Skip to main content
sharethis

ประชาไท - 11 ต.ค.2549 องค์การอนามัยโลกกำหนดให้วันที่ 10 ตุลาคม ของทุกปี ถือเป็นวันสุขภาพจิตโลก ซึ่งในปีนี้กระทรวงสาธษรณสุขได้ให้ความสำคัญต่อปัญหาการฆ่าตัวตาย โดยกำหนดคำขวัญรณรงค์ว่า "สร้างความตระหนัก ลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วยทางจิต และการฆ่าตัวตาย"


 


จากสถิติของราชการระบุว่าในแต่ละปีมีคนไทยเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายปีละประมาณ 4,500-5,500 คน หากนับรวมทั้งจำนวนคนที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ และไม่สำเร็จจะมีมากถึง 25,000-27,000 คนต่อปี อายุที่พบว่ามีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุดอยู่ในวัยหนุ่มสาว คืออายุราว 25-29 ปี และอัตราฆ่าตัวตายของผู้ชายมีมากกว่าผู้หญิงประมาณ 3 เท่าตัว แต่สำหรับต่างประเทศ กลุ่มผู้ฆ่าตัวตายมากที่สุดคือกลุ่มผู้สูงอายุ


 


หากดูผลการฆ่าตัวตายโดยรวมทุกภาค พบว่าภาคเหนือมีอัตราฆ่าตัวตายสูงสุด คืออัตรา 14: 1 แสนคน ในขณะที่ภาคใต้มีสถิติต่ำที่สุด คือ แสนละ 6 คน


 


ทั้งนี้พบว่าผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จร้อยละ 90 มีโรคทางจิตร่วมด้วย ส่วนใหญ่ได้แก่ โรคซึมเศร้า และบริโภคเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ หรือทั้ง 2 อย่างร่วมกัน โดยประชาชนที่มีปัญหาสุขภาพจิต ไม่ควรเก็บปัญหาไว้คนเดียว ควรระบายปัญหา เช่น อาจปรึกษาผู้ที่ไว้วางใจที่สุดเพื่อหาทางออก ไม่ควรใช้สารเสพติดดับทุกข์ เนื่องจากจะทำให้เกิดการเสพติด และทำให้สติสัมปชัญญะลดลง


 


ดังนั้น หากพบว่ามีคนใกล้ตัวเป็นโรคจิตซึมเศร้า ครอบครัวต้องช่วยกันดูแลสมาชิกในครอบครัว ให้ระวังคำพูด อย่าปล่อยให้ผู้มีอาการทางจิตอยู่คนเดียว และหากเกิดเบื่อหน่ายในชีวิต ให้หาอะไรทำให้เหนื่อย เช่น ออกกำลังกายให้เหงื่อออก เพราะเมื่อออกกำลังกายร่างกายจะหลั่ง สารเอ็นโดฟิน ทำให้เรารู้สึกสดชื่น นอกจากนี้ หาของที่อยากกินหรือของที่ มีรสจัดเปรี้ยว ๆ เผ็ด ๆ กิน หรือไม่ก็ควรทำสมาธิ ให้สมองปลอดโปร่ง ซึ่งจะช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้น


 



เรียบเรียงจาก: สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net