Skip to main content
sharethis








"รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของประเทศไทย ได้ให้การรับรองในเรื่องสิทธิ และเสรีภาพตามระบอบประชา


ธิปไตยของบุคคลและชุมชน ไม่แพ้มาตรฐานของประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ ทั่วโลก แต่แม้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะใช้มาแล้วเป็นเวลาแปดปี ดูเหมือนประเทศไทยยังเกิดกรณีที่เลวร้ายในด้านสิทธิมนุษยชนและสิทธิตามกฎหมาย ซึ่งกรณีการสูญหายไปของทนายสมชายเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่ง"คำกล่าวตอนหนึ่งของนายจอน อึ้งภากรณ์ สว.กรุงเทพฯ  เนื่องในโอกาสรับรางวัลรามอน แมกไซไซ



 


เวลา 16.15 น.วานนี้(31 ส.ค.)  นายจอน อึ๊งภากรณ์ สมาชิกวุฒิสภา จังหวัดกรุงเทพฯ ผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการภาครัฐ ประจำปี 2548 รับมอบรางวัลรามอน แมกไซไซจากประธานศาลฎีกา ในฐานะตัวแทนของผู้มีฐานะสูงสุดของประเทศ


ทั้งนี้นายจอนได้แถลงตอบหลังรับรางวัลแมกไซไซ ซึ่งถือกันว่า เป็น "โนเบลแห่งเอเชีย"ว่า "น่าเสียดาย ที่มูลนิธิรามอน แมกไซไซไม่อนุญาตให้เสนอชื่อผู้ที่คาดว่า เสียชีวิตแล้วเพื่อเข้ารับการพิจารณารางวัล และด้วยเหตุดังกล่าว ผมจึงอยู่ที่นี่ และได้รับเกียรติอย่างสูงยิ่งในวันนี้  ดังนั้นในประการแรกผมจึงขออุทิศราง วัลนี้ให้แก่ทนายสมชายและครอบครัวของเขา"


 


โดยนายจอนกล่าวย้อนกลับไปในวันนี้เมื่อ 40 ปีที่แล้ว ในคำกล่าวตอบรับรางวัลรามอน แมกไซไซ สาขาบริการภาครัฐของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ว่า ได้เอ่ยถึงนายใจเมื่ออายุ 12 ปีและเป็นนักสะสมแสตมป์ โดย ดร.ป๋วยเล่าว่า นายใจได้หยิบยกเอาคำพูดหนึ่งของประธานาธิบดีรามอน แมกไซไซที่ปรากฏในแสตมป์ที่ระลึกมาบอกให้ได้รับทราบ โดยคำพูดนั้นกล่าวไว้ว่า "ข้าพเจ้าเชื่อว่า คนที่ได้โอกาสน้อยในชีวิต ควรได้รับโอกาสพิเศษในทางกฎหมาย"


 


"ผมก็มีอีกเรื่องที่อยากจะเล่าเกี่ยวกับ "ใจ" ซึ่งผมเพิ่งทราบเมื่อไม่นานมานี้ นั่นคือ หลังจากที่ใจได้รับการแจ้งว่า ชื่อของผมอยู่ในกระบวนการพิจารณารางวัลนี้  ใจได้เสนอว่า มันน่าจะดีกว่าถ้าไม่ใช่ผม แต่เป็นทนายสมชาย นีละไพจิตร ที่ได้รับการเสนอชื่อแทน  ในประเด็นนี้ผมเห็นด้วยกับน้องผมอย่างยิ่ง"


 


"ใจ" ที่ สว.จอน หมายถึง ก็คือ นายใจ อึ้งภากรณ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย น้องชายและบุตรคนเล็กของ ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์


 


นายจอนอธิบายว่า นายสมชาย นีละไพจิตร ซึ่งเป็นประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม และเป็นทนายซึ่งสละตัวเองเพื่อช่วยเหลือชาวมุสลิมทั้งหลายที่ต้องตกเป็นจำเลย ซึ่งมักเป็นคนที่"ได้โอกาสน้อยในชีวิต" เหมือนอย่างที่รามอน แมกไซไซกล่าวถึง


 


ทั้งนี้ทนายสมชายหายสาบสูญไปในช่วงเดือนมี.ค. ปีที่แล้ว หลังจากที่พยายามรวบรวมรายชื่อเพื่อเสนอให้รัฐยกเลิกกฎอัยการศึกในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจทรมานผู้ต้องหาเพื่อให้สารภาพ และแม้ว่ามีการจับกุมและดำเนินคดีตำรวจ 5 คนที่เกี่ยวข้องกับการหายตัวไปของนายสมชาย แต่คาดว่า เป็นไปได้ยากที่จะสาวไปยังผู้บงการได้


 


สว.กรุงเทพฯ ยังได้ประกาศอุทิศรางวัลให้แก่ผู้นำชุมชนที่กล้าหาญและสละชีวิต ต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนในการมีส่วนร่วมในการจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยที่รัฐไม่เคยยื่นมือเข้าดูแลคุ้มครอง ซ้ำผู้อยู่เบื้องหลังไม่เคยได้รับการลงโทษแต่อย่างใด


 


"ตั้งแต่ต้นปี ๒๕๔๔ มีผู้นำชุมชนอย่างน้อย ๑๕ คนจากทุกภาคของประเทศถูกลอบฆ่าตาย เพียงเพราะพวกเขาต้องการที่จะปกป้องชุมชนและต่อต้านบุคคลภายนอกที่พยายามเข้ามาแสวงผลประโยชน์แล้วทำลายสิ่งแวดล้อม"


 


 นายจอนยังประกาศอุทิศรางวัลให้กับทุกๆ คนที่ทำงานเพื่อความสงบสุขและความยุติธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงสมาชิกทุกคนของคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ ซึ่งมีนายอานันท์  ปันยารช

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net