Skip to main content
sharethis


แถลงการณ์ป่าชุมชน ฉบับที่2  ของเครือข่ายป่าชุมชน


 


การดูแลรักษา "ป่า" โดยชุมชนนั้น เป็นกระบวนการจัดการที่เป็นส่วนหนึ่งของวิถีวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น ชาวบ้านดูแลป่าอย่างเชื่อมโยง พึ่งพาอาศัย สอดคล้องกับชีวิต แต่การเปลี่ยนแปลงทางสังคม การแพร่ขยายอิทธิพลของนายทุนได้เข้าครอบครองพื้นที่ป่าบุกรุกทำลาย ถางป่าเพื่อปลูกพืชผลทางเศรษฐกิจ และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชุมชนไม่สามารถดูแลรักษาผืนป่าโดยลำพังได้


 


รัฐธรรมนูญพ.ศ.2540 ได้เปิดโอกาสและให้สิทธิชุมชนในการมีส่วนร่วมจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ชุมชนที่ดูแลรักษาป่าร่วมกันยื่นรายชื่อเสนอจัดตั้งป่าชุมตั้งแต่ 2543 จนกระทั่งปัจจุบันเป็นระยะเวลาร่วม 5 ปีที่กฎหมายป่าชุมชนยังไม่สามารถประกาศใช้ได้ ชุมชนได้เคลื่อนไหวผลักดัน พ.ร.บ.ป่าชุมชน ในสภา 5 ปี และนอกสภาอีกกว่า 10 ปี แต่ก็ยังไม่สัมฤทธิ์ผล ทั้งนี้ มีความไม่เข้าใจในหลายประเด็นในเรื่องป่าชุมชน ที่กลายเป็นเงื่อนไขในการพิจารณาออกกฎหมาย เช่น การกำหนดเขตพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารพิเศษ ที่ประกอบไปด้วย พื้นที่ลาดชัน ดินอุ้มน้ำได้มาก ความหลากหลายทางชีวภาพ และการพิจารณาตามสภาพความเป็นจริง


 


เครือข่ายป่าชุมชนขอยืนยันและคัดค้านเงื่อนไข ป่าต้นน้ำพิเศษ ดังนี้


 



  1. เงื่อนไขทั้ง 4 ประการ คือ ป่าอนุรักษ์ในปัจจุบัน

  2. พื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารเหล่านี้เป็นป่าชุมชนที่ ชุมชนดูแล อยู่แล้ว หากเงื่อนไขดังกล่าวทำให้ชุมชนไม่สามารถขอจัดตั้งป่าชุมชนได้ เพราะป่าต้นน้ำส่วนใหญ่ ชุมชนดูแล และเป็นป่าที่ชุมชนอนุรักษ์อยู่แล้วส่วนใหญ่กว่า 10 ปี

  3. เงื่อนไขที่รมต.กำหนด เมื่อพิจารณาจาก ลักษณะภูมิประเทศ เช่น ภาคเหนือ ภาคใต้ พื้นที่ถัดจากชุมชนก็เป็นพื้นที่เขาสูงที่ชาวบ้านทำป่าชุมชนทั้งหมด ซึ่งเข้าเกณฑ์เงื่อนไขป่าต้นน้ำลำธารแทบทั้งสิ้น

  4. การวงเขตป่าต้นน้ำลำธารพิเศษ แล้วรัฐเข้าไปจัดการ จะทำให้ป่าต้นน้ำถูกทำลาย ดังกรณี

ภาคใต้  -  ป่าท่าชนะ ป่าแก่งกรุง น้ำตกโดนแพรทอง


ภาคเหนือ  -  แม่ลานคำ แม่ขะปู


พื้นที่ป่าห้วยขาแข้ง


 


และเครือข่ายป่าชุมชนยังยืนยันเจตนารมณ์ในการจัดตั้งป่าชุมชน เพื่อเหตุผล 4 ประการ


-          อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ สภาวะแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ


-          การใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในป่าชุมชนอย่างสมดุลยั่งยืน


-          การส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีที่หลากหลายของชุมชน ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา ควบคุมดูแลและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ


-          การจัดตั้งความร่วมมือระหว่างรัฐและชุมชน ในการจัดตั้งป่าชุมชน


 


* ดังนั้น ป่าชุมชนตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้


 


-          ไม่ใช่ป่าสัมปทาน


-          ไม่ใช่ป่าเศรษฐกิจที่มุ่งหารายได้


-          ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน


-          ไม่ใช่ป่าที่ชุมชนจะเอาไปซื้อขายเปลี่ยนมือได้


 


* แต่ป่าชุมชนเป็น


 


-          ป่าของรัฐ รัฐให้สิทธิชุมชนจัดการคุ้มครองและใช้ประโยชน์เพื่อยังชีพ


-          การใช้ประโยชน์ต้องเป็นไปตามแผนการจัดการป่าชุมชน ซึ่งตรวจสอบควบคุมหลายระดับ หากจัดการผิดพลาด ป่าเสียหาย ถูกเพิกถอนป่าชุมชน


 


วันที่ 13 มีนาคม 2545 ฯพณฯ ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้รับปากและยืนยันว่ารัฐบาลยืนยันที่จะสนับสนุนผลักดันกฎหมายป่าชุมชนที่ผ่านการรับรองจากสภาจนกว่าจะผ่านออกมา ...  วันนี้ เครือข่ายป่าชุมชนขอทวงถาม


 


 


 


เครือข่ายป่าชุมชน


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net