Skip to main content
sharethis

กรณีโรงไฟฟ้าลำตะคอง ปัญหาเกิดในช่วงก่อสร้าง การระเบิดยอดเขาเพื่อทำอ่างเก็บน้ำสำหรับโรงไฟฟ้าลำตะคอง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน จำนวน 2 หมู่บ้าน ซึ่งมีประชากรประมาณร้อยกว่าคน เจ็บป่วยและบางส่วนเสียชีวิตจากโรคระบบทางเดินหายใจจากการระเบิดเขา

ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบเรียกร้องให้ กฟผ. แก้ปัญหาโดยดำเนินการตามมติของคณะทำงานซึ่งดำเนินการโดยนายปองพล อดิเรกสาร รองนายกรัฐมนตรี ให้มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาผลกระทบจากการดำเนินโครงการทั้งหมด 2 คณะ แต่ก็ไม่มีความคืบหน้ากระทั่งปัจจุบัน

คณะอนุกรรมการฯ ได้ประสานงานและจัดให้มีการหารือร่วมกันระหว่าง คระอนุกรรมการเพื่อศึกษาและตรวจสอบกรณีปัญหาเหมืองแร่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รวมทั้งผู้แทน กฟผ. เมื่อวันพุธที่11 ก.พ. 2547

โดยที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่า ให้กระทรวงพลังงานและ กฟผ. ดำเนินการเจรจากับผู้ได้รับผลกระทบจากกรณีโรงไฟฟ้าลำตะคอง โดยไม่ต้องตั้งคณะกรรมการศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพ เนื่องจากผู้ได้รับผลกระทบร้องเรียนมาตั้งแต่ 7 ปีที่แล้ว แต่ก็ไม่ได้รับการพิสูจน์ความเสียหายเลยตลอดระยะเวลา 7 ปีเพราะไม่มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาผลกระทบจากการดำเนินโครงการทั้งหมด 2 คณะ ตามมติคณะทำงานชุดนายปองพล อดิเรกสารแต่อย่างใด ดังนั้น การจะย้อนไปพิสูจน์ความเสียหายอีก เป็นไปได้ยากลำบาก

ต่อมา คระอนุกรรมการฯ ได้จัดเวทีเจรจาขึ้นในวันที่ 31 มกราคม 2548 โดยเชิญผู้แทนผู้ว่าการ กฟผ. ผู้แทนคระกรรมการกฟผ. และผู้ได้รับผลกระทบ โดยที่ประชุมได้ตกลงว่า ให้กฟผ. จ่ายค่าชดเชยให้กับผู้ได้รับผลกระทบ โดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าความเสียหายเกิดขึ้นจากใคร และให้แต่ละฝ่ายกลับไปทำรายละเอียดในการจ่ายค่าชดเชย และกลับมาประชุมอีกครั้งในวันที่ 4 มีนาคม 2548

ปรากฏว่า ในวันที่ 4 มีนาคม 2548 ผู้แทน กฟผ. ชี้แจงว่า ที่ประชุมฝ่ายบริหารของ กฟผ. มีมติไม่จ่ายค่าชดเชยให้กับผู้ได้รับผลกระทบ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net