Skip to main content
sharethis
Event Date
เนื่องด้วย สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.) เป็นองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน จะมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการอำนวยความยุติธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้” ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2557 ตั้งแต่เวลา 09.45 – 16. 30 น. ห้องประชุม VIP มูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย ซอยรามคำแหง 2 ถนนรามคำแหง กรุงเทพมหนคร โดยผ่านกรณีศึกษาคดีโทษประหารชีวิต 4 กรณี ที่เป็นคดีที่ศาลมีคำพิพากษากระทำผิด และลงโทษประหารชีวิต ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการบังคับใช้กฎอัยการศึกและการดำเนินการเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม จึงจำเป็นต้องมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้อง ได้มีการระดมความเห็นประเด็นทางกฎหมาย การปฏิบัติหน้าที่ ที่ชอบด้วยความถูกต้องและเป็นธรรม เพื่อสะท้อนให้เห็นข้อจำกัดในด้านต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความยุติธรรมที่แท้จริง 
 
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.) 
10 มีนาคม 2557
 
โครงการศึกษา โทษประหารชีวิตในจังหวัดชายแดนภาคใต้
 
ความเป็นมาของโครงการ
 
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.) ทำงานส่งเสริมการยกเลิกโทษประหารชีวิตในประเทศไทยมากว่า 7 ปี แล้ว และการทำงานของเราเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้ประเด็นดังกล่าว ถูกบรรจุไว้ในแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ปี 2009-2013 ถึงเวลาที่จะต้องเน้นการทำงานเรื่องการล๊อบบี้รัฐบาลและสนับสนุนให้รัฐบาลริเริ่มดำเนินการตามแผนดังกล่าวต่อไปในแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในฉบับที่ 3 ต่อไป จากการพูดคุย หน่วยงานที่จะรับผิดชอบแผนดังกล่าว คือ กระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ริเริ่มการสำรวจความเห็นประชาชนและให้ความรู้เกี่ยวกับโทษประหารชีวิตไปพร้อม ๆ กัน ในปี 2014 นี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วน การริเริ่มและกิจกรรมการต่างๆ ที่ ที่ประเทศไทยจะเตรียมความพร้อมไปสู่การยุติการประหารชีวิตในประเทศเป็นการถาวร โดยเรามีข้อเสนอให้เปลี่ยนการลงโทษมาเป็นการจำคุกแทน ซึ่งจะเป็นการให้โอกาสกับผู้กระทำความผิดได้สำนึกในสิ่งที่กระทำลงไป และพร้อมจะกลับสู่สังคมที่เป็นคนที่มีคุณภาพของสังคมได้ แต่ปัญหาสำคัญที่ยังไม่ได้รับการสนใจ เช่น สภาพเรือนจำของผู้ต้องขังที่ต้องถูกจำคุกเวลานาน จะต้องมีมาตรฐานสำหรับมนุษย์เท่านั้น เป็นต้น
 
สถานการณ์ใน ปี 2012 เป็นปีที่วิกฤต เพราะมีความพยายามต้องการคงโทษประหารชีวิตและกระทั่งให้มีการบังคับใช้ให้มากขึ้นด้วย โดยเร่งกระบวนการทางกฎหมาย และลดปริมาณยาเสพติดที่จะต้องโทษประหารชีวิต เพื่อต่อต้านนโยบายดังกล่าว เราได้เพิ่มเติมกิจกรรมของรัฐบาล เราได้เตรียมให้มีการยกเลิกโทษประหาร แต่การก็ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขเรื่องของอำนาจของแต่ละหน่วยงาน ระดับกรม ของรัฐ ทำงานแยกส่วนกัน ซึ่งทำให้มีการยืดหยุ่นน้อย
 
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย คงอยู่โดยฝ่ายอนุรักษ์นิยม และกลุ่มที่ถูกกดดันจากฝ่ายดังกล่าว ซึ่งจะหายไปได้หากมีการตกลงร่วมกัน ยอมรับร่วมกัน เราจึงต้องมีการรวบรวมข้อมูล การศึกษา วิจัย กรณีศึกษา เพื่อให้แน่ใจว่าในสภาจะได้มีการถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศที่มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตส่วนใหญ่ ยอมรับว่าการกล่าวหาผู้บริสุทธิ์เนื่องจากกระบวนยุติธรรมที่ผิดพลาดเป็นข้ออ้างที่มีน้ำหนักมากที่สุดในการยกเลิกโทษประหารชีวิต ในปี 2007 สสส.ได้รับงบสนับสนุนจากสถานทูตอังกฤษ ให้ศึกษาคดีที่ตัดสินลงโทษประหาร 4 คดี ผลจากการศึกษาพบว่ากระบวนการยุติธรรมในคดีดังกล่าวไม่ได้รับ ซึ่งตามมาด้วยการสังเกตการณ์คดีที่มีโทษประหารก็ยิ่งยืนยันข้อสังเกตุดังกล่าวข้างต้น แม้กระทั่งเทคนิคพื้นฐาน เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ ก็ไม่ใช่ได้มาจากตำรวจ คนที่เสนอภาพถ่ายเป็นพยานหลักฐานว่าพบผงสีขาวในรถที่ผู้ต้องสงสัยได้เช่ามา ซึ่งได้มาระหว่างที่มีการเก็บหลักฐานที่เปิดและไม่มีการรักษาที่เกิดเหตุ ในชั้นสอบสวน เป็นต้น
 
ในการศึกษากระบวนการกฎหมาย อีก 4 คดี ซึ่งเป็นกรณีศึกษาที่เป็นคดีที่ศาลมีคำพิพากษากระทำผิด และลงโทษประหารชีวิตในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการบังคับใช้กฎอัยการศึกและการดำเนินการเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมชอบด้วยความถูกต้องและเป็นธรรม เมื่อ 2 ปีก่อน เราทราบว่ามี 9 คดี ที่เรือนจำบางขวาง ที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก เราได้พบญาติผู้ต้องขังและช่วยเค้าให้ได้เยี่ยมประจำปี ซึ่งได้รับงบสนับสนุนจาก ICRC ญาติได้พบสามี/ลูก/พี่ชาย รายงานล่าสุดมีของผู้แจ้งเองว่า จำนวนผู้ต้องขังมุสลิมที่มาจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประมาณ 40 คน ซึ่งทำให้เห็นว่าผู้ต้องขังโทษประหารส่วนใหญ่มาจาก สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้ต้องขังมุสลิมจะต้องอยู่ในห้องขังใหญ่ 1 ห้อง และที่ล้นออกมาอยู่ในห้องขังเล็ก ในอาคาร 5 เรือนจำบางขวาง เราเชื่อว่าจะได้รับความร่วมมือจากศูนย์ทนายความมุสลิมภาคใต้ในการศึกษาเบื้องหลัง/ที่มาของคดีที่เราเลือก ซึ่งหากไม่ได้รับการร่วมมือ/ช่วยเหลือจากทนายแล้ว เราคงไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้
 
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
 
เพื่อทำการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทางกฎหมาย โดยการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่นทนาย ตำรวจ ผู้พิพากษา เหยื่อ ฯลฯ และจะส่งกรณีศึกษาให้ทนายไทยพิจารณาให้ความเห็น และทนายความในต่างประเทศที่เราเลือกมาให้ความเห็นว่าต่อกระบวนการทางกฎหมายเป็นไปตามมาตรฐาน หรือไม่ ผลของการดำเนินการตามโครงการนี้จะพิมพ์เป็นไทย ภาษาอังกฤษ และแจกให้สมาชิกในสภา ผู้บริหารอาวุโสหน่วยงานรัฐ ฝ่ายวิชาการ สื่อมวลชน และประชาชนที่สนใจ ซึ่งฉบับอังกฤษของการศึกษาที่ผ่านมา สสส. ได้เผยแพร่ในปี 2007 ที่ สภายกเลิกโทษประหารโลก ฝรั่งเศส และเราจะนำรายงานนี้นำเสนอต่อสภายกเลิกโทษประหารโลก ที่แมดริด ปีนี้
 
จากวัตถุประสงค์ของโครงการดังกล่าว เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการยกเลิกโทษประหาร โครงการก็จะส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจเรื่องสภาพของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งอยู่ภายใต้กลุ่มก่อความไม่สงบ ซึ่งทำให้เกิดการสนใจประเด็นเรื่องกระบวนการกฎหมายว่าที่นำไปสู่โทษประหารชีวิต หรือการลงโทษหนักด้วยหรือไม่
 
กรอบการศึกษาและระยะเวลาการศึกษา (ตุลาคม 2013 – มีนาคม 2014)
จะเริ่มจากการวางแผนและปรึกษา ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับศูนย์ทนายมุสลิม เยี่ยมนักโทษในเรือนจำบางขวาง บางส่วนของโครงการจะร่วมกับอินเทร์นจาก Reprieve ออสเตรเลีย ซึ่งจบ กม.ซึ่งจะกำหนดตัวชีวัดทางกฎหมายในการศึกษาครั้งนี้ โดย สสส. มีการกำหนดตัวชี้วัดแล้วตั้งแต่ จาก 14 ม.ค.-22 ก.พ.57 และได้ทำประเด็นคำถามที่จะสัมภาษณ์และได้ลองสัมภาษณ์นักโทษที่บางขวาง 2 คน และคาดหวังว่าจะช่วยงานขั้นอื่น ๆ ของโครงการนี้ต่อไป 
 
1. สัมภาษณ์ใน จชต. และเลือก 4 กรณีศึกษา 
2. สัมภาษณ์นักโทษ ทนาย,ความ ญาติผู้ต้องขัง และเหยื่อ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง 
3. ยกร่างกรอบการเขียนรายงานเบื้องต้น
4. สัมภาษณ์เพิ่มเติมใน จชต. และระบุปริมาณของกฎหมายใน กทม. 
5. ยกร่างรายงาน ส่งรายงานให้ทนายให้ความเห็น ทั้งในและต่างประเทศ 
6. จัด Focus group หน่วยงาน/ผู้เกี่ยวข้อง กระบวนการยุติธรรม 
7. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ และพิมพ์ หนังสือภาษาอังกฤษ
8. จัดพิมพ์ภาษาไทย 
 
ผู้รับผิดชอบโครงการ สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.) ร่วมกัน ศูนย์ทนายความมุสลิม
สนับสนุนโดย สถานทูตสวิตเซอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย
 
 
กำหนดการ
“ โทษประหารชีวิตและความยุติธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้” 
วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2557 เวลา 09.45-16.30 น. ณ ห้องประชุม VIP มูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย
จัดโดย สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.)และศูนย์ทนายความมุสลิม 
สนับสนุนโดย สถานทูตสวิสเซอร์แลนด์ประจำประเทศไทย
 
09.45 - 10.00 น. ลงทะเบียน 
10.00 - 10.15 น. ชี้แจงความเป็นมาของโครงการ
ดร.แดนทอง บรีน ประธานที่ปรึกษาสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.)
หัวหน้าโครงการรณรงค์ยกเลิกโทษประหารชีวิตประเทศไทย 
10.15 – 10.45 น. กล่าวเปิดการประชุม
โดย นางคริสทีเนอ ชราเนอร์ บูร์เกเนอร์เอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย
10.30 - 11.30 น. บรรยายพิเศษ “หน้าที่ของทนายในการทำคดีที่มีโทษประหารชีวิต” 
โดย M Ravi ทนายความและผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน จากประเทศสิงคโปร์ 
11.30 -12.00 น. แลกเปลี่ยนซักถาม
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 
13.00 – 13.30 น. สถานการณ์การบังคับใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยทนายสิทธิพงษ์ จันทรวิโรจน์ ประธานศูนย์ทนายความมุสลิม
13.30-15.30 น. นำเสนอกรณีศึกษาคดีโทษประหารชีวิต 4 กรณี ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
โดย ทนายอนุกูล อาแวปูเตะ ศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดปัตตานี
ทนายอูเซ็ง ดอเล๊าะ ศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดนราธิวาส
ทนายนายกมลศักด์ ลีวาเมาะ
15.30 -16.00 น แสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนซักถาม 
16.30 สรุป/ปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ 
 
นายจตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร ประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.) 
หมายเหตุ – ทานอาหารว่างระหว่างการประชุม เวลา 10.00 น และเวลา 15.00 น. 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net