Skip to main content
sharethis


คำแถลง


กรณีรัฐบาลชั่วคราวมีมติลงนาม

ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น

๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ


 


มติคณะรัฐมนตรี ก้าวล่วงพระราชอำนาจ ละเมิดบิดเบือนการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว และ ทำลายหลักนิติธรรมหมดสิ้น



มติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ เห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศแจ้งฝ่ายญี่ปุ่นในหลักการว่าฝ่ายไทยพร้อมจะลงนาม JTEPA (ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น) นับเป็นความผิดพลาดในการบริหารราชการของรัฐบาล เพราะเป็นการก้าวล่วงต่อพระราชอำนาจ ละเมิดบิดเบือนการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว และจารีตประเพณีการปกครอง ตลอดจนทำลายหลักนิติธรรม (rule of law) ถึงคราวต้องแสดงความรับผิดชอบทางการเมือง และ ต่อประชาชนเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในทางจริยธรรมคุณธรรมทางการเมืองทั้งนี้เนื่องจาก


. รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลชั่วคราว (interim-government) เข้ามาบริหารประเทศเป็นการชั่วคราวในช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมือง ขณะทำกติกาของบ้านเมืองใหม่ ดังแสดงให้เห็นจากรัฐธรรมนูญชั่วคราว พุทธศักราช ๒๕๔๙ ก็ไม่ได้บัญญัติหลักการทางกฎหมายในการที่ประเทศจะเข้าไปทำความตกลงกับต่างประเทศ อันเป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นเป็นอย่างดีว่าในภาวะช่วงเปลี่ยนผ่านเช่นนี้ รัฐบาลชั่วคราวที่เข้ามาบริหารมีข้อจำกัดในการบริหารราชการแผ่นดินได้เพียงใด และ อะไรควรหรือไม่ควรกระทำ ในประการสำคัญการกระทำของรัฐบาลหรือฝ่ายบริหารอันเป็นลักษณะที่ไม่เป็นเรื่องทั่วไปนั้น ต้องตั้งอยู่บนหลักความชอบด้วยกฎหมาย และ หลักนิติธรรม เป็นพื้นฐาน แต่ในกรณีการสร้างข้อผูกพันระหว่างประเทศ (International obligations) กรณีการลงนามในความตกลง JTEPA กับญี่ปุ่นนั้น ผู้นำและคณะรัฐบาลที่ดียึดมั่นใน กฎหมาย หลักนิติธรรม มีจริยธรรมและวุฒิภาวะทางการเมือง จะไม่กระทำเช่นนี้เลย จึงเท่ากับว่าถ้อยแถลงของนายกฯ ในอดีตที่ผ่านมาช่วงเข้ารับตำแหน่ง และที่สำคัญเมื่อครั้งที่เคยเปล่งวาจาถวายสัตย์ปฏิญาณตอนเข้าทำหน้าที่นั้นหมายความว่าอย่างไร

. ขอฟันธงว่า กรณีมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ เห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศแจ้งฝ่ายญี่ปุ่นในหลักการว่าฝ่ายไทยพร้อมจะลงนาม JTEPA (ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น) นั้น ไม่ใช่เป็นเรื่อง การบริหารโดยทั่วไปในกิจการสร้างความสัมพันธ์กับนานาประเทศ อันจะเป็นอำนาจหน้าที่โดยอิสระที่รัฐบาลพึงกระทำได้โดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แต่กรณีนี้เป็นการสร้างภาระผูกพันระหว่างประเทศ ต่อคนไทยทั้งปวง ต่อรัฐบาลและรัฐสภาต่อ มา หรือแม้แต่พระราชอำนาจที่จะต้องถูกจำกัด หากไม่ใช่กิจการการบริหารเป็นการทั่วไปที่รัฐบาลพึงกระทำได้ ถ้ารัฐบาลจะกระทำก็ต้องตรวจสอบว่ารัฐธรรมนูญให้อำนาจบัญญัติรับรองไว้หรือไม่ก่อน หากไม่บัญญัติรับรองไว้อย่างแจ้งชัดก็ไม่สามารถทำได้ รัฐบาลนี้กระทำได้ก็เป็นเพียงการนำเอา JTEPA มาพิจารณาทบทวน และเปิดเผยรับฟังเสียงสะท้อนของสังคมอย่างกว้างขวาง อันเป็นการจัดการบริหารที่ดีตามหลักธรรมรัฐ (good governance)

. การที่รัฐบาลได้มีมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวนั้น อาจกระทบกระเทือนต่อพระราชอำนาจ และ แทบไม่น่าเชื่อว่าจะสามารถกระทำได้เพียงนี้ กล่าวคือ การไปลงนามใน JTEPA กับประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้ข้อตกลงหลักการต่าง ทุกตัวอักษรผูกมัดประเทศไทยและคนไทยต่อไปในอนาคตไม่ใช่เรื่อง การเล่นขายขนมครกแน่ แต่นี่ถือเป็นการกระทำของรัฐ หรือ State actor ตามนัยกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งจะผูกมัดประเทศไทย สถาบันและองค์กรทางการเมืองแม้แต่ศาลทุกศาลในประเทศไทย อันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอำนาจอธิปไตยของประเทศที่ต้องลดน้อยถอยลงไป เมื่อรัฐธรรมนูญชั่วคราว .. ๒๕๔๙ ไม่ได้ให้อำนาจไว้ รัฐบาลอาจจะอ้างว่าทำตามประเพณีตามรัฐธรรมนูญ หากเป็นเช่นนี้จริง (ผมไม่เห็นด้วย) การทำความตกลงนั้น ในประเพณีรัฐธรรมนูญก็เป็นพระราชอำนาจอยู่ดี แต่ทำไมมติคณะรัฐมนตรีจึงก้าวล่วง ไม่ได้นำความขอพระบรมราชวินิจฉัยขอความเห็นชอบก่อนเลย ก่อนที่จะให้ผลการลงนามไปสร้างข้อผูกมัดต่อคนไทยในอนาคต

. มติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ที่รัฐบาลนี้ได้ร่วมกันมีมติไปเมื่อวานนี้จึง ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ประเพณีการปกครองและรัฐธรรมนูญ หลักนิติธรรม (rule of law) อันมีลักษณะที่อาจก้าวล่วงต่อพระราชอำนาจ จึงสิ้นผลบังคับในทางบริหาร ซึ่งอยู่ในอำนาจตามกฎหมายของ "ศาลรัฐธรรมนูญ" ที่จะมาปกป้อง พระราชอำนาจ สิทธิผลประโยชน์พึงมีพึงได้ของชาติ และ ประชาชนไทยต่อไป

หมายเหตุ

เจริญ คัมภีรภาพ

เป็น รองอธิการบดีฝ่ายทรัพย์สินทางปัญญา และภูมิปัญญาท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยศิลปากร แถลง เมื่อ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ณ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง


เสนอถอดถอน"คณะเจรจา"เอฟทีเอไทย

-ญี่ปุ่น เอ็นจีโอ11กลุ่มเตรียมประท้วงใหญ่

http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=7030&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net