คนเชียงดาวโวย "ออป." โค่นป่าสักบริเวณต้นน้ำสาขาแม่น้ำปิงกว่า 2,000 ต้น


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านบ้านปางโม่ ต

.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ได้ร้องเรียนปัญหากรณีการสัมปทานตัดไม้ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้(ออป.) ที่ทำการตัดไม้สักในเขตพื้นที่ใกล้เคียงหมู่บ้าน ตามแผนดำเนินการจะมีการตัดไม้สักที่มีอายุประมาณ 10-20 ปีกว่า 4,000 ต้น ที่ผ่านมา ออป.ตัดไปแล้วกว่า 2,000 ต้น กรณีดังกล่าวชาวบ้านวิตกว่าอาจนำมาซึ่งปัญหาความแห้งแล้งเหมือนที่เคยขึ้นเมื่อกว่า 20 ปีที่แล้วซึ่งเป็นช่วงที่มีการปลูกต้นสักใหม่ ๆ


พร้อมกันนี้ชาวบ้านปางโม่ยังได้ยื่นหนังสือร้องเรียนถึง ผอ

.โครงการจัดการลุ่มน้ำปิงตอนบนต่อกรณีปัญหาดังกล่าวด้วย โดยหนังสือร้องเรียนฉบับดังกล่าวระบุว่า ชาวบ้านปางโม่ หมู่ที่ 8 .ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ มีจำนวนประชากร 140 หลังคาเรือน 395 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและค้าขาย ในอดีตหมู่บ้านปางโม่เป็นหมู่บ้านที่ล้อมรอบด้วยภูเขาหินปูนที่มีความสำตัญทางระบบนิเวศน์และมีความหลากหลายทางชีวภาพ ชาวบ้านได้อาศัยผืนป่าบริเวณนี้ในการเก็บหาของป่า พืช ผัก สมุนไพร รวมไปถึงไม้ใช้สอยเพื่อการสร้างบ้านเรือน ที่สำคัญ แหล่งน้ำที่ไหลมาจากผืนป่าด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้านยังเป็นแหล่งต้นน้ำ "ลำห้วยแม่ป๋อย" ด้วยก่อนจะไหลลงสู่ลำน้ำแม่ป๋าม ที่ชาวบ้านปางโม่และชุมชนใกล้เคียงใช้ประโยชน์ได้ทั้งปี ซึ่งลำน้ำเหล่านี้ล้วนเป็นลำน้ำสาขาที่สำคัญของลำน้ำปิงด้วย

อย่างไรก็ตาม ในปี 2523 ผืนป่าและลำห้วยที่อุดมสมบูรณ์ได้ถูกบุกรุกแผ้วถางเพื่อการปลูกป่าตามนโยบายรัฐบาลในสมัยนั้น ทำให้ลำห้วย ลำน้ำสาขาย่อยที่ชาวบ้านเคยใช้ประโยชน์ อาทิ ลำห้วยแม่ป๋อย ลำน้ำแม่ป๋าม และลำน้ำแม่มาส ประสบปัญหาแห้งแล้งจนชาวบ้านไม่สามารถใช้ประโยชน์ทั้งในการเกษตร การบริโภคในครัวเรือนได้ จนชาวบ้านบางส่วนต้องออกไปทำงานรับจ้างต่างถิ่น ต่อมาในปี 2526 ต้นสักที่ปลูกเริ่มเจริญเติบโต เพราะชาวบ้านช่วยกันดูแลรักษาทำให้สภาพป่าเริ่มฟื้น ลำห้วยต่างๆเริ่มมีน้ำคืนมาอีกครั้ง ชาวบ้านจึงเริ่มทำมาหากินได้ตามปกติ

ต่อมาในปี 2549 องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้(ออป.) เข้ามาสัมปทานตัดไม้ในเขตหมู่บ้านปางโม่โดยไม่ผ่านความเห็นชอบของชาวบ้านแต่อย่างใด มิหนำซ้ำยังสร้างความเสียหายแก่ชุมชนไม่ว่าจะเป็นถนนภายในหมู่บ้าน รถขนไม้ที่เข้า-ออกหมู่บ้าน ที่สำคัญการสัมปทานตัดไม้ของ ออป.ครั้งนี้ได้สร้างความวิตกแก่ชาวบ้านเป็นอย่างยิ่งเพราะกลัวว่าจะเกิดปัญหาความแห้งแล้งเหมือนในอดีต  ที่ผ่านมาปัญหาดังกล่าวชาวบ้านได้มีการประชุมไปแล้วหลายครั้ง มีมติร่วมกันที่จะคัดค้านการดำเนินการดังกล่าวโดยขอให้ยุติการสัมปทานตัดไม้ครั้งนี้ พร้อมกับล่ารายชื่อชาวบ้านที่ไม่เห็นด้วยโดยมีชาวบ้านจากหลายหมู่บ้านที่วิตกกังวลต่อปัญหาร่วมลงชื่อรวมทั้งหมด 292 คน

ดังนั้น ชาวบ้านจึงขอร้องเรียนปัญหาดังกล่าวเพื่อให้เกิดการประสานงานกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องให้ยุติการสัมปทานตัดไม้ในพื้นที่ดังกล่าวโดยเร่งด่วน เพื่อให้ผืนป่าเป็นแหล่งอาหาร สมุนไพร ไม้ใช้สอยของชุมชน และชุมชนจะช่วยกันดูแลรักษาให้คงสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ต่อไป



ด้าน นายประสิทธิ์ กันทาซาว สมาชิก อบต

.สภาปิงโค้ง กล่าวว่า การเข้ามาตัดไม้ของ ออป.จะทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนแน่นอน อีกทั้งการตัดไม้ก็ไม่ได้ตัดเฉพาะไม้สักเท่านั้น ไม้อื่นๆที่มีอยู่ก็ถูกตัดลงด้วยเช่นกัน ที่สำคัญการเข้ามาของ ออป.ในปี 2549 นั้นเดิมทีเข้ามาบอกชาวบ้านว่าจะเข้ามาดูแลรักษาป่า ซึ่งชาวบ้านก็เชื่อเพราะ ออป.เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงทำให้ ออป. ดำเนินงานได้สะดวก และต่อมาก็พบว่า ออป.มีแผนการตัดไม้มากถึง 4,000 ต้น ที่ผ่านมาตัดไปแล้วกว่า 2,000 ต้น ชาวบ้านวิตกกันมาก

ที่สำคัญ ป่าบริเวณนี้เป็นต้นกำเนิดลำน้ำสาขาของน้ำแม่ปิงหลายสาย เช่น น้ำแม่ป๋ามซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ใช้ในการทำการเกษตร และมีหลายหมู่บ้านที่ใช้น้ำสายนี้ นอกจากนี้ยังมีลำห้วยแม่ป๋อย ลำห้วยแม่มาสอีกด้วย ดังนั้นหาก ออป

.ยังเดินหน้าตัดไม้ต่อไปชาวบ้านที่นี่ รวมถึงคนที่ใช้น้ำจากลำน้ำปิงต้องได้รับผลการกระทำของ ออป.ด้วย

"

ทำไม ออป.ไม่นึกถึงผลที่จะตามมา ความแห้งแล้ง ความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่ต้องพึ่งพิงจากป่า เขาคิดแต่เรื่องธุรกิจ เรื่องรายได้ เพราะเขาไม่ใช่คนปางโม่ จะเป็นตายร้ายดีเขาก็ไม่สน ผมไม่อยากเห็นภาพความแห้งแล้งเหมือนในอดีตที่เราเคยประสบกันมาเมื่อ 26 ปีก่อน มันเจ็บปวดมาก เราจะไม่ยอมให้เกิดขึ้นอีก ตอนนี้นอกจากชาวบ้านปางโม่ได้ลงชื่อคัดค้านแล้ว ยังมีหมู่บ้านใกล้เคียงร่วมคัดค้านกับเราด้วย" นายประสิทธิ์ กล่าวทิ้งท้าย


นางสายสุนีย์ ชัยชนะ ตัวแทนชาวบ้านปางโม่ กล่าวว่า จากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงปี

2549 โดยเฉพาะปัญหาน้ำท่วมเมืองเชียงใหม่นั้นเกิดขึ้นหลายครั้ง ปัญหาที่เกิดขึ้นล้วนแล้วมีความเชื่อมโยงกับป่ามากที่สุด และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมักมีการกล่าวถึงคนต้นน้ำ โดยมักอ้างว่าชาวบ้านเป็นต้นเหตุของการบุกรุกทำลายป่าจึงทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วม แต่หากพิจารณาถึงการดำเนินการของ ออป.ก็จะเห็นว่าใครกันแน่ที่เป็นผู้ทำลายป่า ใครกันแน่ที่ช่วยกันอนุรักษ์ป่า

ในขณะที่ นายพิพัฒน์พงษ์ เดชา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ทางอบต.ได้รับหนังสือร้องเรียนจากชาวบ้านปางโม่ ซึ่งในส่วนของ อบต.ตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาระเบียบข้อกฎหมายของกระทรวงทรัพยากรฯ อยู่ ว่าการที่ ออป.เข้าไปตัดต้นไม้ที่ผ่านมานั้น ได้ทำถูกต้องหรือผิดระเบียบหรือไม่

"

เมื่อวันก่อน ทาง ออป.ได้เข้ามาชี้แจงบอกว่าได้ทำถูกต้องตามระเบียบทุกอย่าง แต่ตนก็รู้สึกแปลกใจที่ก่อนจะมีการสัมปทานตัดไม้ ทำไมไม่ใช้กระบวนผ่านมติสภาอบต.เสียก่อน ซึ่งจริง ๆ แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการตั้งโรงโม่หิน การตั้งรีสอร์ท หรือจะติดตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์ในพื้นที่ตำบลใด จะต้องขอมติจากสภาฯ เสียก่อน แต่นี่ทาง อบต.ไม่ได้รับรู้มาก่อน ซึ่งเป็นเรื่องที่ใช้อำนาจมาจากข้างบน ดังนั้น ในส่วนของ อบต.จึงอยากให้ทาง ออป.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มาประชุมร่วมกันเพื่อชี้แจงชาวบ้านให้ชัดเจนด้วย"

ทั้งนี้ นายก อบต

.ปิงโค้ง กล่าวด้วยว่า ในขณะนี้ยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า ออป.เข้าไปตัดไม้นั้นถูกต้องหรือทำผิดระเบียบหรือไม่ แต่ที่เห็นชัดเจนก็คือ การนำเครื่องจักรกล การขนลากไม้ออกจากป่านั้นทำให้ถนนในหลาย ๆ หมู่บ้านได้รับความเสียหายอย่างชัดเจน ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนที่สัญจรไปมาในขณะนี้

ด้าน นายนิคม พุทธา ผอ

.โครงการจัดการลุ่มน้ำปิงตอนบน และเป็นผู้ประสานงานมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพันธุ์พืชฯ ภาคเหนือ ซึ่งเป็นผู้รับหนังสือร้องเรียนของชาวบ้านปางโม่ กล่าวว่า แปลงปลูป่าดังกล่าวมีเนื้อที่ประมาณ 800 ไร่ มีสถานะเป็นป่าสงวนแห่งชาติ อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยปลูกสร้างบำรุงสวนป่าของกรมป่าไม้ ซึ่งเริ่มมีการปลูกไม้สักมาตั้งแต่ปี 2523 ช่วงนั้นไม้สักกำลังโต ดูดน้ำมากจนทำให้ลำห้วยแถบนั้นแห้งขอด ชาวบ้านทำนาไม่ได้ แต่เมื่อผ่านไประยะหนึ่งต้นสักเริ่มโตอัตราการดูดน้ำก็ลดลง น้ำท่าในลำห้วยก็เริ่มมากขึ้นจนเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ต่อมากรมป่าไม้ได้โอนสวนป่าเหล่านั้นให้ ออป.ซึ่งช่วงปี 2549 ออป.ได้ตัดไปแล้วประมาณ 2,000 ต้น จากทั้งหมดที่จะตัด 4,000 ต้น ขณะที่ชาวบ้านก็คิดว่า ออป.ทำอย่างนั้นไม่ได้เพราะจะเกิดปัญหาความแห้งแล้งขึ้นอีก

"

ที่ทางออป.อ้างว่า ได้ทำตามระเบียบ เป็นการตัดสางไม้ที่มีความหนาแน่นออกเท่านั้น แต่เมื่อเข้าไปดูแล้ว มันไม่ใช่ลักษณะของการตัดสาง แต่เป็นการตัดมั่ว ตัดแม้กระทั่งในบริเวณพื้นที่ลาดชัน และบริเวณลำห้วยซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำของลำห้วยสาขาที่ไหลลงแม่น้ำปิง และนอกจากมีการตัดไม้ไม่ถูกตามหลักวิชาการแล้ว ยังมีการนำรถแทรกเตอร์เข้าไปดำเนินการชักลาก จนทำให้ถนนเส้นทางสัญทางสัญจรได้รับความเสียหายอีกด้วย"

"

ข้อเสนอของชาวบ้านคือไม้อยากให้ ออป.ตัดไม้เพราะเกรงว่าจะเกิดปัญหาความแห้งแล้ง อีกทั้งที่ผ่านมา ปัจจุบันป่ามันก็เริ่มฟื้นตัว ชาวบ้านเองก็ช่วยกันดูแลรักษาและพร้อมที่จะทำเป็นป่าชุมชน ซึ่งตรงนี้ผมเห็นว่ากระทรวงทรัพย์ฯน่าจะดีใจที่ชาวบ้านตระหนักในการช่วยฟื้นฟู ดูแลรักษาป่า ดังนั้นกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นผมจึงทำหนังสือเสนอไปทางนายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพย์ฯแล้วเพื่อให้พิจารณาทบทวนยกเลิกโดยการสั่งการไปที่ ออป.ให้ยุติการดำเนินการ และขอให้มีการดูแลรักษาผืนป่าร่วมกับชาวบ้าน ไม่ใช่ชาวบ้านดูแลรักษาป่า แต่ออป.เป็นฝ่ายตัดไม้เสียเอง" นายนิคม กล่าว

นายนิคม ยังได้เสนอให้มีการประชุมหารือ โดยขอเข้าไปเป็นตัวกลาง ซึ่งอาจจะจัดเวทีประชาคมขึ้นที่ อบต.ปิงโค้ง โดยเชิญตัวแทน ออป.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม แล้วให้ชาวบ้านที่จะได้รับผลกระทบในแต่ละหมู่บ้าน มาร่วมประชุมแสดงความคิดเห็น เพื่อหาทางออกร่วมกันโดยเร็ว


ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันอังคารที่

27 ..นี้ ตัวแทนชาวบ้านปางโม่และหมู่บ้านใกล้เคียงจะเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนถึงนายวิชัย ศรีขวัญ ผู้ว่าราชการ จ.เชียงใหม่ ให้พิจารณาทบทวนโครงการ และสั่งการไปยัง ออป.ให้ยุติการดำเนินการด้วย.

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท