Skip to main content
sharethis

ที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐฯปฏิเสธที่จะเปิดเผยเนื้อหาข้อเสนอฉบับร่างเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเสรี และมีการเจรจาอย่างลับ ๆ กับคู่เจรจาเพื่อให้ยอมตกลงตามข้อเสนอ การเจรจาในทางลับเช่นนี้เป็นการปิดกั้นการตรวจสอบตามหลักประชาธิปไตย รวมทั้งการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในกระบวนการเจรจา ทั้งยังเป็นการปฏิเสธเสียงของผู้ติดเชื้อชาวไทยอีกนับแสนคน ซึ่งจำเป็นต้องเข้าถึงยาต้านไวรัสที่ผลิตได้เองในราคาถูก และยาเพื่อรักษาโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันติดสิทธิบัตร และมีราคาสูง


 


แทนที่จะส่งเสริมให้ประเทศไทยสามารถใช้ข้อยืดหยุ่นทางกฎหมาย เพื่อให้คนเข้าถึงยาได้มากขึ้นภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายนานาชาติ ตามที่สนับสนุนโดยแถลงการณ์รัฐมนตรีที่การประชุมองค์การการค้าโลกที่กรุงโดฮาว่าด้วยข้อตกลงทริปส์และสาธารณสุข และตามความเห็นของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ ในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลสหรัฐฯ กลับพยายามกำหนดให้มีการคุ้มครองสิทธิบัตรและผูกขาดข้อมูลอย่างเข้มงวด โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การขยายอายุการคุ้มครองสิทธิบัตรไปมากกว่า 20 ปีเท่ากับทำให้สหรัฐฯ ผูกขาดการกำหนดราคายาได้มากขึ้น


เพื่อชดเชยกับความล่าช้าในการขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรและเพื่อเปิดทางให้มีการจดสิทธิบัตรต่อสูตรยาและวิธีใช้ยาใหม่มากขึ้น


 


การจำกัดสิทธิในการนำเข้ายาราคาถูก ด้วยการเปลี่ยนเงื่อนไขเพื่อให้ผู้ทรงสิทธิสามารถจำกัดการนำเข้า/ส่งออกเวชภัณฑ์ที่เคยซื้อหาได้ ทำให้โอกาสที่จะใช้เงื่อนไขการบังคับใช้สิทธิมีน้อยลง การปฏิเสธไม่ให้นำเข้าสินค้ามาในตลาดของตน โดยอ้างว่าประเทศผู้ส่งออกต้องให้ความคุ้มครองผูกขาดข้อมูลอย่างเบ็ดเสร็จเป็นเวลา


5-10 ปี (ทำให้ไม่สามารถใช้เงื่อนไขเกี่ยวกับการทดลองยาเพื่อพิจารณาการอนุญาตให้นำเข้ายาสามัญมาในตลาด) เป็นการจำกัดโอกาสที่จะใช้เงื่อนไขการบังคับใช้สิทธิ เท่ากับเป็นการดำเนินการกับบริษัทที่จงใจละเมิดสิทธิบัตร หรือละเมิดโดยทางอ้อม เป็นเหมือนกับอาชญากร


 


สหรัฐฯ พยายามทำให้คนมองข้ามความสำคัญเนื้อหาข้อตกลงที่ย้ำว่า ประเทศภาคีมีสิทธิที่จะกำหนดให้ประเด็นการเข้าถึงยาเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนได้ โดยไปซ่อนไว้ในเอกสารท้ายสัญญาซึ่งเอกสารดังกล่าวไม่มีผลบังคับใช้อย่างชัดเจน และทางคณะผู้แทนการค้าของสหรัฐฯ ปฏิเสธอย่างชัดเจนว่า ไม่รับรองว่าเอกสารดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้หากมีการขอให้ทำเช่นนั้น ทั้งนี้เป็นการเปิดเผยข้อมูลระหว่างการไต่สวนของรัฐสภาสหรัฐฯ


 


รัฐบาลไทยปฏิบัติตามหลักการด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งส่งเสริมการเข้าถึงยา และเพื่อตอบสนองกับข้อเรียกร้องของนักกิจกรรมไทย และได้จัดให้มีการบริการยาต้านไวรัสตามโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งทำให้มีผู้ติดเชื้อไทย 70,000 จาก 170,000 คนได้รับยาต้านไวรัส อย่างไรก็ตามต้นทุนการรักษาในอนาคตจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก หากสหรัฐฯประสบความสำเร็จในการบีบให้มีการบังคับใช้สิทธิบัตรอย่างเข้มงวดมากขึ้น


 


ด้วยเหตุดังกล่าวเราจึงส่งกำลังใจไปยังเพื่อพันธมิตรชาวไทยในเชียงใหม่และทั่วประเทศเพื่อเรียกร้องให้สหรัฐฯ


ชะลอการเจรจาว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาในครั้งนี้ และยกเลิกการเจรจาด้านทรัพย์สินทางปัญญาทุกด้านที่จะส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงเวชภัณฑ์ โดยเฉพาะข้อตกลงที่เกินไปกว่าข้อตกลงทรัพย์สินทางปัญญาในองค์การการค้าโลก หรือ ทริปส์ผนวก (TRIPs+) ในข้อตกลงการค้าเสรีกับไทยและข้อตกลงการค้าเสรีฉบับอื่น


นอกจากนั้น เราขอเรียกร้องให้สหรัฐฯ ตีพิมพ์เผยแพร่เนื้อหาของข้อตกลงการค้าเสรีทั้งหมด และให้ประชาชนชาวไทยสามารถจัดการประชุมปรึกษาหารือต่อสาธารณะเกี่ยวกับข้อตกลงดังกล่าวได้


 


 


ลงนามโดย


- เครือข่ายกฎหมายด้านเอ็ชไอวี/เอดส์แคนาดา (Canadian


HIV/AIDS Legal Network)


- ศูนย์วิเคราะห์นโยบายด้านการค้าและสุขภาพ (Center for


Policy Analysis on Trade and


Health (CPATH))


- โครงการด้านเทคโนโลยีเพื่อผู้บริโภค (Consumer Project


on Technology (CPTech))


- Essential Action


- Health GAP (Global Access Project)


- Human Rights Watch


- Student Global AIDS Campaign (SGAC)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net