Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

 

รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตัวแทนรัฐอำมาตยาธิปไตย ประกาศเดินหน้านโยบายเก็บภาษีที่ดินที่ก้าวหน้าอย่างแน่นอน แม้ว่าจะมีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่าเม็ดเงินที่เก็บภาษีที่ได้มานั้น อาจจะไม่คุ้มค่ากับค่าน้ำมันรถ ค่าบุคคลากร เพราะ ไม่ได้เป็นภาษีที่ก้าวหน้าจริง

 

หรือ ไม่เช่นนั้น นายทุนเจ้าที่ดินคงรีบปลูกกล้วยกันเป็นทิวแถวแล้วบอกว่าได้ทำประโยชน์ไม่ได้ ปล่อยให้ที่ดินรกร้างว่างเปล่า จึงเก็บภาษีก้าวหน้าไม่ได้ ทั้งๆที่ก็ไม่ได้ก้าวหน้าจริง รับรองว่าประชาชนที่คาดหวังนโยบายภาษีที่ก้าวหน้าจริงๆก็คงถูกบิดเบือนอีก แล้วหรือถูกเบี้ยวถูกหลอกอีกตามเคย

 

เหมือนเช่น ข้อตกลงการแก้ไขปัญหาที่ดินระหว่างรัฐบาลกับเครือข่ายที่ดินแห่งประเทศไทย(คปท.)

 

หนึ่ง ในนโยบายที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ได้แถลงว่าไว้ว่า จะมีการจัดหาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรยากจนในรูปแบบของธนาคารที่ดิน และเร่งรัดออกเอกสารสิทธิ์ให้เกษตรกรในรูปของโฉนดชุมชน

 

เมื่อ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 ตัวแทนของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทยได้เข้าประชุมหารือกับนาย ถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยมีข้อสรุปว่า จะประสานกับ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เพื่อให้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการในการแก้ไขปัญหาของเครือข่ายปฎิรูปที่ ดินฯ

 

เมื่อ วันที่ 11 มีนาคม ที่ผ่านมา คปท.ก็ได้ประชุมร่วมกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีและได้เป็นประธานคณะกรรมการในการแก้ไขปัญหาของเครือข่ายปฎิรูป ที่ดินฯ และมีข้อตกลงที่หลายประเด็นโดยยึดหลักนโยบายของรัฐบาลมากกว่าการใช้กฎหมาย ที่ไม่เป็นธรรมในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งเรื่อง

 

ยุติ ปัญหาการใช้ความรุนแรงของหน่วยงานภาครัฐกับคนจนไร้ที่ดิน ที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดกฎหมายของรัฐ เช่น การอพยพโยกย้าย การทำลายชีวิตทรัพย์สิน การใช้กฎหมายข่มขู่และคุกคามชาวบ้านผู้เดือดร้อน

 

ยุติ การจับกุมดำเนินคดีกับชาวบ้านที่มีข้อพิพาทเรื่องที่ดินกับรัฐ จนกว่าการแก้ไขปัญหาในทางนโยบายจะแล้วเสร็จ และกรณีที่มีการจับกุมดำเนินคดีกับชาวบ้านผู้เดือดร้อน ให้รัฐบาลออกกฎหมายนิรโทษกรรมกับชาวบ้านโดยเร่งด่วน

 

กรณี ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดกระบี่ที่นำไป สู่การใช้กำลังและความรุนแรงต่อเกษตรกร ที่ประชุมเห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทยสั่งการไปยังจังหวัดให้ป้องกันมิให้ เหตุการณ์ดังกล่าวขยายตัวหรือลุกลามต่อไปและให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สั่งไป ยังสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ขอให้ผ่อนผันให้ชุมชนต่างๆที่เป็นสมาชิกของเครือข่ายฯ สามารถอาศัยที่ดินในพื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้จนกว่ากระบวนการ ฟ้องร้องขับไล่บริษัทและนายทุนจะแล้วเสร็จและให้นำกรณีดังกล่าวไปพิจารณาใน คณะอนุกรรมการฯต่อไป

 

เมื่อ วันที่ 9 พ.ค. ที่ผ่านมา นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและคณะ เดินทางตรวจเยี่ยมพื้นที่การจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน "กรณีโฉนดชุมชน" บ้านทับเขือ-ปลักหมู ต.ช่อง อ.นาโยง จ.ตรัง และกล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการเยี่ยมพื้นที่ครั้งนี้ว่า เนื่องจากคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่ง ประเทศไทย ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งมีการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 มี.ค.ที่ผ่านมา

 

นายสาทิตย์ ลงพื้นที่ปัญหาที่ดินในครั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินหรือมาหาเสียงกันแน่?

 

 

0 0 0

 

 ปัญหา ที่ดินที่ปักษ์ใต้นั้น เป็นปัญหามีการออกเอกสารที่ดินโดยมิชอบ ผิดกฎหมาย ในหลายกรณีทั้งในที่ดินเอกชน ที่ดินที่ชุมชนใช้ประโยชน์อยู่ เช่น ที่ดินทำกิน ที่ป่าชุมชน ที่สาธารณประโยชน์ และที่ สปก. ที่ดินที่ถูกออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบเหล่านี้

 

ต่อมาได้ถูกนำไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ กลายเป็นหนี้เน่า NPL ถูก ธนาคารฟ้องร้องยึดและขายทอดตลาด กลายเป็นที่รกร้างว่างเปล่า เมือประชาชนมีมาตรการการแก้ไขปัญหาที่ดินที่เป็นรูปธรรม โดยการเข้าทำกินปฏิรูปการถือครองโดยประชาชน รัฐได้ใช้อำนาจทางกฎหมายกับคนจนไรที่ดินเหล่านี้ด้วยการจับกุมดำเนินคดีความ

 

ปัญหา ที่ดินที่ปักษ์ใต้นั้น เป็นปัญหาที่รัฐได้อนุญาตให้บริษัทเอกชนสัมปทานเช่าพื้นที่ป่าสงวนระยะยาว เพื่อทำกิจการเหมืองแร่ ปลูกพืชเศรษฐกิจ ยูคาลิปตัส ยางพารา และปาล์มน้ำมัน เมื่อเอกชนใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าเกินกว่าสัญญาเช่า หรือสัญญาเช่าหมดลง

 

คนจน ไร้ที่ดินเรียกร้องให้รัฐหยุดสัญญาเช่า ตรวจสอบสัญญาเช่าเพื่อความโปร่งใส แต่ไม่เป็นผล ประชาชนก็มีมาตรการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง โดยการเข้าทำกินปฏิรูปที่ดินการถือครองโดยประชาชน รัฐได้ใช้อำนาจทางกฎหมาย ด้วยการจับกุมดำเนินคดีข้อหารุนแรงตามมา

 

ปรากฏการณ์ รูปธรรมความเป็นจริงที่เกิดขึ้น สรุปได้ว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์ เบี้ยวข้อตกลงกับเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.) ได้อย่างชัดเจน เพียงแต่ว่า ทำไมจึงเบี้ยว?

 

หรือว่า.. ผู้มีผลประโยชน์ได้เสียจากการเช่าที่ดินสวนปาล์ม เป็นหัวหน้าพรรคตัวจริงของพรรคประชาธิปัตย์ หรือ เขาผู้นั้นเป็นนายกรัฐมนตรีตัวจริง ?

 

นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์..ช่วยตอบที ?

 

ก่อนที่ปัญหาที่ดินครั้งนี้จะเหมือนเช่น สปก.4-01 จังหวัดภูเก็ต ซึ่งกลายเป็นประเด็นล้มรัฐบาลล้มรัฐบาลชวน หลีกภัย มาแล้วครับท่าน

 

 

อ่านประกอบบทความ

 

 

นักข่าวพลเมืองรายงาน: บ้านพักชุมชนประชาร่วมใจถูกเผา

 

เมื่อวันที่  16 พฤษภาคม 2552 ที่ผ่านมา มีชายฉกรรจ์เช่นกันประมาณ 20 คนแต่งตัวเป็นชาวบ้านมีอาวุธปืนครบมือได้นั่งรถปิ๊กอัพมาจำนวน 2 คันได้เข้ามาบอกในพื้นที่ชุมชนประชาร่วมใจ ที่อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยชายฉกรรจ์เหล่านั้นได้ข่มขู่ชาวบ้านว่า ถ้าไม่อยากตาย ให้กลับบ้านเสีย นี่เป็นคำสั่งจากนายหัว

 

จาก นั้นในคืนวันที่ 19 พฤษภาคม 2552 เวลาประมาณ 19.30 น.มีชายฉกรรจ์แต่งตัวด้วยชุดสีทึมๆมีอาวุธปืนครบมือจำนวน 5-6 คน เข้าไปในพื้นที่ชุมชนประชาร่วม และได้ใช้อาวุธปืนลูกซองยิงขึ้นฟ้าจำนวน 2 นัด หลังจากนั้นได้ยิงในแนวระนาบไปยังบ้านพักชั่วคราวของชาวบ้าน อีกประมาณ 69 นัด ต่อมาได้ทำการเผาบ้านพักชั่วคราวของชาวบ้านในชุมชนจำนวน 8 หลัง 

 

ทั้งนี้ พื้นที่ชุมชนประชาร่วมใจ เป็นพื้นที่ปฏิรูปที่ดินของชาวบ้านผู้ไร้ที่ดิน อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการรวมกลุ่มของคนจนที่ไม่มีที่ดินทำกิน ที่มีถิ่นฐานส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอชัยบุรี อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฏร์ธานี และมีบางส่วนมาจาก จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดชุมพร มีสมาชิกในชุมชนทั้งหมด 132 ครอบครัว ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่ 142 ไร่ สมาชิกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปและอาชีพค้าขาย

 

ที่ดิน ที่ชุมชนประชาร่วมใจตั้งอยู่นี้เป็นที่ที่อยู่ในความดูแลของสำนักงานปฏิรูป ที่ดิน (สปก.) ซึ่งเดิมได้อนุญาตให้บริษัทชัยบุรีปาล์มทองเช่าสำหรับปลูกปาล์มน้ำมันจำนวน 1,755 ไร่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 ถึงปี พ.ศ. 2531และตั้งแต่ปี 2531 จนถึงปัจจุบัน บริษัทกลุ่มทุนท้องถิ่นชื่อ รวมชัยบุรีปาล์มทอง ได้ เข้าไปบุกรุก ครอบครอง ทำประโยชน์ ในแปลงดังกล่าวทั้งที่ยังไม่ได้รับอนุญาตใดๆจากกรมป่าไม้หรือสำนักงานปฏิรูป ที่ดิน (สปก.)แต่อย่างใด

 

พื้นที่ นี้ได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงมาแล้วตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งมีคณะกรรมการที่มีองค์ประกอบจากทุกฝ่ายรวมถึงหน่วยงาน สปก.จากส่วนกลางและในพื้นที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี ล่าสุดเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาได้ทำการรังวัดพื้นที่ด้วยระบบข้อมูลจากการ ตรวจสอบพิกัดดาวเทียม (GPS) และได้จัดสรรที่ดินให้เกษตรกรในพื้นที่ชุมชนประชาร่วมใจคนละครึ่งไร่สำหรับที่อยู่อาศัยก่อนในเบื้องต้น

 

 

ที่มา: ข่าวประชาไท

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net