Skip to main content
sharethis

เวลา 7.30 น. ของวันที่ 9 พ.ค. 52 รายการ “มองคนละมุม” ผลิตโดยโครงการพื้นที่ทางสังคมและสื่อทางเลือก ดำเนินรายการโดยนายมานพ คีรีภูวดล กระจายเสียงทางสถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ FM 100 MHz โดยรายการวันดังกล่าวเชิญวันดี สันติวุฒิเมธี บรรณาธิการบริหารนิตยสารสาละวินโพสต์มาร่วมรายการ เพื่อสัมภาษณ์กรณีครบรอบ 1 ปีเหตุการณ์พายุไซโคลนนาร์กีสพัดถล่มสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดีในสหภาพพม่า และสถานการณ์ปัจจุบันในพม่า
 
ผู้ ดำเนินรายการสอบถามว่า หลังเกิดเหตุการณ์พายุนาร์กีสเมื่อปีที่แล้วปัจจุบันวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ของชุมชนที่นั่นเป็นอย่างไร วันดี กล่าวว่า ประเด็นที่อยากเข้าไปเนื่องมาจากเหตุการณ์นาร์กีส เพื่อสัมผัสเรื่องความเป็นอยู่ของประชาชนชาวพม่าหลังจากเหตุการณ์ผ่านพ้นไป หนึ่งปี โดยเป็นที่ทราบกันว่าประชาชนได้รับผลกระทบด้านความเป็นอยู่และเศรษฐกิจ โดยการเดินทางครั้งล่าสุดได้มีโอกาสไปเยือนรัฐยะไข่ (อาระกัน) ซึ่งติดกับบังกลาเทศ ซึ่งหลายเดือนก่อนมีข่าวเรื่องการอพยพของชาวโรฮิงยา
 
โดย วิถีชีวิตทั่วไปแล้วหากไม่ได้เข้าไปเรียนรู้อย่างจริงจังคนส่วนใหญ่มักจะมอง ว่าเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นทุกคนต่างยิ้มแย้มแจ่มใสดี ถ้าเข้าไปที่เมืองหลวงย่างกุ้งจะเห็นคน 2 กลุ่มใหญ่ กลุ่มแรกเป็นกลุ่มของผู้มีอันจะกิน ที่ต้องใช้คำนี้เพราะกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีบ้านหลังใหญ่ มีรถเก๋งขับ มีการเดินห้าง แม้ห้างอาจจะไม่ใหญ่เท่าบ้านเรา กลุ่มเหล่านี้สามารถที่จะใช้จ่ายตามปกติซึ่งมีจำนวนประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่แล้วมาจากครอบครัวทหารและกลุ่มนักธุรกิจ
 
อีก กลุ่มหนึ่งขอใช้คำว่าผู้มีฐานะยากจนพบว่ามีมากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ในบรรดาที่เจอคือทุกสาขาอาชีพเลย เป็นประเทศที่จัดอยู่ในฐานะยากจน
 
ใน ขณะที่ข้าราชการในพม่าเป็นชนชั้นกลางไม่ได้ เนื่องจากเงินเดือนน้อยมาก เช่น เงินเดือนครูที่ได้รับเมื่อคิดเป็นเงินไทยตกประมาณ 2 พันกว่าบาท สำหรับค่าใช้จ่ายบางทีต้องอดมื้อกินมื้อ แต่ถ้าเป็นครูในเมืองก็จะแก้ปัญหาด้วยการรับสอนพิเศษ แต่ปัญหาคือในโรงเรียนครูที่สอนก็จะกั๊กวิชาไว้เพราะเงินเดือนที่ได้ไม่พอ เลยต้องสอนพิเศษ
 
อย่าง พี่ชายของเพื่อนที่รัฐยะไข่ ต้องปั่นจักรยานไปสอนทั้ง 2 ผัวเมียและใช้เวลาในการเดินทางไปกลับเป็นเวลา 2 ชั่วโมง และไม่มีเวลาที่จะสอนพิเศษ ก็ต้องใช้ชีวิตอย่างอัตคัดที่เดียว นี่เป็นตัวอย่างครูที่นั่น และเวลาที่จะทำมาหากินอย่างอื่นก็ไม่มี ดังนั้นเงินเดือนที่ได้ก็ต้องใช้อย่างพอมีพอกิน
 
มี อยู่ปีหนึ่งที่มีการขึ้นราคาน้ำมันผลกระทบส่วนใหญ่ตกอยู่กับคนที่ใช้บริการ รถเมล์ รถโดยสาร เพราะว่าคนจะเต็มหมดที่ห้อยโหนกันเวลารถติดก็ต้องออกมายืนข้างนอกส่วนคนที่ อยู่ข้างในแทบจะเป็นลม เป็นภาพที่เราเห็นสภาพของคนจนที่จะต้องขึ้นรถไปทำงาน ส่วนคนที่ไม่ได้ขึ้นรถไปทำงานหรืออยู่ตามชานเมืองก็จะปั่นจักรยานไปทำงาน เป็นหลักยิ่งตอนเย็นก็จะเห็นภาพฝูงชนที่ขี่จักรยานกลับจากการทำงานเยอะมาก
 
ผู้ ดำเนินรายการถามว่าความลักลั่นในสังคมพม่ามีเยอะหรือไม่ วันดี ตอบว่า ความลักลั่นค่อนข้างจะเยอะในการพัฒนาประเทศ กลุ่มผู้มีอันจะกินเหมือนชีวิตเขามีโลกอีกใบหนึ่งอยู่บ้านหลังใหญ่ แต่ถ้าเป็นผู้ที่ไม่มีอันจะกินตามซอกซอยหรือสลัมก็จะมีเด็กที่ออกมาเก็บขยะ หาเศษอาหาร ขอทาน เยอะ และความแตกต่างระหว่างขอทานบ้านเรากับของเขาคือ ลักษณะขอทานบ้านเราไม่ค่อยเห็นแววตาที่หิวโหย คือขอทานบ้านเราอยากได้เงินที่จะนำไปซื้อของ แต่ของ เขาๆ จะแสดงหรือเอามือมาจิ้มที่ปากแสดงถึงไม่จำเป็นต้องเป็นเงิน อาหารก็ได้ อย่างที่ไปคราวนี้ ที่เห็นชาวมุสลิมโรฮิงยาเป็นขอทานที่ขอเงินเยอะมากเราก็ไม่อยากจะให้เงิน ก็เลยไปหาซื้อของกินในตลาดให้เขาแทน
 
จาก การที่ได้ไปพม่าหลายครั้งและล่าสุดที่ไปสนามบินระหว่างประเทศของเขามีความ แตกต่างมากคือการบินระหว่างประเทศเครื่องอำนวยความสะดวกดูแล้วดีกว่าบ้านเรา เยอะห้องน้ำไม่ต้องกดชักโครกเองเหมือนมีการติดตั้งระบบอินฟาเรท เขามีการพัฒนาที่เท่าเทียมกับนานาชาติมาก
 
แต่ อาคารสนามบินระหว่างประเทศ กับภายในประเทศมีความแตกต่างมาก ทั้งที่อาคารก็อยู่ติดกัน แต่อาคารสนามบินภายในประเทศเองทั้งห้องมีแอร์ติดอยู่ตัวเดียว ช่องแอร์มีควันเขม่าดำเต็มหมดเหมือนตึกร้างไปเลย ระบบการโหลดกระเป๋าก็ไม่มีต้องชั่งน้ำหนักด้วยมือ นี่ยังเป็นสนามบินภายในประเทศในย่างกุ้ง
 
แต่ เมื่อไปถึงรัฐยะไข่แล้ว ยิ่งหนักกว่าย่างกุ้งอีก ไฟฟ้าก็ไม่มี พอจะเอากระเป๋าต้องไปแย่งกันที่รถเข็นอีก เพราะที่นั่นเขาเปิดให้ใช้ไฟฟ้าเป็นช่วงๆ เช่นตั้งแต่ 6 โมงเย็นถึง 2 ทุ่ม แต่ตอนนี้เขาขยายไปถึง 4 ทุ่มแล้ว ส่วนตามโรงแรมเขาก็จะมีเครื่องปั่นไฟเอง 
 
บก.สาละ วินโพสต์ผู้นี้กล่าวต่อว่า ตรงนี้ไม่ได้พูดในเชิงดูถูกพม่า แต่อยากให้เห็นว่ามีความลักลั่นของการพัฒนาอย่างน้อยเวลาวางแผนการพัฒนาควร จะมีอะไรที่เท่าเทียมกันบ้าง ส่วนจะมากน้อยจะเล็กจะใหญ่ค่อยว่ากันไปแต่ ที่นี่ไม่ใช่ อย่างเราลงไปที่สนามบินนานาชาติพร้อมด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ เมื่อเปรียบเทียบทำให้เราเห็นว่าพม่ามีความลักลั่นของการพัฒนา
 
ผู้ ดำเนินรายการถามว่า เมื่อมีความลักลั่นในการพัฒนาสนามบินที่ถือเป็นหน้าเป็นตาของประเทศแล้ว เรื่องวิถีชีวิตเขาอยู่กันอย่างไร วันดีกล่าวว่า หลังจากเหตุการณ์พายุนาร์กีส ทำให้ไร่นาเสียหาย วัวควายล้มตาย ทำให้มีคนเข้ามาในเขตเมืองเยอะขึ้น แล้วในเมืองงานที่ทำส่วนใหญ่จะเป็นงานรับจ้างราคาถูก เช่นปั่นสามล้อ ทำไม้กวาด คิดเป็นเงินไทยตกวันละ 18 บาท หักต้นทุนแล้วจะเหลือประมาณ 10 บาท เพราะฉะนั้นรายรายได้จะไม่พอ ในขณะที่ไร่นาก็ไม่มี ก็ต้องอดมื้อกินมื้อ อย่างมื้อเช้าก็จะรวบมากินมื้อสายๆ
 
ผู้ ดำเนินรายการ ขอให้เปรียบเทียบการศึกษาระหว่างไทยกับพม่า วันดี กล่าวว่า รัฐบาลพม่ามีการลงทุนด้านการศึกษากับด้านสาธารณะสุขน้อยมากรวมกันแล้วไม่ถึง 3 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณประเทศ ขณะที่งบของกองทัพมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ในเมื่องบประมาณในการศึกษามีน้อยค่าเล่าเรียนเด็กๆ ก็ต้องจ่ายกันเองตั้งแต่ประถมเลย เพราะฉะนั้นเด็กที่เรียนต้องขวนขวาย
 
วัน ดียกตัวอย่างที่เคยประสบมาว่า เคยพบเด็ก 3 คนที่พระธาตุอินแขวนที่มารับจ้างแบกเป้ให้นักท่องเที่ยวและมีโอกาสได้คุยกับ เขา ทั้งสามคนอายุเท่ากัน คนแรกถ้าเป็นบ้านเรา ก็จะอยู่ประมาณ ป.6 คนที่ 2 ป.3 ส่วนคนที่ 3 ป.2 ในขณะที่มีอายุเท่ากัน แต่การศึกษาไม่เท่ากัน
 
เหตุผล คือ คนที่ 1 ช่วยแม่ทำงานเก็บเงินในการสอบผ่านเพราะเขาไม่กล้าสอบตกหากสอบตกต้องเสียค่า กระดาษในการสอบซ่อม เหตุผลคนที่ 2 คือ เรียนปีเว้นปี ปีหนึ่งเรียนอีกปีหนึ่งช่วยแม่ทำงานเก็บเงิน ส่วนอีกคนหนึ่งที่เรียนได้แค่ ป.2 เนื่องจากเป็นพี่คนโตที่ต้องมาช่วยแม่ทำงานและช่วยดูน้องคนเล็กๆ
 
เพราะ ฉะนั้นจากเด็ก 3 คนจึงเป็นตัวแทนที่สะท้อนให้เห็นถึงการลงทุนด้านการศึกษาของรัฐบาลพม่าที่ ยังส่งผลต่อประเทศเพื่อนบ้านอย่างเรา คือเมื่อไม่ได้เรียนก็ต้องออกไปสู่ตลาดแรงงาน และความรู้ต่างๆ เช่นการดูแลรักษาโรค พอเขาเข้ามาในไทยเราก็โทษว่าเขาเป็นตัวนำโรคเข้ามา ในเมื่อความรู้ที่เขามีอยู่ก็มีไม่พออยู่แล้วบางที่สิ่งที่เกิดขึ้นเราก็ไป ลงที่ตัวเด็ก และไม่มีใครมองย้อนกลับไปว่าทำไมเขาถึงเป็นอย่างนั้น
 
วัน ดีกล่าวต่อว่า จากตัวเลขที่มีอยู่คือการขายแก๊สให้กับไทยพอได้เงินก็จะซื้อเครื่องบินรบจาก รัสเซียมาประดับกองทัพ และจะซื้ออาวุธใหม่ๆมา เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่ลงที่กองทัพ เราไม่เคยเห็นรัฐบาลพม่าประกาศเปิดโรงเรียน ยิ่งระดับมหาวิทยาลัย ยิ่งสนุก คือ รัฐบาลพม่ากลัวการออกมาของภาคประชาชนโดยการนำของนักศึกษากลัวว่านักศึกษาจะ เป็นหัวหอกในการออกมาขับไล่รัฐบาลเผด็จการ เพราะฉะนั้นจึงมีการกันมหาลัยออกไปอยู่ชานเมืองเพื่อไม่ให้ติดต่อกับประชาชน ได้ เนื่องจากนักศึกษาจะรู้เรื่องเหตุการณ์ต่างๆ เยอะ
 
เมื่อ เป็นเช่นนี้ในตัวเมืองก็จะเห็นตึกร้างเพราะมหาวิทยาลัยถูกย้ายออกชานเมือง ทำให้นักศึกษาส่วนหนึ่งใช้วิธีเรียนและสอบทางไกลเอาอย่างมีเพื่อนคนหนึ่งบอก ว่าจบฟิสิกส์ มาแต่ไม่รู้เรื่องฟิสิกส์เลย คือมีชื่อแค่ว่าจบ นอกห้องสอบอะไรไม่รู้เรื่องเลย อย่างนี้เป็นต้น
 
ผู้ดำเนินรายการ ถามว่า นักศึกษาจะมีการเชื่อมกับระบบโลกยังไง วัน ดี กล่าวว่า มีนักศึกษาอยู่กลุ่มหนึ่งที่ได้รับการศึกษาในระบบ ส่วนใหญ่จะเป็นครอบครัวผู้ที่มีอันจะกินหรือลูกหลานผู้นำท้องถิ่น หรือผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์ ที่มีโอกาสเรียนในระบบหรือเข้ามาเรียนในเมืองไทยและที่อื่น
 
แม้ บางทีในสายตาคนส่วนหนึ่งอาจมองว่าไม่จริงที่พม่าจนเพราะมีการเข้ามาศึกษาต่อ ทั้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาลัยเชียงใหม่ แต่อย่างที่บอกคือผู้ที่มีโอกาสเหล่านี้เป็นลูกหลานผู้นำ เช่น กลุ่มที่อยู่ใกล้ชายแดนจีนที่พ่อแม่มีธุรกิจทำไม้ ทำหยกขาย บางคนก็สามารถส่งลูกเรียนต่อต่างประเทศหรือบางคนสามารถส่งลูกไปเรียนต่อที่ อเมริกาก็มี ในขณะที่ในกลุ่มชาติพันธุ์เองก็มีความแตกต่างและมี 2 กลุ่มเช่นกัน
 
วัน ดีกล่าวต่อว่า ในบ้านเรามีแต่มหาวิทยาลัยย้ายเข้ามาใกล้บ้าน แต่ของเขามีแต่จะย้ายไกลออกจากเมือง อย่างมหาลัยซิทเตว่ ในรัฐยะไข่ เวลานักท่องเที่ยวจะถ่ายป้ายมหาวิทยาลัยเขาจะไม่ให้ถ่ายเพราะเขากลัวเอาไป ใช้เหตุผลทางการเมือง ที่ถ่ายได้คือเหลือแต่ออฟฟิศ หากมีนักศึกษาอยู่เขาจะไม่ให้ถ่าย
 
ผู้ ดำเนินรายการถามว่า หากพูดถึงโอกาสในการมีรายได้เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่แล้วจะเป็นกลุ่มผู้ชายแล้ว ด้านผู้หญิงโอกาสเป็นยังไง วันดีกล่าวว่า กลุ่มผู้หญิงเองที่อยู่ในชุมชนก็มีรายได้น้อย เช่นอาชีพสานหมวก ได้วันละ 10 กว่าบาท ดังนั้นส่วนใหญ่ก็จะรอรายได้ที่ได้จากผู้ชาย ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะได้เงินกลับบ้านหรือเปล่า เพราะกว่าจะจ่ายค่านายหน้าหมด ในขณะที่ผู้หญิงเองก็มีโอกาสน้อยอยู่แล้ว
 
ด้าน การสาธารณะสุขเท่าที่เห็น ตัวอย่างผู้หญิงชาวชินในหมู่บ้านมีประมาณ 6 คน มีป้าอยู่คนหนึ่งตาเป็นต้อหลายปีแล้วรัฐบาลไม่ได้สนใจอะไรเลยการจะไปรักษา ต้องใช้ทั้งเวลาและเงินทองซึ่งป้าเขาไม่มีโอกาส ในที่สุดเมื่อ 2 ปีที่แล้วตาก็บอดสนิท เมื่อถึงช่วงหน้าฝนป้าเขาบอกเลยว่าอยากตาย เพราะไม่สามารถทำอะไรได้เลย ทั้งโรงพยาบาล สถานีอนามัยใกล้บ้านก็ไม่มี เพราะฉะนั้นหากใครป่วยทำใจได้เลยว่าอาจจะต้องตายเพราะค่าเรือที่จะไปรักษาก็ แทบไม่มี ยังต้องหาค่ารักษาให้หมออีก
 
ผู้ ดำเนินรายการถามว่า จากการที่มีหลายชนเผ่าเป็นสาเหตุหนึ่งหรือไม่ ที่ทำให้รัฐบาลไม่ให้ความสนใจประชาชน วันดีกล่าวว่า อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งเพราะรัฐบาลพม่ากลัวการออกมาเรียกร้องสิทธิของชุมชนของ ชาติพันธุ์ต่างๆ ทำให้ประชาชนที่เป็นชาติพันธุ์ไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร
 

(หมายเหตุ: โปรดติดตามตอนที่ 2 เร็วๆ นี้)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net