Skip to main content
sharethis

ประชาไท - 9 ธ.ค. 2549 "อ๊อกซ์แฟม" (Oxfam International) ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ ที่ให้ความช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์แก่ผู้ประสบปัญหาความยากจน ความเดือดร้อน และความอยุติธรรม ในประเทศต่างๆ กว่า 100 ประเทศทั่วโลก รายงานว่า บริษัทยาข้ามชาติกำลังดำเนินมาตรการเชิงรุกต่อประเทศกำลังพัฒนาเพื่อคุ้มครองการผูกขาด ในสิทธิบัตรยาของตนในประเทศต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยในประเทศกำลังพัฒนาไม่สามารถที่จะเข้าถึงยาได้ แม้ว่าในข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศจะมีบทบัญญัติให้ประเทศต่างๆ สามารถดำเนินมาตรการที่ เหมาะสมเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะทางด้านสาธารณสุขก็ตาม


 


ถ้าความพยายามของบริษัทเหล่านี้ประสบความสำเร็จ จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคนยากจน เนื่องจากจะเป็นการบังคับให้ประเทศเหล่านี้ต้องพึ่งพิงต่อการช่วยเหลือทางการเงินในรูปแบบของการบริจาค เพื่อที่จะทำให้ผู้ป่วยในประเทศนั้นๆ สามารถที่จะเข้าถึงยาได้ แทนที่จะเปิดโอกาสให้ประเทศกำลังพัฒนา


สามารถที่จะผลิตยาชื่อสามัญขึ้นใช้ในประเทศ


 


อินเดีย ไทย และฟิลิปปินส์กำลังมีข้อพิพาทกับบริษัทยา 3 บริษัท ได้แก่ Novartis, Merck และ Pfizer. ซึ่งบริษัทเหล่านี้พยายามที่จะคุ้มครองการผูกขาดในสิทธิบัตรยาของตนอันทำให้ประเทศกำลังพัฒนาไม่สามารถใช้มาตรการต่างๆ ซึ่งบัญญัติไว้ในกฏหมายการค้าระหว่างประเทศได้


 


"ข้อพิพาทเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าระบบทรัพย์สินทางปัญญาในระดับโลกนั้น ไม่สามารถวางกลไก ที่จะปกป้องผลประโยชน์สาธารณะ อันได้แก่ระบบสาธารณสุขของประชาชนได้ ตราบใดที่บริษัทยาเหล่านี้


ยังพยายามอย่างต่อเนื่องในการยับยั้งประเทศกำลังพัฒนาในการใช้มาตรการป้องกันทางด้านสาธารณสุขของ ประเทศ" Celine Chevariat หัวหน้าโครงการรณรงค์ "ทำการค้าให้เป็นธรรม" (make trade fair) กล่าว


 


"ประเทศกำลังพัฒนาควรที่จะยืนหยัดในจุดยืนของตนในสร้างหลักประกันในการเข้าถึงยาของประชาชนในประเทศ เราขอแสดงความชื่นชมต่อรัฐบาลไทยในการยืนหยัดในประเด็นดังกล่าวและได้ดำเนินการต่างๆ เพื่อสร้างหลักประกันแก่ประชาชน" Celine กล่าว


 


ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้ออกมาตรการบังคับสิทธิแก่ยาต้านไวรัสเอชไอวี/เอดส์ ชื่อ efavirenz ซึ่งบริษัท Merck เป็นเจ้าของสิทธิบัตร บริษัท Merck จำหน่ายยาดังกล่าวในราคา 41 เหรียญสหรัฐ ต่อผู้ป่วยหนึ่งคนต่อเดือน ในขณะที่ราคาของยาชื่อสามัญจะมีราคาอยู่ที่ 22 เหรียญต่อผู้ป่วยหนึ่งคนต่อเดือน


 


การใช้มาตรการบังคับสิทธินี้จะทำให้ประเทศไทยสามารถนำเข้ายาชื่อสามัญราคาถูกจากประเทศอินเดียได้ ควบคู่ไปกับการพัฒนาและวิจัยการผลิตยาชื่อสามัญ ตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้ใช้ยาชื่อสามัญเพื่อทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงยาได้มากขึ้น เนื่องจากยาดังกล่าวมีราคาที่ถูกกว่ายาที่ติดสิทธิบัตร จนทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศอันดับต้นๆ ในโลกที่สามารถให้การรักษา แก่ผู้ป่วยได้อย่างดีในระดับหนึ่ง ดังจะเห็นได้จากจำนวนผู้ป่วยกว่า 85,000 คนที่สามารถได้รับการรักษาได้


 


อย่างไรก็ดี เพื่อที่จะดำเนินการรักษาได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพแก่ผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อรายใหม่ ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องใช้ยาชื่อสามัญในผลิตภัณฑ์ยาตัวใหม่ๆ


 


บริษัท Merck ได้แสดงความขัดข้องต่อการใช้มาตรการบังคับสิทธิดังกล่าว และได้เสนอที่จะลดราคาให้ถูกลง หรืออนุญาตให้ใช้สิทธิ อย่างไรก็ดี มาตรการดังกล่าว ก็ไม่สามารถเป็นหลักประกันที่ยั่งยืนในการเข้าถึงยาของประชาชน


 


การเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันผลิตยาชื่อสามัญเป็นวิธีการเดียวที่ส่งผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง ในการทำให้ราคายาถูกลง จากราคา 10,000 เหรียญสหรัฐต่อผู้ป่วยหนึ่งคนต่อปี เป็น 130 เหรียญต่อปี แม้ว่าประเทศกำลังพัฒนาจะสามารถใช้มาตรการบังคับสิทธิได้ตามกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ แต่ในทางปฏิบัติ ประเทศเหล่านี้ก็ไม่สามารถที่จะใช้ได้อย่างจริงจัง เนื่องจากบริษัทยาและประเทศที่ร่ำรวย


โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้ผลักดันให้มีการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในระดับที่สูงมากขึ้น ในประเทศกำลังพัฒนา


 


ในประเทศฟิลิปปินส์ บริษัทยา Pzifer ได้ฟ้องร้องรัฐบาลฟิลิปปินส์์เพื่อคุ้มครองการผูกขาดในสิทธิบัตรยาลดความดัน Norvasc Pzifer มีรายได้จากการจำหน่ายยาดังกล่าวกว่า 60 ล้านเหรียญ สหรัฐต่อปี โดยจำหน่ายในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดในประเทศอื่นเกือบสองเท่า แม้ว่าในฟิลิปปินส์ โรคหัวใจจะเป็น


โรคที่เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการเสียชีวิตของคนในประเทศก็ตาม ด้วยราคายาที่สูงดังกล่าว ประชากรมากกว่าร้อยละ 40 ของประเทศไม่สามารถที่จะเข้าถึงยาดังกล่าวได้


 


รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้นำเข้ายา Norvasc จากประเทศอินเดีย เนื่องจาก Pzifer ได้ขายยาดังกล่าว ในราคาที่ถูกกว่าในประเทศของตน โดยรัฐบาลได้วางแผนที่จะผลิตยาดังกล่าวในปี 2007 ภายหลังที่สิทธิบัตรยา


จะหมดความคุ้มครอง การผลิตยาชื่อสามัญดังกล่าวจะให้ราคายาลดลงกว่าร้อยละ 90 แม้ว่าการนำเข้า ยาดังกล่าวจะกระทำได้ตามกฎหมายของฟิลิปปินส์และกฎหมายการค้าระหว่างประเทศก็ตาม บริษัท Pzifer ก็ยังยืนยันที่จะดำเนินการฟ้องร้องคดีต่อศาล รวมทั้งได้เรียกร้องค่าเสียหายจากการกระทำของรัฐบาลด้วย


 


ถ้า Pzifer ชนะในคดีดังกล่าว จะทำให้การคุ้มครองสิทธิบัตรยาในฟิลิปปินส์เป็นไปในระดับที่สูงมากขึ้น และจะเป็นการส่งเสริมให้บริษัทยาต่างๆ หันมาดำเนินการในชั้นศาลเพื่อคุ้มครองสิทธิบัตรยาของตนเอง มากข้ึนเพื่อยับยั้งการผลิตยาชื่อสามัญ Pzifer ได้อ้างว่าตนสามารถที่จะลดราคายาดังกล่าวลงมาได้กึ่งหนึ่ง แต่การลดราคาดังกล่าวก็ยังทำให้ยาดังกล่าวมีราคาที่สูงกว่าราคาในอินเดียอยู่ดี หาก Pzifer ชนะคดี ผู้ป่วยจำนวน10 รายและภาคประชาสังคมได้ประกาศที่จะดำเนินการต่างๆ เพื่อโต้ตอบการตัดสินคดีดังกล่าว


 


ในประเทศอินเดีย ประเทศซึ่งเป็นผู้นำในการผลิตยาชื่อสามัญของโลก รัฐบาลอินเดียก็กำลังถูกฟ้องร้อง โดยบริษัท Novartis คดีดังกล่าวเริ่มต้นในปี 2005 เมื่อผู้ป่วยชาวอินเดียใช้มาตรการป้องกันทางสาธารณสุข ในตัวยาต้านมะเร็ง Glivec ซึ่งทำให้บริษัทยาของอินเดียสามารถผลิตยาชื่อสามัญในราคา 2,700 เหรียญสหรัฐ ต่อผู้ป่วยหนึ่งคนต่อปี ในขณะที่ Novartisas ซึ่งผูกขาดสิทธิยาดังกล่าวจำหน่ายในราคา 27,000 เหรียญ สหรัฐ


ต่อผู้ป่วยหนึ่งคนต่อปี


 


Novartis ได้อ้างว่าผู้ป่วยกว่าร้อยละ 99 ในอินเดียสามารถที่จะเข้าถึงยาดังกล่าวได้ฟรี พร้อมๆกับฟ้องคดี ต่อศาลเกี่ยวกับการตีความกฎหมายในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและการดำเนิน การในการคุ้มครองสาธารณสุขของรัฐบาลอินเดีย คดีดังกล่าวอาจเป็นการทำลายอุตสาหกรรม การผลิตยาชื่อสามัญในอินเดีย ซึ่งกว่าร้อยละ67 ของยาเหล่านี้ส่งออกไปยังประเทศกำลังพัฒนา


 


"ในข้อพิพาท 3 คดีดังกล่าว บริษัทยาได้อ้างว่าสามารถลดราคายาหรือบริจาคยาให้แก่ผู้ป่วยที่ยากจนได้ แม้ว่าการบริจาคยาจะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้ในระดับหนึ่ง แต่มาตรการดังกล่าวก็ไม่ได้เป็นมาตรการ


ที่ยั่งยืนในระยะยาวในการเข้าถึงยา ประเทศต่างๆ ควรที่จะมีเสรีในการดำเนินการคุ้มครองสุขภาพของ ประชาชน โดยการส่งเสริมให้มีการผลิตยาชื่อสามัญและกำหนดราคายาให้มีราคาถูกลงที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้" Celine กล่าว


 


"ประเทศฟิลิปปินส์ ไทย และอินเดียได้ดำเนินมาตรการสำคัญในการคุ้มครองสาธารณสุขในประเทศ เพื่อที่จะลดราคายาและแก้ปัญหาสาธารณสุขของประเทศ" Celine กล่าว


"ประเทศเหล่านี้ควรที่จะรักษาจุดยืนอันเข้มแข็งของตนต่อแรงกดดันจากบริษัทยา และบริษัทยาควรที่จะถอนการฟ้องร้องคดีหรือข้ออ้างต่างๆ ของตน"


 


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net