Skip to main content
sharethis

การ์เดียน- 18 ม.ค.48 นาย เดวิด เบลล์ ประธานองค์กรเฝ้าระวังทางการศึกษาของรัฐ ออกมาโต้ตอบหัวหน้ากลุ่มมุสลิมในประเทศอังกฤษ ว่า การเติบโตของโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม ท้าทายต่อความความสัมพันธ์ในสังคมอังกฤษ

คำแถลงดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังจากผู้แทนชาวมุสลิมอาวุโสออกมาวิพากษ์วิจารณ์ในหัวข้อ "ความไม่รับผิดชอบ และ ความเสื่อมเสีย" โดยนายเดวิด เบลล์ ก็ออกมาโต้กลับว่า วัฒนธรรมการ ศึกษาของชาวมุสลิม ไม่สามารถทำให้เด็กชาวมุสลิมสามรถใช้ชีวิตในยุคสมัยใหม่ในประเทศอังกฤษได้

"ถึงแม้ว่าความหลากหลาย และการยอมรับในความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม คือความแข็ง แกร่งในสังคม แต่มันก็สามารถที่จะบ่อนทำลายความสัมพันธ์ในชาติได้ ถ้าหากว่ามันสุดโต่งจนเกินไป" นายเดวิด เบล์กล่าว

นายเบลล์ เคยกล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับความเป็นพลเมืองต่อรัฐสภาอังกฤษ โดยชี้ให้เห็นถึงการที่เด็กและเยาวชนกำหนด "อัตลักษณ์แห่งชาติ" ผ่านการสอนในโรงเรียนได้อย่างไร เขาชี้ให้เห็นว่ามีโรงเรียนสอนศาสนาอิสระต่างๆ ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียนสอนศาสนามุสลิม 100 โรงเรียน โรงเรียนสอนศาสนายิว 50 โรงเรียน และโรงเรียนสอนศาสนาคริสต์ อีก 100 โรงเรียน

ทั้งนี้นายเบลล์ ได้กล่าวไว้ว่า "ความศรัทธามีได้ แต่ไม่ควรศรัทธามากไปจนกลายเป็นคนตาบอด " เขาห่วงใยว่าบรรดาเด็กและเยาวชน ซึ่งได้รับการศึกษาในโรงเรียนสอนศาสนา อาจจะมีความสำนึก รับผิดชอบ ความเป็นพลเมืองอังกฤษลดน้อยลง

นายเบลล์กล่าวต่อไปว่า การเติบโตของโรงเรียนสอนศาสนาต่างๆ นั้น ควรจัดตั้งขึ้นด้วยความระมัดระวังและได้รับการดูแลจากรัฐบาล เพื่อที่จะได้แน่ใจว่า โรงเรียนสอนศาสนาเหล่านั้นได้สอนความเข้าใจอย่างถูกต้อง ไม่เพียงแค่ความศรัทธาตามสาสนาของตน แต่ยังต้องคำนึงถึงความถูกต้องตามหลักศาสนาอื่นๆด้วย และหลักความเชื่อในสังคมอังกฤษ เราไม่ควรปล่อยให้ความหลากหลายมาเป็นตัวทำลายความสัมพันธ์ในชาติ

กฎเกณฑ์ของการตั้งโรงเรียนสอนศาสนาเดี่ยวในระบบการศึกษาอังกฤษ เป็นส่งที่โต้เถียงกันมานานแล้ว โดยในปีก่อนมีการนำเสนอรายงานจากกลุ่มมุสลิมวิชาการและนักวิชาการด้านการ ศึกษาเพื่อผลักดันให้โรงเรียนสอนศาสนามุสลิมบางโรงเรียนเข้ามาสู่ในระบบของทางการ เพราะการที่โรงเรียนมุสลิมเข้ามาสู่ระบบของทางการแล้ว มันจะเป็นการดีเพื่อป้องกันข้อกล่าวหาว่าโรงเรียนเหล่านี้ เป็นโรงเรียนที่สอนให้เกิดลัทธิเชื้อชาตินิยม

ในสุนทรพจน์ของนายเบลล์ยังกล่าวไว้อีกด้วยว่า วัฒนธรรมการศึกษาของมุสลิมไม่เอื้ออำนวยให้เด็กนักเรียนชาวมุสลิมสามารถใช้ชีวิตในสังคมสมัยใหม่ของอังกฤษ เขายังเตือนว่าความหลาก หลายไม่ควรจะถูกนำมาใช้อธิบายเพื่อสร้างความแตกแยก หรือการแบ่งแยกเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์

มุสลิมโต้กลับ

ทางด้านมุสลิมในอังกฤษเองก็มีความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ โดย ดร. โมฮัมเม็ด มูคาดาม ( Dr. Mohamed Mukadam) ประธานสมาคมโรงเรียนมุสลิม กล่าวว่า นายเบลล์ เป็นโรคกลัวมุสลิม และท้าทายนายเบลล์ให้เปิดประเด็นโต้เถียงเรื่องนี้ในเวทีสาธารณะ ดร. โมฮัมเม็ด มูคาดาม ยังเป็นหัวหน้าสถาบันมุสลิมของเมือง Leicester ซึ่งมีนักเรียนมากกว่า 700 คน มีอายุตั้งแต่ 5 - 16 ปี

เขากล่าวต่อว่า "ผมรู้สึกประหลาดใจกับความคิดเห็นของนายเบลล์มาก และผมอยากให้นายเบลล์เข้าใจว่าระบบการศึกษาของโรงเรียนมุสลิม ไม่ได้เป็นการเตรียมตัวให้เด็กเพื่อใช้ชีวิตในสังคมอังกฤษ มันเป็นเความคิดที่ผิด

นอกจากนี้ ดร. โมอัมเม็ด นาซีม ประธานสุเหร่ากลางแห่งเมืองเบอร์มิงแฮม กล่าวว่า "โรงเรียนสอนศาสนามุสลิม ไม่ได้ทำร้ายความสัมพันธ์ในสังคม หรือแม้กระทั่งโรงเรียนสอนศาสนายิว หรือศาสนาคริสต์ก็ตาม ทำไมเขาถึงต้องยกโรงเรียนมุสลิมขึ้นมาเป็นประเด็นก็ไม่สามารถเข้าใจได้ ทำไมการสอนให้เด็กๆ มีความศรัทธาในศาสนา ไม่ใช่เรื่องที่จะบ่อนทำลายความสัมพันธ์ในสังคม มันเป็นเรื่องที่น่าเศร้าทากที่เขาพูดออกมาเช่นนั้น

เรียบเรียงจาก the guardian 18 มกราคม 2005

ประชาไทรายงาน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net