Skip to main content
sharethis


ประชาไท 30 .. 49 - สืบเนื่องจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ผ่านวาระแรกของร่างพ...ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.. ... ที่กระทรวงไอซีทีเสนอผ่านคณะรัฐมนตรีไปแล้วเมื่อวันที่ 15 .. ที่ผ่านมา


 


วานนี้ที่คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาศาสตร์ มีงานเสวนาเรื่อง "ร่าง พ...ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ภายใต้รัฐบาลรัฐประหาร: ทางมืดหรือสว่างของสิทธิเสรีภาพในโลกไร้พรมแดน" ซึ่งจัดขึ้นโดย กองทุน ศ.คนึง ฦๅไชย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, เครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร, มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และหนังสือพิมพ์อินเตอร์เน็ตประชาไท


 


นายจอน อึ๊งภากรณ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภากทม. กล่าวว่า ข้อเท็จจริงที่ต้องพูดคือ รัฐบาลนี้ควรจะแค่รักษาการ ไม่ใช่ออกกฎหมาย ซึ่งมีสามประเด็นที่สำคัญคือ หนึ่ง สภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่มีความชอบธรรมในการออกกฎหมาย สอง ขณะนี้กฎหมายที่มีผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้างกำลังถูกผลักเข้าสภา และสาม คือ สังคมไม่ค่อยจะสนใจกฎหมายนี้ เพราะยังไม่เห็นผลกระทบ และนี่คือเรื่องที่ต้องถกเถียงกันในเชิงประชาธิปไตย


 


เขากล่าวว่า สภาที่มีอยู่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งกลไกระบอบรัฐสภาที่ผ่านมา แม้จะเป็นสภาที่มีสมาชิกที่ขายตัวก็ตาม แต่ตัวอย่างหนึ่งที่นึกถึงได้คือ เมื่อคราวที่ร่างพ...ทางหลวงเข้าสภา และผ่านสภาผู้แทนราษฎรได้โดยไม่มีเสียงทักท้วง แต่เมื่อเข้าวุฒิสภาแล้วมันกลายเป็นเรื่องใหญ่ เพราะวุฒิสภาพยายามตัดมาตราที่เป็นปัญหา ที่ห้ามมิให้ชุมนุมในที่สาธารณะ


 


เมื่อวุฒิสภาตัดมาตรานั้นแล้ว สภาผู้แทนฯ ไม่เห็นด้วย จึงตั้งกรรมาธิการร่วม ซึ่งกรรมาธิการร่วมก็ยังคงไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขของวุฒิสภา ส..ส่วนหนึ่งจึงส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ปรากฏว่าศาลตีความว่ามาตราดังกล่าวในร่างพ...ขัดกับรัฐธรรมนูญ เป็นอันว่าร่างพ...นั้นจึงตกไป


 


แต่กับกฎหมายที่เข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาตินั้น มีกระบวนการแตกต่างออกไป


 


อดีตสมาชิกวุฒิสภากทม.ย้ำว่า ที่ผ่านมา อินเตอร์เน็ตเป็นพื้นที่ที่มีเสรีภาพที่สุด ทั้งในประเทศประชาธิปไตยและประเทศกำลังพัฒนา แม้แต่ในประเทศจีนที่ปิดกั้นเว็บไซต์ อินเตอร์เน็ตก็ยังเป็นพื้นที่ที่มีเสรีภาพมากที่สุด


 


นายจอนกล่าวว่า ในร่างพ...ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ฉบับนี้ เพียงแค่อ่านมาตรา 13 ก็เห็นแล้วว่า เป็นร่างกฎหมายที่จะทำให้เสรีภาพทางอินเตอร์เน็ต แย่กว่าสื่อสิ่งพิมพ์หลายเท่า


 


มาตรา 13 ของร่างพ...ระบุว่า ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ดังต่อไปนี้


            (1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเป็นของบุคคลที่สามหรือจัดทำโดยบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้บุคคลที่สามนั้นหรือประชาชนเสียหาย


            (2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะทำให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกกับประชาชน


            (3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามประมวลกฎหมายอาญาข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้


            (4) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันมีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้


            (5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตาม (1)(2)(3) หรือ (4) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


 


            ถ้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันลามกตาม (4) เป็นภาพของบุคคลอายุไม่เกินสิบแปดปี ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


 


นายจอนยกตัวอย่างว่า หากตีความตามมาตรา 13(2) แล้ว หากเพียงมีข่าวลือในอินเตอร์เน็ต เช่น ข่าวลือว่าอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร กำลังจะกลับมาเมืองไทย ก็อาจมีความผิดตามมาตรานี้ได้ หรือแม้แต่มีข่าวลือว่าจะเกิดรัฐประหารก็มีความผิดตามข้อนี้แล้ว


 


เขากล่าวว่า เมื่อพูดว่าเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศนั้น มันกว้างมาก และไม่รู้ว่าความมั่นคงคืออะไร "ที่ผมกล่าวว่ารัฐบาลนี้ไม่ชอบธรรม จะกระเทือนต่อความเสียหายและความมั่นคงหรือเปล่า"


 


จอนกล่าวว่า หากมองในมุมของคนที่เคยเป็น ส.. ต้องแปรญัตติ มาตรา 13 นี้จะต้องตัดทิ้งไปเลย อย่างไรก็ดี ร่างกฎหมายฉบับนี้จะแก้ที่รายมาตรายากมาก สิ่งที่ต้องทำคือต้องต่อสู้เพื่อคว่ำกฎหมายฉบับนี้ ให้รอรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ต้องมีกระบวนการที่ถามความเห็นวงกว้างในสังคม แต่ทุกกฎหมายที่เข้าสภา กลับทำแบบงุบงิบ ไม่เปิดประชาพิจารณ์


 


"ทางออกเดียวของกฎหมายเอาผิดคอมพิวเตอร์ คือ ต้องมีกระแสภาคประชาชน" นายจอนกล่าว


 


นายจอนกล่าวต่อ ว่าข้อเท็จจริงคือ นี่เป็นกฎหมายวางกับดักที่จะเลือกปฏิบัติ เหมือนกฎอัยการศึก คือ ถ้าเมื่อไรจะเลือกใช้ก็จะใช้ ซึ่งอะไรที่ถูกเพ่งเล็งก็มีแนวโน้มจะโดนคดี นี่คือการเลือกปฏิบัติ และนี่เป็นกฎหมายที่วางอำนาจกว้างขวางเพื่อเลือกใช้กับศัตรูทางการเมือง


 


ที่น่าสนใจคือ ความผิดไม่ได้ผิดแต่คนเผยแพร่เท่านั้น แต่ผิดที่ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider - ISP) ด้วย


 


"ถ้าเป็นสุขภาพ เราจะบอกว่าระบบดีมาก คือ ป้องกันดีกว่ารักษา แต่นี่เป็นการปรามการวิจารณ์ทางการเมือง ซึ่งผมคิดว่า มันเป็นกฎหมายที่เลวร้ายมาก"


 


นายจอนเสนอแนะว่า เขาเห็นด้วยที่จะต้องมีการควบคุม เพราะไม่เชื่อในเรื่องเสรีภาพร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เขาเห็นว่า กรณีนี้ควรใช้วิธีขยายความกฎหมายหมิ่นประมาทให้ครอบคลุมไปยังสื่ออินเตอร์เน็ต


 


ขณะที่กฎหมายที่เกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้น เขามองว่ามันคือเครื่องมือที่ใช้ในการโจมตีฝ่ายตรงข้าม ซึ่งต้องปรับใช้ให้เข้ากับสังคมประชาธิปไตย เหมือนที่ในหลวงก็ตรัสว่า วิจารณ์ได้


 


"สภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่ชอบธรรม กฎหมายนี้ก็ไม่ชอบธรรม และจะผิดหวังมากถ้าภาคประชาชนที่เข้าไปอยู่ใน สนช. จะไม่ประท้วงอย่างถึงที่สุดในกฎหมายฉบับนี้" นายจอนกล่าว



 


 


เร่งดันก..เข้าสภาให้ได้ ค่อยตามแก้ทีหลัง


 


ด้าน รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า กฎหมายเอาผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องจำเป็นต้องทำ เพราะในอินเตอร์เน็ต มีความร้ายอยู่


 


"บางร่างกฎหมาย ขอให้เข้าสภาไปก่อน แล้วค่อยไปเปลี่ยนแปลงข้างใน เพราะบางที เข้ากฤษฎีกาแล้วมันเละ"


 


รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กล่าวว่า ด้วยกฎหมายอาญา มีความจำเป็นต้องกำหนดโทษ กำหนดความผิด หรือทำให้ปริมาณด้านมืดของอินเตอร์เน็ตลดลง อีกทั้งก่อนหน้านี้ กฎหมายฉบับนี้เคยมีการทำประชาพิจารณ์มาแล้วหลายหน


 


 


ห้ามไว้ก่อน ไม่ต้องพูดถึงสิทธิสื่อสาร


 


นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ผู้จัดงานซึ่งเข้าร่วมฟังการเสวนา กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า คนที่เข้ามาร่างกฎหมายฉบับนี้เริ่มต้นด้วยวิธีคิดที่กลัวเกินเหตุ จึงพยายามปิดกั้นจนลืมเรื่องสิทธิการสื่อสาร เช่นการที่ยอมให้เจ้าหน้าที่รัฐสามารถยึดคอมพิวเตอร์ได้ ถือเป็นการให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐมากเกินไป


 


นายนิมิตร์กล่าวว่า ถ้าเทียบกับรัฐธรรมนูญปี 2540 ซึ่งให้สิทธิและเสรีภาพในการสื่อสาร กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้ว สิ่งที่กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้พูดถึงคือ การคุ้มครอง 'คน' และ 'คนทำ' ที่จะสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต


 


"รัฐธรรมนูญปี 2540 คุ้มครองคนทำ บนวิถีที่ให้ใช้สิทธิเสรีภาพอย่างเต็มที่ ด้วยปรัชญาวิธีคิดแบบนี้ คนร่างกฎหมายฉบับนี้ก็ต้องมีด้วย ไม่งั้นก็มีแต่การห้าม ก็จะพิกลพิการ"


 


นิมิตร์ถามชวนให้วงเสวนาคิดต่อว่า ไม่ต้องมีกฎหมายฉบับนี้ได้ไหม แต่ไปเพิ่มเติมในกฎหมายฉบับอื่น เช่น กฎหมายที่เกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ เขายังย้ำในตอนท้ายว่า สิ่งเดียวที่รับไม่ได้คือ เจตนารมณ์ที่ไม่รับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน


 


 


จะมั่นใจในเจ้าหน้าที่รัฐได้หรือ


 


ด้านนายอิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ เว็บมาสเตอร์ www.blognone.com บลอกข่าวไอทีของไทย กล่าวถึงประเด็นที่พบในร่างกฎหมายฉบับนี้ ที่พูดถึงการกระทำความผิด 3 เรื่อง คือ การเจาะเข้าระบบแล้วทำให้เสียหาย การยุ่งกับข้อมูลแล้วทำให้ข้อมูลเสียหาย และการควบคุมเนื้อหาของข้อมูล


 


เขามองว่า เห็นด้วยว่าจำเป็นต้องมีการควบคุมบ้าง โดยยกตัวอย่างว่า หากตนเองถูกเจาะระบบข้อมูล ก็ต้องไม่ยอมแน่นอน ปัญหาของกฎหมายนี้คือ มีความตั้งใจดี แต่การเขียนไม่ครอบคลุม เช่น ในเรื่องพื้นฐานที่สุด คือ เรื่องระบบคอมพิวเตอร์ ในตัวกฎหมายก็ไม่ได้ชี้ชัดว่า ระบบคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร แน่นอนว่าเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ในข่าย แต่ถ้าเป็น มือถือ IPOD MP3 หรือเกมบางประเภท อุปกรณ์เหล่านี้ก็มีระบบปฏิบัติการไม่ต่างกัน แล้วกฎหมายครอบคลุมหรือไม่


 


อีกประเด็นที่มีความสำคัญคือ ขณะที่เราเห็นว่า กฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่มาก แต่สิ่งที่ไม่อาจจะแน่ใจได้ คือ เจ้าหน้าที่มีความรู้ความสามารถพอหรือไหม ซึ่งก็พบว่า ไม่ค่อยมีคนแน่ใจ


 


นอกจากนี้ กฎหมายนี้ ก็ยังไม่ได้พูดถึงตัวระบบเครือข่ายที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ และไม่ได้ให้ความชัดเจนเรื่องความครอบคลุมในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ด้วย


 


 


หื่นทำความดี เร่งดันก..เข้าสภา


 


นายสมบัติ บุญงามอนงค์ มูลนิธิกระจกเงา และผู้จัดทำเว็บไซต์เครือข่าย 19 กันยาต้านรัฐประหาร กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้จะเป็นดาบในการคุมการสื่อสารภาคประชาชนที่หลงเหลืออยู่ ซึ่งการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต ยังไม่เคยปรากฏอยู่ในคู่มือของการัฐประหารมาก่อน ดังที่คณะรัฐประหารยุคนี้จึงตื่นตระหนกมาก เพราะเมื่อไปอ่านอินเตอร์เน็ต ก็พบว่า มีกลุ่มคนต่อว่าเขา และอาจรวมไปถึงคนจากทั่วโลกด้วย ซึ่งวิธีแก้ปัญหาของคนกลุ่มนี้คือ ต้องไปศึกษาการใช้อินเตอร์เน็ตเสีย


 


เขากล่าวต่อว่า ในมาตรา 3 ของกฎหมายฉบับนี้ น่ากลัวว่าจะทำให้ธุรกิจให้บริการพื้นที่ (Hosting) สูญพันธุ์ไป เพราะคนต้องหนีไปใช้บริการพื้นที่ของต่างประเทศแน่นอน เนื่องจากการกระทำความผิดนั้น ผู้ให้บริการพื้นที่ก็มีความผิดด้วย


 


            มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้


            "ระบบคอมพิวเตอร์" หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดชุดคำสั่งและแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ


            "ข้อมูลคอมพิวเตอร์" หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ หรือชุดคำสั่ง บรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้


            "ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์" หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของบริการ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น


            "ผู้ให้บริการ" หมายความว่า


            () ผู้ซึ่งให้บริการแก่บุคคลทั่วไปในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น ทั้งนี้โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเองหรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น


            () ผู้ซึ่งให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลตาม ()


 


            "ผู้ใช้บริการ" หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม


            "พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้


            "รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้


 


นายสมบัติกล่าวว่า เขาได้มีโอกาสพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งดูแลคดีด้านคอมพิวเตอร์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก็พบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจเองก็ยังเป็นห่วงและเห็นว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้ซึ่งถูกหยิบขึ้นมาภายใต้สถานการณ์การประกาศกฎอัยการศึก มันถูกกำหนดให้ใช้ในสถานการณ์แบบนี้ และมันจะเป็นเครื่องมือคุกคามประชาชนอย่างแน่นอน


 


นั่นคือ รัฐบาลมีมีทั้งอาวุธ มีทั้งอำนาจ แล้วยังมีเครื่องมือในการคุกคามสิทธิของประชาชนด้วย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ใครต่อใครต่างก็พยายามผลักดันกฎหมายที่เป็นไปได้ยากในยุคอื่นๆ เข้าในสภาชุดนี้ ซึ่งแม้จะเป็นกฎหมายที่ดี แต่มีที่มาที่ไร้ความชอบธรรม น่าจะเรียกผู้พยายามผลักดันกฎหมายเหล่านั้นได้ว่า เป็นผู้ที่ "หื่นทำความดี"

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net