Skip to main content
sharethis
Event Date

โครงการเสวนาเวทีสาธารณะว่าด้วย: “ข้อคิดเห็นและข้อเสนอต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ”

วันอังคารที่ 29 มิถุนายน 2553 เวลา 13.00-16.30 น. 

ณ ห้องประชุม 12 ตึก3 (เกษมอุทยานิน) คณะรัฐศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลักการและเหตุผล

เสรีภาพในการชุมนุม  นอกจากเป็นกลไกสำคัญในระบอบประชาธิปไตยแล้ว  ยังถือเป็นกลไกที่สำคัญที่อำนวยให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิเสรีภาพต่างๆ ที่รับรองไว้โดยรัฐธรรมนูญ  เช่น  การมีส่วนร่วมทางการเมือง  การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานรัฐ   การจัดการทรัพยากร  ตลอดจนการกำหนดวิถีชีวิตของประชาชนเอง  ดังนั้น  ประเทศประชาธิปไตย  จึงควรคุ้มครองเสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนไม่ให้ถูกรบกวนหรือถูกจำกัดลง  ในขณะเดียวกัน  ต้องมิให้การใช้เสรีภาพของประชาชนดังกล่าวทั้งที่มีวัตถุประสงค์ทางการเมืองและเพื่อปากท้องไปกระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชนอื่นๆ อย่างเกินขอบเขตด้วย    

ที่ผ่านมา  การใช้เสรีภาพในการชุมนุมในสังคมไทยมีอย่างต่อเนื่องหลากหลาย  ทั้งที่มีวัตถุประสงค์ทางการเมืองและเพื่อแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชน  เนื่องจากในบางประเด็นปัญหาไม่สามารถแก้ไขด้วยกลไกปกติของรัฐได้  ประชาชนจึงต้องใช้การชุมนุมเป็นเครื่องมือในการต่อสู้เรียกร้องสิทธิต่างๆ ของตน  แม้ในปัจจุบันรูปการก็ยังเป็นเช่นนั้นอยู่  อย่างไรก็ตาม  การชุมนุมมิได้เกิดขึ้นเนื่องจากปัญหาเท่านั้น  แต่การชุมนุมยังเป็นช่องทางหนึ่งในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนในสังคมประชาธิปไตย  ซึ่งรัฐมีหน้าที่ต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพดังกล่าว  ไม่ละเมิด  จำกัด  หรือลิดรอนเสรีภาพในการชุมนุม  และรัฐพึงอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ชุมนุมเพื่อให้สามารถใช้เสรีภาพในการชุมนุมได้อย่างเต็มที่เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอื่นอีกด้วย

ปัจจุบัน  ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองที่มีการใช้เสรีภาพในการชุมนุมอย่างกว้างขวาง  จนก่อให้เกิดการกระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชนอื่นในสังคม  มีผลทำให้ทัศนคติของสังคมต่อการชุมนุมเป็นไปในทางลบมากขึ้น  จนเกิดเป็นกระแสเรียกร้องให้รัฐบาลต้องจัดการกับเสรีภาพในการชุมนุม โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ…….แล้ว  อย่างไรก็ตาม  การจัดการเสรีภาพในการชุมนุมนั้นมีรูปแบบที่หลากหลาย  หากพิจารณาบริบทสังคมไทยปัจจุบัน  รูปแบบหนึ่งของการจัดการคือการออกกฎหมายมาเพื่อจัดระเบียบการชุมนุมในที่สาธารณะ  แต่นั่นก็ไม่ได้เป็นรูปแบบเดียวของการจัดการเสรีภาพในการชุมนุม  หากพิจารณาให้ถ่องแท้แล้ว  เจตจำนงค์ของสังคมคือการจัดการเสรีภาพในการชุมนุมที่ดีมากกว่าการจำกัดลิดรอนสิทธิเสรีภาพที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมีการออกกฎหมายจัดระเบียบการชุมนุมในที่สาธารณะ  

เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน  ร่วมกับมูลนิธิผสานวัฒนธรรม  โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม  และสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน  ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการการใช้เสรีภาพในการชุมนุม  จึงได้จัดเวทีสาธารณะว่าด้วย   “ข้อคิดเห็นและข้อเสนอต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ” ขึ้นในวันอังคารที่ 29  มิถุนายน 

2553 เวลา 13.00-16.30 น. ณ  ห้องประชุม 12 ตึก3 (เกษมอุทยานิน) คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอหลักการ  ข้อมูล และข้อเสนอแนะในการจัดการการใช้เสรีภาพในการชุมนุมที่เป็นไปในทางคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนต่อสังคม

 

วัตถุประสงค์ 

พิจารณาร่างฯ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อระดมความเห็น  วิพากษ์ร่างฯ และสรุปเป็นข้อเสนอแนะต่อสาธารณะและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป

 

กำหนดการเสวนา

13.00 น.- 13.30 น.  นำเสนอเนื้อหาของร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะโดยสรุป

โดย  นางสาวพูนสุข  พูนสุขเจริญ  เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

13.30 น. – 14.30 น. แลกเปลี่ยนความเห็น  วิพากษ์ร่างฯ  และข้อเสนอแนะ 

โดย ตัวแทนองค์กรภาคประชาชนและประชาชนทั่วไป

1. นายไพโรจน์  พลเพชร  เลขาธิการสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)

2. รองศาสตราจารย์ประภาส  ปิ่นตบแต่ง  หัวหน้าภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

3. รศ.ศิริพรรณ  นกสวน * คณะรัฐศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

4. นายวสันต์  พานิช   ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนากฎหมายและสิทธิมนุษยชน

5. ตัวแทนโครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม 

6. ตัวแทนสมานฉันท์แรงงานไทย 

7. ตัวแทนสมัชชาคนจน 

8. ตัวแทนมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม 

9. ตัวแทนศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ (อิสาน) 

10. ตัวแทนกลุ่มเพื่อนประชาชน (F.O.P)  

11. ตัวแทนเครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.)

12. ตัวแทนกลุ่มรักท้องถิ่นบ่อนอก *

13. ตัวแทนกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด *

14. ตัวแทนเครือข่ายสลัมสี่ภาค *

15. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.) *

16. ตัวแทนเครือข่ายผู้ติดเชื้อ *

14.30 น. – 14.40 น. อาหารว่าง

14.40 น. - 16.00 น. แลกเปลี่ยนความเห็น  วิพากษ์ร่างฯ  และข้อเสนอแนะ (ต่อ)

16.00 น. - 16.30 น. สรุปการเสวนาและข้อเสนอต่อสาธารณะและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

โดย  นางสุนี  ไชยรส   ที่ปรึกษาเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

ดำเนินรายการโดย   นางสุนี  ไชยรส  ที่ปรึกษาเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

หมายเหตุ  : *  อยู่ระหว่างการประสานงาน  

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net