ปาฐกถาเรื่อง "เยาวชนแดนประหาร" โดย โทชิ คาซามะ

Event Date: 
Monday, 31 October, 2011 - 18:00

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย, สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน และโครงการสงเคราะห์ผู้ต้องขัง มูลนิธิคณะสงฆ์พระเยซูเจ้า ขอเชิญเข้าร่วมฟัง ปาฐกถาเรื่อง \เยาวชนแดนประหาร\" โดย โทชิ คาซามะ วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม 2554 เวลา 18.00 น. ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) ช่างภาพมืออาชีพชาวญี่ปุ่น โทชิ คาซามะ จะแสดงภาพถ่ายของเขาพร้อมกับปาฐกถาเกี่ยวกับเยาวชนที่รอรับโทษประหารชีวิต เป็นเวลานานกว่าแปดปีที่เขาได้ใส่ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจลงบนภาพถ่ายเยาวชนที่ถูกลงโทษให้ตาย ภาพนั้นมีความเรียบง่ายอย่างที่สุด เป็นภาพขาวดำ ไม่มีการโพสท่า โทชิเล่าเรื่องราวของภาพด้วยความเรียบง่ายเช่นกัน ความเรียบง่ายเป็นวิธีการที่เขาเอาชนะความสงสัยและความไม่เป็นมิตรของผู้คุมเรือนจำเพื่อให้เขาเข้าถึงห้องขังได้ และเป็นวิธีการที่ทำให้เขาได้เข้าพบเยาวชนผู้เป็นงานศิลปะของเขาได้ด้วยดี โทชิทุ่มเทให้กับงานศิลปะของเขาอย่างมาก โทชิเข้าหาพวกเขาทีละคน ไม่เพียงแต่ทำความรู้จักกับครอบครัวของพวกเขา แต่ยังทำความรู้จักกับครอบครัวของผู้เคราะห์ร้าย และเจ้าหน้าที่เรือนจำอีกด้วย เขาอธิบายว่าพวกเขาเป็น \"มนุษย์ที่มีค่า\" และหวังว่างานของเขาเป็นอีกแรงหนึ่งที่ช่วยนำไปสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิต * ไม่เสียค่าเข้าฟัง * ปาฐกถาภาษาอังกฤษ มีล่ามแปลสำหรับภาษาไทย ข้อมูลเพิ่มเติมโทร 0 2513 8745 หรืออีเมล์ admin@amnesty.or.th โทชิ คาซามะ แปลจาก http://www.willsworld.com/~mvfhr/toshi.htm โทชิ คาซามะ เป็นช่างภาพที่ทำงานในนิวยอร์คเป็นหลัก เขาใช้เวลาแปดปีในการรวบรวมภาพถ่ายสำหรับ \"เยาวชนที่รอรับโทษประหาร: การสำรวจเชิงสารคดี\" จากนั้น เขาได้ไปเยี่ยมสถานที่ต่างๆ ซึ่งรวมถึงหลายๆมหาวิทยาลัย เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ชมเกี่ยวกับความจริงของโทษประหารชีวิต โทชิ ผู้ซึ่งเกิดในประเทศญี่ปุ่นและมีลูกสามคนแล้ว กล่าวว่าการเลี้ยงดูลูกในสหรัฐอเมริกาทำให้เขาต้องศึกษาความยุติธรรมทางอาญาของสหรัฐฯ และปัญหาทางเชื้อชาติ ไม่นานนัก เขาก็ตระหนักว่าเขามีสามตัวเลือก: เขาสามารถที่จะเพิกเฉยต่อปัญหาเหล่านี้ เขาอาจเก็บข้าวของกลับบ้าน หรือเขาอาจทำงานเพื่อช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว เขาตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สาม และใช้กล้องของเขาเป็นเครื่องมือ ตอนนี้เขาเดินทางไปทั่วโลก เพื่อแสดงภาพขาวดำของเยาวชนที่รอรับโทษประหาร และพูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์ในการถ่ายภาพของเขา สิ่งสำคัญที่ทำให้โทชิคัดค้านโทษประหารชีวิต คือความเชื่อของเขาที่ว่า โทษประหารชีวิตนั้นมีความไม่เป็นธรรมเป็นพื้นฐาน \"ถ้าคุณเป็นคนยากจนในประเทศนี้ ชีวิตของคุณแทบไม่มีราคา คุณไม่มีเงินจ้างทนายความดีๆ แต่ถ้าหากคุณร่ำรวย คุณจะไม่ได้รับพิพากษาให้ตาย\" เขากล่าว นอกจากขั้วทางเศรษฐกิจที่จำแนกระหว่างจำเลยคนรวยและจำเลยคนจนแล้ว เชื้อชาติก็เป็นปัจจัยสำคัญต่อระบบการลงโทษประหารชีวิต เพราะผู้ต้องขังโทษประหารส่วนใหญ่เป็นชาวแอฟริกันอเมริกัน และผู้เคราะห์ร้ายของพวกเขาส่วนใหญ่เป็นคนผิวขาว \"ถ้าคุณเป็นชนกลุ่มน้อยที่ยากจน ชีวิตของคุณด้อยราคาลงอีก\" เขากล่าว อย่างน้อยที่สุด โทชิต้องการให้ภาพอันทรงพลังของเขา โน้มนำให้ผู้ชมตระหนักถึงระดับของความรุนแรงที่ไม่อาจรับได้ แต่ได้ซึมซับลงลึกในสังคมอเมริกัน “ความผิดพลาดของระบบการลงโทษประหารชีวิต (ซึ่งนำไปสู่การปล่อยตัวของผู้ต้องขังกว่า 100 คนหลังพบว่าเป็นผู้บริสุทธิ์) เป็นอีกหนึ่งเหตุผลว่าทำไมต้องยุติโทษประหาร” เขากล่าว..หนึ่งในงานศิลปะของเขาได้รับการตัดสินว่าเป็นผู้บริสุทธิ์"

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท