป็นธรรมและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค

6. การได้มาขององค์การอิสระผู้บริโภค ต้องมีกระบวนการสรรหา เพื่อให้ได้มาซึ่งตัวแทนผู้บริโภคที่แท้จริง และเป็นผู้ที่มีระยะห่างจากภาคการเมือง ภาคธุรกิจ และภาคราชการ.

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net