Skip to main content
sharethis

ที่พิเศษ ๐๐๑/๒๐๐๖

 

                                                                         วันที่ ๑๒ มกราคม ค.ศ.๒๐๐๖

 

ฯพณฯประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุซ

ประเทศสหรัฐอเมริกา

วอชิงตัน ดี.ซี. ๒๐๕๒๐

 

เครือข่ายองค์กรประชาธิปไตยและองค์กรประชาชนแห่งประเทศไทย เป็นตัวแทนภาคประชาสังคมไทยที่มาจากสถาบันวิชาการ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เกษตรกร สมัชชาคนจน สหภาพแรงงาน เครือข่ายองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น องค์กรพัฒนาเอกชน(เอ็นจีโอ) กลุ่มทางสังคมและกลุ่มผลประโยชน์ของประชาชนไทย ผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้นโยบายและการบริหารที่จะมีผลทางปฏิบัติตามข้อตกลงการค้าเสรี ขอส่งจดหมายนี้เพื่อแสดงความวิตกกังวล และคัดค้านต่อสิ่งที่นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรและคณะผู้เจรจาฝ่ายไทย กำลังดำเนินการเจรจาตกลงกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เพื่อจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีสหรัฐอเมริกา-ไทย ตามกำหนดการในวันที่ ๙-๑๑ มกราคม ค.ศ.๒๐๐๖

 

ด้วยกิตติศัพท์อันเลื่องลือของสหรัฐอเมริกา ในฐานะเป็นประเทศที่ส่งเสริมหลักการประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน รวมทั้งนโยบายพื้นฐานด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน เราจึงเชื่อมั่นและมุ่งหวังอย่างเต็มเปี่ยมว่า หลักการทางการเมืองทั้ง๒ประการดังกล่าวนี้ จะได้รับการเคารพและการนำมาใช้เป็นหลักในการเจรจากับประเทศคู่สัญญาของสหรัฐอเมริกาด้วย

 

มีหลักฐานเกิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆของโลกหลายครั้งหลายหนว่า การบังคับใช้นโยบายและการดำเนินการตามพันธะที่กำหนดในข้อตกลงการค้าเสรี ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหามากมายตามมา ในด้านความมั่นคงของมนุษย์ ความมั่นคงทางอาหาร ปัญหาสิทธิมนุษยชน ปัญหาความยากจน สภาวะสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยด้านชีวภาพ ด้านการศึกษา สภาพการจ้างงาน สุขอนามัย และการบั่นทอนอำนาจอธิปไตยแห่งรัฐ อันนำไปสู่ความไร้เสถียรภาพของประชาชนทั้งประเทศ ผลกระทบดังกล่าวนี้ จำเป็นต้องได้รับพิจารณาใคร่ครวญอย่างจริงจัง เพราะเป็นพัฒนาการขั้นสุดท้ายที่กำลังขยายไปสู่ความไร้เสถียรภาพของโลกในที่สุด ดังนั้นจึงเป็นทั้งภาระ หน้าที่ และจิตสำนึกของมวลประชาชาติที่จะต้องป้องกันและหยุดยั้ง ปัจจัยที่เลวร้ายต่างๆดังกล่าว เพื่อไม่ให้ปัญหาลุกลามไปสู่ความรุนแรงในเชิงโครงสร้างของทั้งโลก

 

ในหลายโอกาสและหลายเหตุการณ์ที่เราได้เฝ้าจับตาดู ทั้งได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยเคารพต่อกระบวนการประชาธิปไตย และคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน ในการเจรจากำหนดข้อตกลงเขตการค้าเสรีใดๆทุกครั้ง แต่เราก็ไม่สามารถผลักดันให้ผู้มีอำนาจใส่ใจต่อปัญหาและข้อเรียกร้องดังกล่าวได้ แม้ว่าหลายครั้งของการเรียกร้องจะดำเนินการโดยผ่านทางสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิก แต่ก็ไม่มีผลใดๆเกิดขึ้น ไม่มีกระบวนการทางประชาธิปไตยที่ชัดเจน ไร้ความโปร่งใส ไร้การมีส่วนร่วมของประชาชน และไม่มีเหตุผลชี้แจงที่น่าเชื่อถือ ที่สำคัญ เมื่อได้มีการทักท้วงและวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างของภาคประชาชนและนักวิชาการ รวมทั้งฝ่ายค้านว่า การทำข้อตกลงการค้าเสรีขัดแย้งกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญในข้อที่ว่า ไม่ได้นำเข้าขอความเห็นชอบของรัฐสภาเสียก่อนที่จะลงนาม นี่คือความผิดของรัฐบาลไทยที่ล่วงละเมิดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540มาตลอด ดังนั้นเราจึงไม่เชื่อถือต่อบทบาทของผู้เจรจาตกลงฝ่ายรัฐบาลไทยในการทำข้อตกลงหรือพันธะสัญญาใดๆที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของประเทศ หรือที่เกี่ยวกับประชาชนไทย ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบการกระทำของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง โดยองค์กรอิสระทั้งหลายที่กำหนดไว้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ต่อไปด้วย

 

เพื่อให้ฯพณฯประธานาธิบดีใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนในสาระสำคัญของเรื่องนี้ เราขอหยิบยกบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ (ค.ศ.๑๙๙๗)ที่ใช้เป็นหลักปกครองประเทศอยู่ในปัจจุบัน และเกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาที่กล่าวมา ดังต่อไปนี้

 

"มาตรา ๒๒๔ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่น กับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ

 

หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือเขตอำนาจแห่งรัฐ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามสัญญา ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา"

 

ในส่วนของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยนั้น ได้แสดงความไม่เห็นด้วยต่อการเรียกร้องของประชาชนและสมาชิกรัฐสภา ที่ขอให้นำการเจรจาการค้าเสรีทวิภาคีกับต่างประเทศไปอภิปรายถกเถียงกัน และขอความเห็นชอบในรัฐสภา เสียก่อน โดยยืนกรานว่า เป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับสภานิติบัญญัติที่จะพิจารณา และดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้ เราคิดว่าฯพณฯประธานาธิบดีคงไม่ปรารถนาที่จะลงนามเป็นคู่สัญญากับผู้นำประเทศที่มีความคิดเช่นนั้นเป็นแน่

 

เรา,ในฐานะภาคประชาชนทั้งมวล ซึ่งได้พยายามดำเนินตามหลักการประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนอย่างยึดมั่นและด้วยความอดทนมาตลอด ปรารถนาที่จะขอให้ท่าน ในฐานะที่เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนให้บังเกิดขึ้นในโลก ได้โปรดพิจารณาทบทวนท่าทีและแนวทาง ก่อนที่จะตัดสินใจขับเคลื่อนการประชุมกำหนดข้อตกลงการค้าเสรีสหรัฐอเมริกา-ไทย ตามข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้

 

๑.ประสานร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในหลักการร่วมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และความมั่นคงของมนุษยชาติ โดยจะร่วมกันป้องกันสิ่งใดๆ ที่อาจนำไปสู่ผลกระทบอันเลวร้ายกับประชาชนของทั้งสองประเทศ จากการจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีดังกล่าว

 

๒.ขจัดข้อตกลงทางการค้าใดๆที่จะนำไปสู่ปัญหาความไร้เสถียรภาพของประชาชนและความมั่นคงในการดำรงชีวิต ทั้งร่วมกันสร้างความเชื่อมั่นว่า การเจรจาจะไม่เริ่มต้นขึ้นจนกว่าจะได้มีการศึกษาถึงอันตรายของผลจากการทำข้อตกลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องร่วมกันหาทางขจัดและป้องกันอันตรายเช่นว่านั้น มิให้เกิดขึ้นเสียก่อน

 

๓.สาระสำคัญและท่าทีของการเจรจาจะต้องดำเนินไปอย่างโปร่งใส ผ่านกระบวนการตามระบอบประชาธิปไตยอย่างครบถ้วน มีเหตุผลที่อธิบายได้อย่างชัดเจน และที่สำคัญ ประชาชนจะต้องมีสิทธิเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทำข้อตกลงร่วมกัน ทุกครั้ง

 

๔.ฯพณฯประธานาธิบดีจะต้องไม่ยินยอมลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีสหรัฐอเมริกา-ไทย จนกว่ารัฐบาลไทยได้ปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๒๔ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขอความเห็นชอบของรัฐสภาเสียก่อน

 

ในนามของเครือข่ายองค์กรประชาธิปไตยและองค์กรประชาชนแห่งประเทศไทยทั้งมวล เราขอขอบพระคุณล่วงหน้า ในความกรุณาของฯพณฯประธานาธิบดี และหวังอย่างยิ่งว่า จะได้รับข่าวดีจาก ฯพณฯในเร็ววันนี้ เพื่อประโยชน์สุขและมิตรภาพอันงดงามของประชาชนทั้งสองประเทศ และเพื่อความสัมพันธ์อันยั่งยืน เสมอภาคของประเทศของเราทั้งสองที่มีมาอย่างยาวนานสืบต่อไป

 

ขอแสดงความนับถืออย่างสูง

 

 

(Mr.Kanin Boonsuwan ,Member of The Constitution Drafting Assembly)

นาย คณิน บุญสุวรรณ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ

 

(Ms.Rosana Tositrakul,Thai Holistic Health Foundation)

รสนา โตสิตระกูล มูลนิธิสุขภาพไทย

 

(Mr.Uthai Sonluksub, President of The Rubber Farming Industry Organization of Thailand)

นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานชุมนุมสหกรณ์เกษตรอุตสาหกรรมการยางแห่งประเทศไทย

 

(Mr.Pitthaya Wongkul, Chair Person , Campaign for Popular Democracy)

นาย พิทยา ว่องกุล ประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย

 

(Mr.Sirichai Mai-ngam, General Secretary, State Enterprise Worker"s Relations Confederation,President EGAT LU.)

นาย ศิริชัย ไม้งาม เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

 

(Mr.somsak Kosaisook , Secretary General, Labor Co-ordinate Centre )

นายสมศักดิ์ โกศัยสุข เลขาธิการศูนย์ประสานงานกรรมกร

 

(Mr.Suriyasai Katasila, Secretary General, Campaign for Popular Democracy)

 นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย

 

( Ms.Kodchawan Chaiyabutr, Secretary General, Student Federation of Thailand)

นางสาวกชวรรณ ชัยบุตร เลขาธิการสมาพันธ์นักศึกษาแห่งประเทศไทย

 

นักวิชาการ/บุคคล

อ. เจริญ คัมภีรภาพ มหาวิทยาลัยศิลปากร

อ.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อ.คมสัน โพธิ์คง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

อ.กฤฏิฎีกา ทองเพ็ชร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

อ.บรรเจิด สิงคะเนติ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อ.สุริชัย หวันแก้ว คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อ.ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดร.กาญจนา วัธนสุนทร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

อ.นราธิป ศรีราม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

อ.จำนงค์ แรกพินิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ

อ.ปริญญา สร้อยทอง มหาวิทยาลัยนเรศวร

ดร.จันทจิรา เอี่ยมมยุรา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อ.วัลลภัช สร้อยทอง มหาวิทยาลัยนเรศวร

ดร.นฤมล รักษาสุข มหาวิทยาลัยสุรนารี นครราชสีมา

อ.มนัส ธัญญเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

อ.นิรันดร์ กุลฑานันท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

อ.วิโรจน์ เอี่ยมสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

อ.สกุล วงศ์กาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

อ.จำนงค์ ปุผาลา มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

ผศ.สมหมาย ชินนาค วิทยาเขตนครราชสีมา

อ.สุเชาว์ มีหนองหว้า มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

อ.ดารุณี พุ่มแก้ว มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ผศ.ปรีชา ธรรมวินธร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อ.สุพรรณ สาคร มหาวิทยาลัยภูมิปัญญาอีสาน

อ.สวัสดิ์ บุราสิทธิ์ สถาบันส่งเสริมการพัฒนาอีสาน

อ.ดำเกิง โถทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

อ.สามารถ อาญาเมือง เครือข่ายสิทธิมนุษยชนอีสาน

อ.เชาวลิต สิมสวย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

นายประสาร มฤคพิทักษ์

นายสมัคร ชาลีกุล

น.พ.บัญชา พงษ์พานิช

 

องค์กร มูลนิธิ สมาคม

เครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม [Social Venture Networks Asia(Thailand)]

คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน(NGO Coordinating Committee on Development, NGO-COD)

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความแห่งประเทศไทย

คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคอีสาน(NGO Coordinating Committee on Rural Development in the Northeast)

มูลนิธิหมู่บ้าน (Village Foundation)

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(Campaign for Popular Democracy)

มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม(Thai Volunteer Service)

คณะกรรมการเผยแพร่และส่งเสริมงานพัฒนา(Thai Development Support Committee)

โครงการฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ(Project for Ecological Recover)

มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย(Human Settlement Foundation)

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค(Foundation for Consumers)

มูลนิธิเด็ก(Foundation for Children)

สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย

สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

ศูนย์ประสานงานกรรมกร

พันธมิตรองค์กรแรงงาน 15 องค์กร

นายนุกูล บวรศิรินุกุล ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.ทีโอที จำกัด(มหาชน)

พล.อ.กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ ประธานศูนย์ประสานงานลูกหนี้แห่งชาติ

นายสมศักดิ์ พงศ์ภัณฑารักษ์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย

นายคำตา แคนบุญจันทร์ เลขาธิการสมัชชาเกษตรกรรายย่อยภาคอีสาน

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ

สมัชชาคนจน

เครือข่ายสมานฉันท์เพื่อปฎิรูปการเมือง

สหพันธ์องค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย

ชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยาง

 

กลุ่มพัฒนาภาคตะวันออก

กลุ่มพัฒนา บ่อเวฬุ ขลุง จันทบุรี

กลุ่มพัฒนาแก่งหางแมว จันทบุรี

กลุ่มพัฒนาพวา จันทบุรี

กลุ่มพัฒนาสามพี่น้อง จันทบุรี

กลุ่มพัฒนาขุนซ่อง จันทบุรี

กลุ่มพัฒนาบ้านนา ระยอง

กลุ่มพัฒนากระแสบน ระยอง

กลุ่มพัฒนาคลองปูน ระยอง

กลุ่มพัฒนากองดิน ระยอง

กลุ่มพัฒนาลาดกระทิง ระยอง

 

องค์กรเครือข่ายภูมิปัญญาไทย

ศูนย์สุขภาพชุมชน อ.แม่ริม

เครือข่ายงานพัฒนาเพื่อส่งเสริมกลุ่มออมทรัพย์และอาชีพเชียงใหม่

กลุ่มเกษตรกรพึ่งตนเอง

เครือข่ายแผนแม่บท จ.พะเยา

เครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน จ.พะเยา

ศูนย์รวมน้ำใจธนาคารหมู่บ้าน

กลุ่มเกษตรยั่งยืน

ประชาคมฮักนาน้อย

เครือข่ายชุมชนพัฒนา อ.เวียงสา

เครือข่ายติ๊บจ้าง

เครือข่ายมดตะนอย

เครือข่ายแสนผญา

เครือข่ายเกษตรผสมผสาน อ.ลี้

กลุ่มพัฒนาอาชีพ (ชีวภาพ) จ.แพร่

สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนลาดบัวหลวง

เครือข่ายครูเพื่อเด็กเพื่อชุมชน

เครือข่ายวนเกษตรป่าตะวันออก

กลุ่มเกษตรทำนาประดู่ยืน

เครือข่ายแผนแม่บท ต.ทุ่งพง

ธนาคารสัจจะออมทรัพย์เพื่อสวัสดิการ

เครือข่ายแผนแม่บทลพบุรี

เครือข่ายหัตถกรรมเพื่อความยั่งยืน

กลุ่มเกษตรกรทำนาแวงน่าง

อาสาสมัครฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในเขตสปก.

เครือข่ายกลุ่มฟื้นฟูเกษตรพื้นบ้าน

เครือข่ายค้ำคูณเกษตรกรไท

เครือข่ายอินแปง

ศูนย์ภูมิปัญญาอินแปง อ.วังสามหมอ

ศูนย์ภูมิปัญญาอินแปง อ.คำม่วง

ชมรมผู้ผลิตข้าวคุณภาพดี

ชมรมรักษ์ธรรมชาติ

ชมรมพัฒนาชาวบุรีรัมย์

เครือข่ายเกษตรนิเวศน์เทพนิมิตร

ชมรมส่งเสริมเกษตรออมทรัพย์โคราช

เครือข่ายออมทรัพย์เพื่อสวัสดิการครบวงจร จ.กระบี่

เครือข่ายยางพารา

เครือข่ายนาลุ่มน้ำปากพนัง

ชมรมไม้ผลอำเภอลานสกา

เครือข่ายเกลอย่าน

ชมรมไม้ผลอำเภอช้างกลาง

เครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชน

เครือข่ายครูเพื่อเด็กเพื่อชุมชน

สมาคมฟื้นฟูหมู่บ้านชนบทสงขลา

เครือข่ายกลุ่มวัดอู่ตะเภา ธนาคารชีวิต

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net