Skip to main content
sharethis
Event Date
สถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับ องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ขอเชิญร่วมฟังการเสวนาและชมภาพยนตร์
เรื่อง "พระเจ้าช้างเผือก" ผลงานสร้างโดย ปรีดี พนมยงค์
วันอาทิตย์ที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๖
ณ หอประชุมพูนศุข พนมยงค์ สถาบันปรีดี พนมยงค์
กำหนดการ
 
- เวลา ๑๓.๐๐ น. นักศึกษาและผู้สนใจเยี่ยมชมห้องแห่งแรงบันดาลใจ... ปรีดี พนมยงค์ / 
ชมวิดีทัศน์ละครหุ่นเสรีไทยเพื่อสันติภาพ / สัมภาษณ์ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์
- เริ่มเสวนาเวลา ๑๕.๐๐ น. (โดยประมาณ) 
วิทยากร สันติสุข โสภณสิริ กรรมการมูลนิธิ/กรรมการสถาบันปรีดี พนมยงค์
สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย ผู้จัดการสถาบันปรีดี พนมยงค์
ดำเนินรายการโดย : ตัวแทนองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
- ต่อด้วยชมภาพยนตร์เรื่องพระเจ้าช้างเผือก
 
 
*** สำรองที่นั่งได้ที่ 
www.facebook.com/thammasatsu
www.facebook.com/sinsawat.yodbangtoey
หรือที่กล่องข้อความเฟซบุค Pridi Banomyong Inst 
ได้ทั้งสามช่องทาง
 
 
๖๐ ปี พระเจ้าช้างเผือก* 
โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
 
...ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ ได้นำภาพยนตร์เรื่อง The King of the White Elephant ออกฉายรอบปฐมฤกษ์เมื่อ ๔ เมษายน ๒๔๘๔ ในแจ้งความโฆษณาของ “ปรีดีภาพยนตร์” กล่าวว่า “พระเจ้าช้างเผือก สิ้นเวลาสร้าง ๒ ปีเศษ ท่ามกลางฉากธรรมชาติเมืองแพร่ ด้วยเงินทุนหลายแสนบาท” กำหนดฉาย “รอบธรรมดา-ค่าดูธรรมดา” วันที่ ๑๐-๑๖ เมษายน ๒๔๘๔ ที่ศาลาเฉลิมกรุง และยัง “เสด็จที่ศาลาเฉลิมบุรี” เมื่อ ๑-๕ พฤษภาคม อีกด้วย
 
 
มีโฆษณาในหนังสือ ประชาชาติฉบับพิเศษ ฉลองขึ้นรอบปีที่ ๙ (๓ ตุลาคม ๒๔๘๓) ว่า พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร ทรงแปลงานเขียนของ ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ จากภาษาอังกฤษเป็นไทย และในภาพยนตร์สาร ฉบับวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๔๘๔ ก็มีการแปลเค้าโครงเรื่องโดย จรัญ วุธาทิตย์ ลงพิมพ์เช่นกัน พร้อมกับรายงานข่าวว่า พระเจ้าช้างเผือก จะฉายรอบปฐมฤกษ์วันที่ ๔ เมษายน ๒๔๘๔ ที่นิวยอร์ก สิงคโปร์ พร้อม ๆ กับศาลาเฉลิมกรุง
 
นอกจากนี้ยังมีข้อความอีกว่า “ผู้แต่งเรื่องได้เตรียมการแต่งเรื่องไว้ตั้งแต่ ๒-๓ ปี โดยมีความประสงค์ที่จะส่งเรื่องไปประกวดรางวัลสันติภาพ เพื่อรางวัลโนเบิล (Noble Prize For Peace) รางวัลชนิดนี้รัฐบุรุษยุโรปหรืออเมริกาเป็นผู้ได้รับเป็นส่วนมาก เช่น ท่านวู้ดโร วิลสัน ท่านแชมเบอร์เลน...ท่านเคลลอก แต่ในทางตะวันออกไกล นี้ยังหามีผู้ใดได้รับไม่” พระเจ้าช้างเผือก เป็นผลงานที่ระดมบุคลากรในวงการภาพยนตร์ของไทย มารวมกันอย่างคับคั่ง เค้าโครงเรื่องนั้นเขียนโดย ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ เป็นภาษาอังกฤษดังปรากฏใน “คำนำ” หนังสือว่าเขียนเสร็จเมื่อ ๑๑ พฤษภาคม ๒๔๘๓ และจัดพิมพ์โดยโรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง เมื่อ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๔ ดังนั้น การถ่ายทำก็น่าจะอยู่ในปี ๒๔๘๓ นั่นเอง โดยมี สัณห์ วสุธาร กำกับการแสดง หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ และใจ สุวรรณทัต ร่วมกำกับการแสดง มีพระเจนดุริยางค์ กำกับดนตรี ชาญ บุนนาค อัดเสียง และ แดง คุณะดิลก ทำบทและเจรจาที่สำคัญคือมีช่างถ่ายภาพฝีมือเยี่ยม ประสาท สุขุม ซึ่งถ่ายทำฉาก “ช้าง” มโหฬารที่ป่าแดง จังหวัดแพร่ วงศ์ แสนศิริพันธ์ อดีตผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ เป็นผู้กำกับการโขลงช้าง ดังข้อความโฆษณาที่ว่า Chang At War ! – It’s Greatest Thrill on Earth - Wonders Never Before Beheld By Men - The First Thai Screen Spectacle With All-English Dialogue – It Took 2 Years To Bring You This Taggering Romance of the Rising Ayodayans ! Actual Scenes of Elephants at War ! Hair – Raising Jungle Adventures of Ayodayans for Liberty ! ...
 
*ภาพยนตร์เรื่อง พระเจ้าช้างเผือก ครบรอบ ๖๐ ปี เมื่อวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๔ ที่ พระเจ้าช้างเผือก เสด็จลงโรงที่ศาลาเฉลิมกรุง ถึง ๔ เมษายน ๒๔๘๔ 
 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net