Skip to main content
sharethis
Event Date

การประชุมนานาชาติ ครั้งที่ 1 เรื่อง “ไทใหญ่ศึกษา” ระหว่างวันเสาร์ ที่ 29 – วันอาทิตย์ ที่ 30 มิถุนายน 2556 ณ จังหวัดแม่ฮ่องสอนโดยศูนย์ไทใหญ่ศึกษา วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน และศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ปัจจุบันประชากรไทใหญ่ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่ของประเทศต่างๆ ได้แก่ ประเทศจีน รัฐฉานของประเทศพม่า โดยในประเทศพม่าแถบรัฐฉานมีชุมชนไทใหญ่ประมาณ 3 หรือ 4 ล้านคน ตามเมืองต่างๆ เช่น เมืองนาย,เมืองแสนหวี, เมืองตองยี และเมืองสีป้อ ฯลฯ ชุมชนไทใหญ่มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของตนเอง เช่นเดียวกับพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนซึ่งมีไทใหญ่อาศัยอยู่เป็นจำนวนมากประมาณร้อยละ 70 ของประชากรทั้งจังหวัด และร้อยละ 80 ของประชากรในเขตเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน จึงทำให้เมืองแม่ฮ่องสอนเป็นแหล่งของไทใหญ่ที่ยังมีความยึดมั่นเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีของไทใหญ่อย่างต่อเนื่อง จนทำให้จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดมีความโดดเด่นทางด้านวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาของไทใหญ่ วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอนได้เห็นความสำคัญของวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของไทใหญ่จึงได้ดำเนินโครงการวิจัยนำร่องพัฒนาระบบฐานข้อมูลแม่ฮ่องสอนเมืองมรดกทางวัฒนธรรมขึ้นในปีงบประมาณ 2551 ผลการวิจัยพบว่าชุมชนไทใหญ่ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีสิ่งที่ทรงคุณค่าดีงามหลายด้านเช่นประเพณีวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ชุมชน หัตถกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ดนตรี การละเล่น วิถีชีวิต การทำมาหากิน และอื่น ๆ จากผลการวิจัยก็ได้มีการจัดตั้งศูนย์ไทใหญ่ศึกษาขึ้น เพื่อทำหน้าที่ให้เป็นศูนย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านองค์ความรู้ไทใหญ่ พร้อมพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ไทใหญ่ศึกษาของประเทศไทย การดำเนินการของศูนย์ที่ผ่านมาเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการประชุมทางวิชาการด้านไทใหญ่ศึกษาแก่ผู้สนใจ ร่วมกับนักวิชาการและปราชญ์ท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆ เพื่อจัดการองค์ความรู้เกี่ยวกับไทใหญ่ และนำไปประยุกต์ใช้องค์ความรู้ให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนอย่างกว้างขวาง รวมถึงการให้บริการข้อมูลเพื่อการสืบค้นแก่นักท่องเที่ยว นักเรียนนักศึกษา และผู้สนใจ สร้างกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการ ภาคธุรกิจและองค์กรเอกชน ในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทใหญ่และร่วมพัฒนาเมืองแม่ฮ่องสอนให้เป็นเมืองพิพิธภัณฑ์มีชีวิตผ่านกระบวนการเรียนรู้และผนึกกำลังผ่านการสร้างความเข้มแข็งทางด้านวัฒนธรรม องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น

ปัจจุบันองค์ความรู้เกี่ยวไทใหญ่ทั้งภาษาและวัฒนธรรมไทใหญ่ เริ่มมีการสูญสลายในลักษณะของการถูกทำลายด้วยความไม่รู้ การขาดความตระหนัก ของประชาชน นอกจากนั้นปราชญ์ภูมิปัญญาที่สูงอายุก็เริ่มเสียชีวิตไปตามกาลเวลาและสังขารโดยที่ยังไม่มีการถ่ายทอดความรู้ที่ซ่อนเร้น (Tacit Knowledge) ที่เก็บสะสมไว้ทั้งชีวิตออกมาในรูปต่าง ๆ ดังนั้น วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน จึงได้ดำเนินโครงการประชุมนานาชาติ ครั้งที่ 1 เรื่อง “ไทใหญ่ศึกษา” เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง ที่เกี่ยวข้องกับชาติพันธุ์ไทใหญ่ร่วมกับนักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา ผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการ ประชาชน และผู้สนใจ ตลอดจนเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการขับเคลื่อนภาษาและวัฒนธรรมไทใหญ่ร่วมกันอย่างกว้างขวางต่อไป

กิจกรรมในงาน

  1. ประชุมทางวิชาการ
  2. นำเสนอนิทรรศการและสาธิตวิถีชีวิตไทใหญ่
  3. เชื่อมโยงเครือข่ายไทใหญ่ในพม่า
  4. ประกวดภาษาและวัฒนธรรมไทใหญ่
  5. จัดแสดงทางวัฒนธรรมประเพณีไทใหญ่

คลิกดูกำหนดการ ทั้งหมด (PDF)

 

29 มิย.56
 
07.00-08.30 ลงทะเบียน
08.30-09.00 ชมการแสดงวัฒนธรรมไต
09.00 – 09.15 กล่าวต้อนรับและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุม - นายคมสัน คูสินทรัพย์ ผู้อํานวยการวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน
09.15– 09.30 กล่าวเปิดประชุม - นางนฤมล ปาลวัฒน์ (ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน) 
09.30 – 10.45 บรรยายพิเศษ “สํานึกชาติพันธุ์รัฐชาติ และโลกาภิวัตน์" - ศ.(พิเศษ) ศรีศักรวัลลิโภดม (มูลนิธิเล็ก วิริยะประไพ) 
10.45–11.00 พัก
11.00 – 11.30 “ข้อสังเกตเกี่ยวกับการเขียนประวัติศาสตร์ชนชาติไต” - SaiAungTun
11.30 – 12.00 "ทบทวนไทใหญ่ศึกษา” - Prof. Nicola Tannenbaum(Lehigh University ประเทศสหรัฐอเมริกา) 
12.00–13.00 พักรับประทานอาหาร
13.00 – 13.30 “ประวัติศาสตร์และความทรงจําของคนไตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” - อาจารย์คืนใส ใจเย็น
13.30 – 14.00 “ไทใหญ่:ร่องรอยทางประวัติศาสตร์สังคม และวัฒนธรรม ภายในดินแดนล้านนา พุทธศตวรรษ ท ี่24”  - อาจารย์แสวง มาละแซม
14.00 – 14.30 “Lik Long and How the New Migrants Help Revitalize Lik Long”  - Prof. Tadayoshi Murakami(Osaka University ประเทศญี่ปุ่น)
14.30 – 15.00 “Tai-Ahom Movement for Language and Culture in the Midst of Globalization and Social Changes” - SangeetaGogoi
15.00–15.30 พักวันที่ เวลา ห้องที่1 ห้องที่2 ห้องที่3
15.30 – 16.30 ไตข้ามแดน: พลวัตอัตลักษณ์ชาติพันธุ์
•“คนไตข้ามแดนและการต่อรองเชิงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์” - ดร. อัมพร จิรัฐติกร
•“ผู้ค้าข้ามแดน (ไต้คง)” - ดร. อรัญญา ศิริผล
เสวนาโต๊ะกลม
• “ชุมชนไตกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม" 
- นางวนิจชญา กันทะยวง
- นายสมพงค์ หิรัญโกเมนทร์
- นางเบญญาภา กลั่นบุศย์
ผู้ดําเนินรายการ: ผู้อํานวยการสถาบันการท่องเที่ยวชุมชน
เสวนาโต๊ะกลม
• "ภูมิปัญญาไตและการดูแลสขภาพ ุ "
- รองนายแพทย์สาธารณสุขจ.แม่ฮ่องสอน
- กลุ่มหมอพื้นบ้านไทใหญ่
ผู้ดําเนินรายการ:ดร.มาลี สิทธิเกรียงไกร
16.30–18.00 ทัศนศึกษาชุมชนวัฒนธรรมไทใหญ่ภาคสนาม
18.00–21.00 รับประทานอาหารเย็น และชมการแสดงทางด้านวัฒนธรรมไต

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net