โรงเรียน พ(ล)บค่ำ #7: นิรนาม

Event Date: 
Friday, 28 September, 2012 - 19:30

โรงเรียน พ(ล)บค่ำ #7: นิรนาม
กับ น.ต. ดร.กิตติพงศ์ ปิยะวรรณโณ
วันศุกร์ที่ 28 กันยายน 2555 เวลา 19.30น.
The Reading Room สีลม 19

The Reading Room และ เครือข่ายพลเมืองเน็ต เสนอโครงการ "โรงเรียนพ(ล)บค่ำ" เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองวัฒนธรรมใหม่ โดยเฉพาะประเด็นเสรีภาพในการแสดงออก ทรัพย์สินทางปัญญา สื่อใหม่ ขบวนการทางสังคม และมีเดียอาร์ต ในชั้นเรียนที่ 7 นี้เป็นประเด็นเกี่ยวกับ "นิรนาม และว่าด้วยความเป็นนิรนามบนโลกออนไลน์" ร่วมพูดคุยกับน.ต. ดร.กิตติพงศ์ ปิยะวรรณโณ อาจารย์โรงเรียนนายเรือ และเว็บมาสเตอร์นิติราษฎร์ ในวันศุกร์ที่ 28 กันยายน 2555 เวลา 19.30น. เป็นต้นไป

"นิรนาม" (anonymity) มีความหมายตรงตัวคือ "ไร้นาม" หรือ "ไม่มีชื่อ" แต่ในชีวิตประจำวันเราจะใช้คำว่า "นิรนาม" กับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และโดยมากแล้วเป็นความตั้งใจของบุคคลเองที่ต้องการจะปกปิดตัวตนไม่ให้ผู้ อื่นล่วงรู้ การปกปิดตัวตนในลักษณะนี้เป็นสิ่งผิดปกติสำหรับพฤติกรรมมนุษย์ที่ต้องการการ ยอมรับจากผู้อื่น ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าการปกปิดตัวตนนี้มีขึ้นเพื่อป้องกันตนเองจากภัยคุกคาม บางอย่าง และภัยคุกคามนั้นมีความรุนแรงมากพอที่จะทำให้บุคคลประพฤติตนผิดปกติอย่างที่ควรจะเป็น

ความเป็นนิรนามเป็นสิ่งที่มีให้เราเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ในรูปแบบของพลเมืองดีผู้ไม่ประสงค์ออกนาม บุคคลไม่ทราบชื่อถูกล็อตเตอรรี่รางวัลที่หนึ่ง หรือกลุ่มคนนิรนามภายใต้ชื่อ Anonymous ผู้เจาะระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานรัฐในประเทศต่าง ๆ การปกปิดตัวตนเหล่านี้มักมีนัยะของการป้องกันตัวเองจากภัยคุกคาม ตั้งแต่เรื่องเล็กน้อย ไปจนถึงเรื่องใหญ่อย่างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อะไรคือเหตุผลในการสร้างความเป็นนิรนามเหล่านั้น ความเป็นนิรนามจะแลกมาด้วยสิ่งใด ตัวตนของคนเหล่านั้นจะได้รับการปกปิดจากความเป็นนิรนามได้จริงหรือไม่ และความเป็นนิรนามสามารถปกป้องพวกเขาได้มากน้อยเพียงใด

ความเป็นนิรนามเข้ามามีบทบาทอย่างมากในพื้นที่ที่ความเป็นนิรนามถือเป็นธรรมชาติ อย่างหนึ่ง นั่นคือ "อินเทอร์เนต" ประชากรในโลกอินเทอร์เนตจำนวนมากมักตั้งสมมติฐานว่าตนเองใช้ชีวิตในโลก อินเตอร์เนตในฐานะบุคคลนิรนาม แต่ความเป็นนิรนามเหล่านั้นกลับแตกต่างจากความเป็นนิรนามในความหมายโดย ทั่วไป (ที่ตัวตนของบุคคลจะถูกปกปิด) เพราะตัวตนของบุคคลถูกแทนที่ด้วยตัวตนอีกรูปแบบหนึ่งจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม

ด้วยความเป็นนิรนามนี้เอง ทำให้อินเทอร์เนตถูกมองว่าเป็นพื้นที่สีเทาที่เป็นแหล่งส่องสุมอย่างดี สำหรับผู้ที่ต้องการกระทำความผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานภาครัฐทั่วโลกมักจับตามองอินเทอร์เนตในฐานะภัย คุกคามรูปแบบหนึ่ง จึงมีความพยายามจากหน่วยงานภาครัฐในการลดทอนความเป็นนิรนามของประชากรอิน เทอร์เนตด้วยรูปแบบต่าง ๆ เช่น การกำหนดการเก็บล็อกไฟล์ผ่าน พรบ.คอมฯของรัฐไทย เป็นต้น แน่นอนว่าการแทรกแทรงจากภาครัฐเหล่านี้กระทบต่อความเป็นนิรนามในโลกอิน เทอร์เนตโดยตรง อะไรคือผลกระทบเหล่านั้น การแทรกแทรงของรัฐถือว่าเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวหรือไม่ ประชากรอินเทอร์เนตควรประพฤติตนอย่างไรภายใต้ภาวะเช่นนี้

เกี่ยวกับ "โรงเรียนพ(ล)บค่ำ"
+ เป็นโครงการร่วมระหว่าง The Reading Room และ เครือข่ายพลเมืองเน็ต
+ กิจกรรมนี้จะจัดเป็นประจำ ทุกวันศุกร์ที่ 3 ของเดือน เวลาหนึ่งทุ่มครึ่งเป็นต้นไป
+ รูปแบบเน้นการพูดคุยแลกเปลี่ยนระหว่างผู้บรรยายและผู้เข้าร่วม ในแบบสบายๆ กินไปคุยไป
+ ก่อนมาพบกัน เราจะมีเอกสารแนะนำ ถ้าใครว่างก็อ่านมาก่อนได้
+ การบรรยายและการพูดคุยแลกเปลี่ยนจะถูกบันทึกเพื่อเผยแพร่ออนไลน์และจัดพิมพ์เป็นหนังสือ
+ อินเทอร์เน็ตฟรี เครื่องดื่มและของกินหิ้วมาได้
+ สนับสนุนโครงการโดยมูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท