Skip to main content
sharethis

เมื่อวันที่ 3 ส.ค. ประชาชนจำนวน 64 คน ประกอบด้วยนักสหภาพแรงงาน นักกิจกรรมทางสังคม นักวิชาการ และนักศึกษา ร่วมออกจดหมายประณามบริษัท บอดี้ แฟชั่น (ประเทศไทย) จำกัด โดยเรียกร้องให้หยุดละเมิดสิทธิมนุษยชน และหยุดการพยายามทำลายสหภาพแรงงาน


 


จดหมายระบุว่า จากกรณี บริษัท บอดี้ แฟชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งผลิตชุดชั้นใน และชุดว่ายน้ำ ยี่ห้อไทรอัมพ์ วาเลเซีย สลอคกี้ AMO ได้ประกาศเลิกจ้าง นางสาวจิตรา คชเดช ประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย ในข้อหาทำให้บริษัทฯ เสียชื่อเสียง โดยอ้างการใส่เสื้อ "ไม่ยืนไม่ใช่อาชญากร คิดต่างไม่ใช่อาชญากรรม" ออกรายการ "กรองสถานการณ์" ช่องเอ็นบีที ในหัวข้อ "ทำท้อง...ทำแท้ง" ซึ่งเป็นเสื้อที่ใช้ในการรณรงค์หยุดการใช้กฎหมายหมิ่นประมาทมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง


 


และหลังจากสมาชิกสหภาพแรงงานกว่า 3,000 คน ได้ผละงานเพื่อเรียกร้องให้บริษัทฯ รับประธานสหภาพเข้าทำงานโดยไม่มีเงื่อนไข แต่บริษัทฯ กลับดำเนินการขออำนาจศาลลงโทษทางวินัยกรรมการลูกจ้าง 20 คน และพักงานแกนนำ 25 คน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ โดยไม่จ่ายเงิน รวมถึงมีข้อมูลว่าเมื่อวันที่ 1 ส.ค. ทางบริษัทได้ขอกำลังตำรวจกว่าร้อยนาย มาที่สหภาพแรงงานเพื่อข่มขู่การชุมนุมอย่างสันติโดยคนงานซึ่งเป็นการขัดต่อกฎหมายกติการว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองของสหประชาชาติ


 


"การกระทำดังที่กล่าวของบริษัทฯ แสดงให้เห็นเจตนาที่ชัดเจนในการทำลายสหภาพแรงงาน โดยการอาศัยสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบันของสังคมไทย เป็นเครื่องมือในการเลิกจ้างประธานสหภาพแรงงาน ซึ่งเป็นตัวแทนของคนงานที่ได้ผ่านการรับเลือกตั้งมาเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของคนงาน โดยการเลิกจ้างผู้นำสหภาพแรงงานเช่นนี้กระทำไปโดยไม่ผ่านการปรึกษากับสหภาพแรงงานเลย นอกจากนี้การกระทำของบริษัทฯ ยังไม่เคารพสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความคิดทางการเมือง ตามระบอบประชาธิปไตย ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่บริษัทในฐานะดำเนินการอยู่ในประเทศไทยต้องปฎิบัติตาม โดยอาศัยความได้เปรียบในการให้คุณให้โทษทางเศรษฐกิจ กดดันไม่ให้สหภาพแรงงานแสดงความคิดเห็นทางการเมือง" จดหมายระบุ


 


ทั้งนี้ จดหมายดังกล่าว ได้เรียกร้องให้บริษัทฯ หยุดการละเมิดสิทธิมนุษยชน เคารพความคิดต่าง ยุติการนำกระแสความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทย มาเป็นเครื่องมือในการทำลายสหภาพแรงงาน และเคารพการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของสหภาพแรงงานตามระบอบประชาธิปไตยและตามหลักการสิทธิมนุษยชนสากล และขอให้บริษัทฯ รับประธานสหภาพแรงงานกลับเข้าทำงานโดยไม่มีเงื่อนไข เลิกการพยายามคุกคามสหภาพฯ และยุติการดำเนินการเอาผิดทั้งทางแพ่งและอาญาต่อกรรมการสหภาพแรงงานและสมาชิกสหภาพแรงงานการทุกคน


 


รวมถึงอวยพรให้สหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย ปกป้องสหภาพแรงงานไว้ได้ด้วยความสำเร็จด้วย


 


 


 


 


 


จดหมายประณามบริษัท บอดี้ แฟชั่น


หยุดละเมิดสิทธิมนุษยชน หยุดการพยายามทำลายสหภาพแรงงาน


 


สืบเนื่องจาก วันที่ 30 ก.ค. 51 บริษัท บอดี้ แฟชั่น (ประเทศไทย) จำกัด เลขที่ 393 หมู่ 17 นิคมอุตสาหกรรมเมืองใหม่บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งผลิตชุดชั้นใน และชุดว่ายน้ำ ยี่ห้อไทรอัมพ์ วาเลเซีย สลอคกี้ AMO ได้ประกาศเลิกจ้าง คุณจิตรา คชเดช ประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย ในข้อหาทำให้บริษัทฯเสียชื่อเสียง โดยอ้างการใส่เสื้อ "ไม่ยืนไม่ใช่อาชญากร คิดต่างไม่ใช่อาชญากรรม" ออกรายการ "กรองสถานการณ์" ช่องเอ็นบีที ในหัวข้อ "ทำท้อง...ทำแท้ง" ซึ่งเป็นเสื้อที่ใช้ในการรณรงค์หยุดการใช้กฎหมายหมิ่นประมาทมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง


 


เมื่อวันที่ 24 เม.ย. 51 โดยบริษัทได้นำเรื่องฟ้องศาลแรงงานกลาง และศาลอนุญาตให้เลิกจ้างโดยไม่มีการแจ้งกับคุณจิตราก่อนเลย ส่งผลให้ในวันเดียวกันสมาชิกสหภาพแรงงานกว่า 3000 คนผละงานเพื่อเรียกร้องให้บริษัทฯ รับประธานสหภาพเข้าทำงานโดยไม่มีเงื่อนไข แต่เสียงของคนงานกลับไม่เป็นที่ต้องการของบริษัท เพราะหลังจากนั้น บริษัทฯ ก็ดำเนินการขออำนาจศาลลงโทษทางวินัยกรรมการลูกจ้าง 20 คน และพักงานแกนนำ 25 คน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ โดยไม่จ่ายเงิน ซึ่งการกดดันข่มขู่ลงโทษและเลิกจ้างผู้นำแรงงานเท่ากับเป็นการข่มขู่บุคคลที่จะเข้ามาทำงานให้กับสหภาพแรงงานในอนาคตให้ไม่กล้าร่วมงานกับสหภาพแรงงาน


 


นอกจากนี้เรายังได้รับข้อมูลว่าในวันที่ 1 สิงหาคม ทางบริษัทได้ขอกำลังตำรวจกว่าร้อยนาย มาที่สหภาพแรงงานเพื่อข่มขู่การชุมนุมอย่างสันติโดยคนงานซึ่งเป็นการขัดต่อกฎหมายกติการว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองของสหประชาชาติโดยตรงที่กล่าวว่า "สิทธิแสดงออก สิทธิการรวมตัว และสิทธิการชุมนุมอย่างสันติ" ต้องได้รับการเคารพ


 


การกระทำดังที่กล่าวของบริษัทฯ แสดงให้เห็นเจตนาที่ชัดเจนในการทำลายสหภาพแรงงาน โดยการอาศัยสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบันของสังคมไทย เป็นเครื่องมือในการเลิกจ้างประธานสหภาพแรงงาน ซึ่งเป็นตัวแทนของคนงานที่ได้ผ่านการรับเลือกตั้งมาเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของคนงาน โดยการเลิกจ้างผู้นำสหภาพแรงงานเช่นนี้กระทำไปโดยไม่ผ่านการปรึกษากับสหภาพแรงงานเลย นอกจากนี้การกระทำของบริษัทฯ ยังไม่เคารพสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความคิดทางการเมือง ตามระบอบประชาธิปไตย ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่บริษัทในฐานะดำเนินการอยู่ในประเทศไทยต้องปฎิบัติตาม โดยอาศัยความได้เปรียบในการให้คุณให้โทษทางเศรษฐกิจ กดดันไม่ให้สหภาพแรงงานแสดงความคิดเห็นทางการเมือง


 


เราบุคคลผู้มีรายนามด้านล่าง ผู้มีจุดยืนในระบอบประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และเคารพในเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง จึงมีข้อเรียกร้องดังนี้


 


1.                   ให้บริษัทฯ หยุดการละเมิดสิทธิมนุษยชน เคารพความคิดต่าง ยุติการนำกระแสความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทย มาเป็นเครื่องมือในการทำลายสหภาพแรงงาน และเคารพการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของสหภาพแรงงานตามระบอบประชาธิปไตยและตามหลักการสิทธิมนุษยชนสากล


 


2.                   ขอให้บริษัทฯรับประธานสหภาพแรงงานกลับเข้าทำงานโดยไม่มีเงื่อนไข เลิกการพยายามคุกคามสหภาพฯ และยุติการดำเนินการเอาผิดทั้งทางแพ่งและอาญาต่อกรรมการสหภาพแรงงานและสมาชิกสหภาพแรงงานการทุกคน


 


ขอให้สหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย ปกป้องสหภาพแรงงานไว้ได้ด้วยความสำเร็จ


 


3 สิงหาคม 2551


 


ลงชื่อ


ศุกาญจน์ตา สุขไผ่ตา ประธานสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง


ศรีไพร นนทรี กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง


บุญยืน สุขใหม่ เลขาธิการกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก


ไพริน ผ่องจรุง กลุ่มเยาวชนคนงานแห่งประเทศไทย


บรรชา ทนธรรม ประธานสหภาพแรงงานคนงานเซรามิก


เก่งกิจ กิติเรียงลาภ กลุ่มประกายไฟ


จารุวัฒน์ เกยูรวรรณ โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย


อุบลพรรณ กระจ่างโพธิ์ กลุ่มประกายไฟ


รัชพงษ์ โอชาพงษ์ กลุ่มประกายไฟ


อดิศร เกิดมงคล นักกิจกรรมเพื่อสิทธิมนุษยชน


ปกป้อง เลาวัณย์ศิริ นักกิจกรรมเพื่อสิทธิมนุษยชน


กานต์ ยืนยง นักศึกษาปริญญาโท คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


เจษฎา โชติกิจภิวาท กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ


พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ นักแปล
บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ มูลนิธิส่งเสริมสันติวิถี (
Peaceway Foundation)


อรชพร นิมิตกุลพร นักกิจกรรมเพื่อสิทธิมนุษยชน


สุรพงษ์ กองจันทึก ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษากะเหรี่ยงและพัฒนา


พงษ์เลิศ พงษ์วนานต์ ประชาชน


เมธา มาสขาว YPD/CCHR


วิภา ดาวมณี วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ธนาพล อิ๋วสกุล สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน


จุฬาลักษณ์ บุญมาก นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะรัฐศาสตร์ มธก.
ภารัตน์ ณ นคร Asia Pacific Worker Solidarity links (APWSL)
พัชรี แซ่เอี้ยว นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ปรานม สมวงศ์ นักกิจกรรมเพื่อแรงงานข้ามชาติ


จรรยา ยิ้มประเสริฐ โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย


เทวฤทธิ์ มณีฉาย กลุ่มนิด้าเสวนาสาธารณะ


สิทธิ์ จันทาเทศ ประธานสหภาพแรงงานกรุงเทพผลิตเหล็ก ประเทศไทย


ขวัญระวี วังอุดม นักกิจกรรมเพื่อสิทธิมนุษยชน


วิทยา อาภรณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์


ศรีประภา เพชรมีศรี อาจารย์โครงการสิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล


ณัฐวุฒิ เอี้ยงทอง นักศึกษาปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ฯ


สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนรุ่นใหม่


จีรนุช เปรมชัยพร นักกิจกรรมด้านเอดส์


สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระ


สมบัติ บุญงามอนงค์ มูลนิธิกระจกเงา


สิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์ โครงการสื่อสารแนวราบ (Local Talk Project)


ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยฮาวาย สหรัฐอเมริกา
วรภัทร วีรพัฒนคุปต์ นักกิจกรรมเพื่อสิทธิมนุษยชน


พรมมา ภูมิพันธ์ ประธานสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ


เซีย จำปาทอง เลขาธิการสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ
Timo Ojanen นักศึกษาปริญญาโท คณะจิตวิทยา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ


ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล โครงการเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ


เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ สำนักงานกฎหมายสิทธิชน


อุเชนทร์ เชียงเสน นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ณภัค เสรีรักษ์ ประชาชน


ไชยันต์ ไชยพร คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ


ชาตรี สมนึก นักบินบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 


อับดุลเลาะห์ หะยีอาบู นักกิจกรรมด้านสิทธิจังหวัดชายแดนใต้


ครรชิต พัฒนโภคะ พรรคแนวร่วมภาคประชาชน


วิทยา อินทร์วัน เลขาธิการสหพันธ์แรงงานกระดาษและการพิมพ์แห่งประเทศไทย


เอกรินทร์ ต่วนศิริ เครือข่ายเยาวชนเพื่อสันติภาพ 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ นิสิตปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
ภรทิพย์ มั่นคง นักศึกษาปริญญาตรี ม.รามคำแหง
สุทธนาชัย อึ้งรังษี นักศึกษาปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เปรมกวี สุวรรณสัย นักศึกษาปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ตูแวดานียา ตูแวแมแง ประธานเครือข่ายนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน (คพช.)
รอมซี ดอฆอ เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนน.จชต.)


ไชยรัตน์ ชินบุตร พรรคแนวร่วมภาคประชาชน (เลี้ยวซ้าย รามคำแหง)


ใจ อึ๊งภากรณ์ พรรคแนวร่วมภาคประชาชน


นุ่มนวล ยัพราช โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย


สุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง เลขาธิการ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)


อุดมลักษณ์ แววงาม กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก 


 


 


 


................
อ่านเพิ่มเติม


ปธ.สหภาพไทรอัมพ์ ถูกเลิกจ้าง นายจ้างอ้างใส่เสื้อ "ไม่ยืนฯ" ทำ บ.เสียชื่อ


สหภาพแรงงานไทรอัมพ์รวมตัวผละงาน เรียกร้องรับ "ปธ.สหภาพ" กลับเข้าทำงาน


สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ 400 กว่าคนบุกสำนักงานใหญ่ กดดันนายจ้างเรียกร้องความเป็นธรรม


สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ ผละงานวันที่ 3 นายจ้างยันไม่รับประธานสหภาพเข้าทำงาน


คำพิพากษาศาลแรงงานกลางจังหวัดสมุทรปราการ


บทความ :เมื่อคนงานไทรอัมพ์ฯ ลุกขึ้นสู้ กอบกู้ศักดิ์ศรีกรรมาชีพ


เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร : ทัศนะที่อันตรายกรณีไทรอัมพ์


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net