Skip to main content
sharethis


ในการประชุมวิชาการ "ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม" ซึ่งจัดโดย โครงการจัดตั้งศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (RCSD) สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนับสนุนโดย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ระหว่างวันที่ 22-23 ธันวาคม 2551 ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติ โรงแรมดิเอ็มเพรส จ.เชียงใหม่นั้น


 


วานนี้ (22 ธ.ค.) นพ.ดร.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวในหัวข้อ "แนวคิดชาตินิยมในระบบการแพทย์และสาธารณสุข" ในการประชุมวิชาการ "ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม" ว่าชาตินิยม ชาติพันธุ์ การแพทย์และสุขภาพ สัมพันธ์กันค่อนข้างซับซ้อน เมื่อพูดถึงกลุ่มคนที่มีพื้นฐานการแพทย์ไม่เหมือนกัน สังคมมักนึกว่ากลุ่มที่ต่างจากตนเป็นแหล่งกำเนิดโรค เช่น โรคซิฟิลิสมาจากฝรั่งเศส เอดส์มาจากเฮติ แต่ที่น่าสนใจคือ การกล่าวหาคนอื่นว่าเป็นต้นเหตุของโรค


 


"ในทางตรงข้าม สังคมมองคนกลุ่มที่มีวัฒนธรรมต่างกันว่ามีอำนาจในการรักษาโรคมากกว่าพวกเดียวกันเอง เช่น ไทยมองว่า หมอผีเขมรมีฤทธิ์เสกควายเข้าท้อง คือมีทั้งเป็นสาเหตุของโรค ไข้หวัดนกมาจากล้อรถที่มาจากประเทศลาวและเขมร แรงงานต่างด้าวเป็นสาเหตุของแหล่งโรค ในทงกลับกัน ทำไมไม่คิดบ้างว่า แรงงานเหล่านั้นติดโรคจากไทย และไปติดพ่อแม่พี่น้องที่่ประเทศของตัวเอง"


 


สอง มีพลวัต บางครั้งเราเห็นปรากฎการณ์ทั้งสองด้าน เวลาเราพูดถึงสุขภาพในระบบการแพทย์ท้องถิ่นมีการให้ความหมายระบบสุขภาพต่างกันไป เช่น ชาวปกากะญอ บอกว่า ตุ๊กแกที่นอนทั้งวันในโพรงมีสุขภาวะดี หรือสุขภาพที่ดีของชาวปกากะญอ คือไม่อายในความเป็นคนท้องถิ่นของตัวเอง นี่คือสิ่งซึ่งบางครั้งเราไม่้ได้นึกถึง เวลาพูดถึงสุขภาพการแพทย์ ชาติพันธุ์และชาตินิยม เป็นได้หลากหลายบนิยามต่างกัน


 


สาม มีแนวทางการศึกษาหลักใหญ่ๆ สามแบบ คือ 1) เป็นลักษณะศึกษาวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ว่ามีประเพณีปฎิบัติ พฤตกรรมอะไรบ้างที่ทำให้่เกิดโรค หรือมลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมที่แสดงออกซึ่งโรคไม่เหมือนกัน เช่น อิตาเลียนกับไอริช คนอิตาเลียนพอโดนเข็มตำก็ยวาย ขณะที่คนไอริชทนมาก แม้คอแทบขาดก็ไม่ร้อง แสดงอาการไม่เหมือนกัน ทำให้แพทย์ประเมินอาการได้ต่างกัน ซึ่งทำให้ใช้วิธีมองที่ค่อนข้างตาตัว โดยมองว่าเป็นผลผลิตจากโครงสร้างบางประกาาร


 


2) ศึกาปฎิสัมพันธ์ืระหว่างหมอกับคนไข้ที่มาจากต่างวันธรรม คิดไม่ตรงกัน ทำให้มีผลต่อการศึกเช่น เดิม ม้ง ถูกมองว่าเป็นคอมมิวนิสต์และล้าหลังมาก่อน เพราะเขานับถือผี ต่อมามิชชันนารีเข้าไปเผยแพร่คริสต์ศาสนาและรับรักษาโรค แต่มีเงื่อนไขว่าต้องเผาหิ้งผีทิ้งก่อน จึงจะรับการรักจากหมอมิชชันนารีได้ การเข้าถึงทรัพยากรใด ต้องผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางด้านการแพทยอยู่ด้วย เช่น งานศึกษาชาติพันธุ์ในชิลี พบว่า การเรียกโรคความเจบป่วยขึ้นกับว่าต้องการจัดแนวร่วมอยู่กับใคร ถ้าต้องการสร้างสัมพันธ์กับมิชชันนารี จะเรียกด้วยภาษาในแผนปัจันที่หมอมิชชันนารีใช้ ถ้าต้องการสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านที่นับถือผีเหมือนกัน ก็ต้องอธิบายว่าเป็นผี


 


3) การศึกเรื่องชาติพันธุ์กับการแพทย์ว่า วาทกรรมมีส่วนอย่างไรต่อการเมืองเรื่องเชื้อชาติบ้าง เช่น คนไข้มาโรงพยาบาลเป็นการยอมรับอำนาจของสถาบันการแพทย์โดยปริยาย ในสมัยจอมพล . สาธารณสุขเจริญขึ้น โดยจอมพล ป. บอกว่า ระบบสาารณสุขที่ดีทำให้ระชาชนแข็งแรง เป็นมหาอำนาจได้ การแพทย์จึงกลายเป็นเครื่องมือของรัฐชาติด้วย หรือการปรากฎตัวในท้องถิ่นของหน่วยแพทย์ ชาวเขาได้เผชิญกับอำนาจของการแพทย์ หน่วยแพทย์ต่างๆ ที่เข้ามาจัดการปัญหา เรียกว่าเป็นการแพทย์สัญชาติไทย ซึ่งคนที่ควรได้รับการรักาควรทำตัวให้เป็นคนไทย หรือปิดบังความไม่เป็นคนไทยให้มิดชิด ม้งบางคนบอกว่า ถ้าแต่งตัวว่าเป็นม้ง หรือพูดม้ง ทำอะไรผิดนิดหน่อย ก็ถูกด่า จึงไม่ไปหาโรงพยาบาลรัฐ แต่ไปหาโรงพยาบาลเอกชนแทน


 


สุดท้าย ถ้ามองไปข้างหน้า ชาติพันธุ์ืหรือเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ พันธุกรรม มีปัญหาเรื่ิองเทคโนลยีทางการแพทย์ เดิมพบว่า ศัลยแพทยที่ถ่ายอวยวะ จะไม่เกี่ยงว่าผ่าตัดอย่างไร เช่น อาจเอาของคนดำไปให้คนขาว แต่เมื่อการแพทย์ก้าวหนก็ทำให้มีความซับซ้อนของในการมองเรื่องความสัมพันธเชิงอำนาจไปอีก โดยมีอนาจนิยมการเกิดการตาย เพราะการตายเร็ว-ช้าสัมพันธ์กับการเอาอวัยวะออก การแพทย์สมัยใหม่นิยามการตายให้เร็วตลอด เพราะทิ้งไว้ยาวอวัยวะจะเสียหาย เช่น กลุ่มที่เปลี่ยนถ่ายอวัยวะพยายามนิยามว่า หากสมองส่วนบนเสียหาย ก็ถือว่าตายแล้ว เพื่อการเขาถึงทรัพยกรเร็วขึ้น ทั้งนี้มีตัวเลขว่า อวัยวะถูกขนถ่ายจากประเทศโลกที่สามที่ไมมีอำนาจต่อรอง มายังประเทศที่มีอำนาจมากกว่าเสมอ


 


ทั้งนี้ การนิยามมีทั้งบวกและลบ กลุ่มกระแสหลักอาจจะมีอคติกับชาวบ้าน เมื่อชาวบ้านที่เป็นหมอพื้นบ้าน ไปสอบแพทย์แผนไทย จะสอบไม่ได้ เพราะไปเจอการสอบการแพทย์ราชสำนักแบบภาคกลาง ชาวบ้านปกากะญอไปสอบจึงไม่ไ่ด้ เพราะชาตินิยมการแพทย์ไปอยู่ในแพทย์แผนไทยด้วย อย่างไรก็ตาม ปีหลังๆ ไำด้มีการแก้ไข โดยมีการมอบใบประกอบโรคศิลป์ให้กับแพทย์พื้นบ้าน ซึ่งกรรมการเห็นว่่ารักษาโรคได้โดยไม่ต้องมาสอบ เพราะช่วยเหลือรักษาโรคได้จริง


 


ข่าวจากการประชุม "ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม" ที่เกี่ยวข้อง


ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม: "ศรีศักร วัลลิโภดม" หวั่นชาตินิยมรวมศูนย์พ่นพิษ ไม่เปลี่ยนวิธีคิดก็รอวันเจ๊ง, 23/12/51


ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม: "หมอโกมาตร" ย้ำอคติชาติพันธุ์ในระบบสุขภาพ, 23/12/51


ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม: 6 ปีหลักประกันสุขภาพ "ไม่" ถ้วนหน้า ลอยแพชาว "สยาม" ในดินแดนไทย, 23/12/51


ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม: เสนอไปให้ไกลกว่า "อคติชาติพันธุ์" ไม่ควรมองข้าม "อคติทางชนชั้น", 24/12/51


ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม: สายชล สัตยานุรักษ์อภิปราย "ชาตินิยม วัฒนธรรม และความขัดแย้ง", 25/12/51


ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม: ปาฐกถานำโดย นิธิ เอียวศรีวงศ์, 28/12/2551 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net