มะกันแถลงผลการละเมิดสิทธิมนุษยชนทักษิณ1

ประชาไท - 1 มี.ค. กระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา เปิดเผยรายงานรวบรวมสถานการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนไทยภายใต้รัฐบาลทักษิณ1 ย้ำความทรงจำการละมิดสิทธิในประเทศไทยมีเกือบทุกรูปแบบ

โดยการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามรายงานฉบับนี้หมายรวมทั้งการละมิดสิทธิมนุษยชนโดยรัฐ และการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเอกชนซึ่งรัฐไม่สามารถให้ความคุ้มครองได้ รายงานดังกล่าวได้จำแนกรายละเอียดการละเมิดสิทธิมนุษยชนออกเป็น 5 หมวดได้แก่

หมวดที่ 1 การเคารพบูรณภาพแห่งบุคคล อันรวมถึงการปลอดจาก การสังหารตามอำเภอใจหรือการสังหารที่ผิดกฎหมาย, การหายสาบสูญ, การทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษด้วยวิธีการที่โหดเหี้ยม ไร้มนุษยธรรม หรือทำลายศักดิ์ศรีอื่นๆ, การจับกุม การกักกัน หรือการเนรเทศตามอำเภอใจ, การปฏิเสธการพิจารณาคดีอย่างเปิดเผยและเป็นธรรม, การล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ครอบครัว บ้าน หรือเอกสารโต้ตอบโดยพลการ

หมวดที่ 2 การเคารพสิทธิเสรีภาพของพลเมือง อันประกอบด้วย เสรีภาพในการพูดและเสรีภาพของสื่อมวลชน,
เสรีภาพในการชุมนุมกันอย่างสงบและการจัดตั้งสมาคม, เสรีภาพในการนับถือศาสนา, เสรีภาพในการเดินทางภายในประเทศ การเดินทางไปต่างประเทศ การย้ายถิ่นฐาน และการส่งกลับประเทศ

หมวดที่ 3 การเคารพสิทธิทางการเมือง: สิทธิของประชาชนในการเปลี่ยนแปลง รัฐบาล

หมวดที่ 4 ทัศนะของรัฐบาลเกี่ยวกับการสืบสวนโดยองค์กรระหว่างประเทศและ องค์กรเอกชนในประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

หมวดที่ 5 การเลือกปฏิบัติ การกระทำโดยมิชอบในสังคมและการค้ามนุษย์ รวมถึงการละเมิดต่อสตรี เด็ก
การใช้แรงงานเด็กยังคงเป็นปัญหาอยู่, การค้ามนุษย์, ชนกลุ่มน้อยทางสัญชาติ/เชื้อชาติ/ชาติพันธุ์, คนพื้นเมือง
และการประพฤติโดยมิชอบและการเลือกปฏิบัติทางสังคมอื่นๆ

หมวดที่ 6 สิทธิของคนงาน ได้แก่ สิทธิในการตั้งสมาคม, สิทธิในการจัดตั้งองค์กรและการร่วมเจรจาต่อรองระหว่างนายจ้างกับสหภาพแรงงาน, การห้ามการบังคับใช้แรงงาน, การใช้แรงงานเด็ก

จากเนื้อหารายงานดังกล่าวระบุว่า ประเทศไทยมีกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนครบทุกหมวด โดยรายงานฉบับนี้ได้ยกกรณีตัวอย่างของหมวดต่าง ๆ ประกอบด้วย ซึ่งหลาย ๆ กรณีเป็นคดีและเป็นข่าวที่ปรากฏครึกโครมเช่น กรณีซ้อมผู้ต้องหาบนโรงพักในจังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การหายตัวของทนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความของผู้ต้องหาคดีเจไอ กรณีตากใบ กรณีกรือเซะ การเซนเซอร์ตัวเองของสื่อหนังสือพิมพ์ และกรณีบริษัทชินคอร์ปฯ ฟ้องร้อง น.ส. สุภิญญา กลางณรงค์ เป็นต้น

ทั้งนี้ ตามข้อมูลจากรายงาน หลาย ๆ กรณีเงียบหายไปจากความรับรู้ของสังคมไทย และบางกรณีผู้ต้องหาในคดีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่ได้รับผิดตามกฎหมาย

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท